ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

ตัวอย่างการผลิตสื่อวิทยาศาสตร์ที่น่าภูมิในของนักเรียน


การสืบเสาะ เพื่อหาคนเก่งคนนี้จึงเกิดกระบวนการต่อไปได้ โดยที่ครูไม่ต้องไปสร้างภาระงานให้เขาต้องไปสืบค้นเลย

ในการสืบเสาะหาสื่อที่จะทำให้ผู้เรียนได้มีมโนมติ(Concept) กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งของวิทยาศาสตร์แล้ว กลายเป็นปัญหาของครูที่จะต้องเตรียม

  ครูจะวิตกกังวลมากยิ่งขึ้น เมื่อเปิดตู้เก็บอุปกรณ์ แล้วพบว่า สถาพของสื่อนั้น ๆ มันไม่พร้อมใช้งาน

จะจัดซื้อใหม่ก็อาจจะใช้งบประมาณที่สูง ตัวอย่างการผลิตสื่อเรื่องความเข้าใจความหนาแน่นของสสาร ต่อการกำหนดความหนาแน่นของวัตถุต่าง

  ซึ่งปัญหา คือ  นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่า วัตถุที่จมน้ำนั้น วัตถุใดมีความหนาแน่นมากกว่า ทั้ง ๆ วัตถุนั้น ๆ ก็ล้วนแต่จมน้ำเช่นกัน 

    ความรู้เดิมของผู้เรียน เข้าใจมโนมติที่ว่า วัตถุที่มีความหนาแน่นกว่าก็จะจมน้ำ

   ถ้าเป็นไม้หนักเท่ากัน กับดินน้ำมัน แล้ว ใครจะจมน้ำ... นักเรียนตอบได้

   แต่ถ้า เหล็กกับดินน้ำมันที่หนักเท่ากัน แล้วใจจะอยู่ล่างอยู่บน

   ความงง... จะยากที่ผู้เรียนจะอาศัยพื้นความรู้เดิม หรือประสบการณ์เดิมมาตอบ

  ปัญหาที่ครูจำเป็นต้องเป็นนักจัดการที่ดี คือ

   ๑.ตระหนักว่าผู้เรียนจะต้องไม่หลงทาง หรือเกิดความคลาดเคลื่อนทางมโนมติ

   ๒.การผลิตสื่อจำเป็นต้องให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างน้อย เขาจัดหามาเสริมครู

   ๓.สื่อที่สร้างแล้วไม่ก่ออันตราย

   ๔.ราคาที่สมเหตุผล

และอื่น ๆ

  เมื่อเข้าใจหลักการ ในเบื้องตน ครูจึงแจ้งให้นักเรียนเตรียม

    /ไม้ทรงลูกบาศก์ขนาดที่หย่อนลงกระป๋องพลาสติกหรือขวดพลาสติกน้ำอัดลมได้

    /ขวดพลาสติก

    /หลอดกาแฟ

    /มีด

    /แท่งเหล็ก ที่สามารถหย่อนลงในขวดได้

   /ดินน้ำมัน

วิธิดำเนินการ

    ๑.นักเรียนวางแผนการเตรียมอุปกรณ์ เป็นการเตรียมอุปกรณ์ที่ไม่จำกัดขนาดแต่อยู่บนเงื่อนไขของการจมน้ำในภาชนะพลาสติก

   ๒.นำขวดพลาสติกมาสร้างถ้วยยูเรก้า (...) โดยครูสาธิตการประดิษฐ์อ่างง่าย

    ครูและนักเรียนจำเป็นต้องพิถีพิถัน กับการตัดและตำแหน่งการเจาะรูเพื่อต่อท่อน้ำล้น โดยมีเหตุผลในการลดแรงกระเพื่อมและกาล้นขอบ

   นักเรียนก็ทำตามบ้างไม่ทำตามบ้างไม่เป็นไร เมื่อเขาทดสอบแล้วเขาจะรู้เอง

   ในบางครั้งนักเรียอาจจะเจาะรูใหม่และใช้ดินน้ำมันที่เตรียมมานั้นปิดรูเก่า ครูก็ต้องชมไอเดียเขาน่ะ บางครั้งสิ่งที่เขาไม่ทำตามนั้นก้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ใช้เวลาเท่านั้น

    ๓.ประดิษฐ์เสร็จก็ทดสอบการใช้งาน

ถ้า OK ก็เรามีอุปกณ์ที่จะทำให้เราทราบปริมาตรของวัตถุใด ๆ แล้ว ไม่ยากใช่ไหม ทำไม อาร์คีมีดิส จึงคิดนานจัง...  แสดงว่าเราก็ไม่ใช่ย่อยนะเนีย... ประโยค ภาษาพูด จะมีคุณค่าเมื่อเป็นคำชม

    ๔.ถ้าทุกกลุ่มมีเครื่องมือนี้แล้ว ก็พร้อมที่จะพิสูจน์ได้แล้วว่าระหว่างเหล็กกับดินน้ำมันที่หนักเท่ากันนั้นใครหนาแน่นกว่า ... ครูคิดว่าหลายคนคงมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว... (ประโยคทางภาษาพูด เป็นคำชมอ้อม ๆ )

     ๕.ได้เวลาที่นักวิทยาศาสตร์ของครูที่เก่งเท่า ๆ กับอาร์คีมิดิส ตรวจสอบแล้ว ดำเนินการได้

    ตัวอย่างที่ครึ่งหนึ่งในวันจันทร์ ที่ 20 กันยายน 2553 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ได้ทดลองพร้อมรายงานผลการทดลองภายในเวลา ๕๕ นาที อย่างสนุก และมีความสุข

    แต้มที่ครูให้นักเรียนสะสมหลัง Lab แบบ ELC กลับบ้านพร้อมอวดเครื่องที่ครูสอน อันนี้แหละที่อาร์คีมิดิส กว่าจะคิดได้ใช้เวลานานพอสมควร

   คงจะไม่บรรยายต่อ ว่า ผู้ปกครองคงถามต่อว่า อาร์คีมิดิส เป็นใคร

   การสืบเสาะ เพื่อหาคนเก่งคนนี้จึงเกิดกระบวนการต่อไปได้ โดยที่ครูไม่ต้องไปสร้างภาระงานให้เขาต้องไปสืบค้นเลย... เป็นกระบวนการธรรมชาติของความสังสัย

 

หมายเลขบันทึก: 397023เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2010 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์ค่ะ แล้วสื่อการสอนวิทยาศาสาตร์ของเด็ก ประถมศึกษาปีที่3 ทำยังไงค่ะ

มีครูหลายคนที่ฝากข้อเสนอแนะกับแบบเรียนวิทยาศาสตร์ของสสวท. ว่า เนื้อหาไม่เพียงพอแก่นักเรียนที่จะสอนและสอบ เข้าเรียนต่อสถาบันอื่น ๆ แต่ ว่า แบบเรียนดังกล่าว มีจุดเน้นที่กระบวนการ ไม่ใช่สาระด้านข้อความ ที่เป็นความรู้ การได้ เรียนรู้กับสื่อที่สอดคล้องกับสมรรถขะของระดับนักเีีรียนนั้น ๆ เป็นการท้าทาย ที่ทำให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนมากกว่า ผมวังว่า สสวท.จะยังคงสร้างและปรับปรุงหลักสูตรที่สร้างความสุขของการเรียนการสอน มากกว่าการยัดเยียดความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท