การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเครือข่ายรพ.หลังสวนจากรพ.หลังสวนสู่ PCU ในเครือข่าย


ผลดีที่ได้รับคือ ทำให้ผู้ป่วยที่ไม่เข้าถึงบริการได้รับการบริการ ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

K1

คลินิกผู้ป่วยเรื้อรัง  (HT,DM)  PCU  บ้านควน

Plan      

                จากปัญหายอดผู้ป่วยสูงขึ้น  แออัดที่โรงพยาบาล  และส่วนหนึ่ง  Loss  Follow up  ขาดการรักษาที่ต่อเนื่อง  ทำให้ขาดยา  เกิดปัญหาภาวะแทรกซ้อน  คือ  Stroke ,CVA  และอีกส่วนหนึ่งที่พบ  DM,HT  จากการคัดกรองในชุมชนแล้ว  สอ.Refer  ไปรพ.  แต่ผู้ป่วยไม่ยอมไปยังใช้ชีวิตเหมือนเดิม  เพราะยังไม่มีอาการเนื่องจากการไม่เข้าถึงบริการไม่กล้าไปโรงพยาบาล  ไม่คุ้นชินและไม่มีใครไปส่ง ไปรับ  ทำให้เหมือนภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำ  พบโรคแล้วแต่ไม่รักษา  รักษาแล้วแต่ไม่ต่อเนื่อง  เกิดปัญหาผู้พิการมากมาย  จากการวิเคราะห์ปัญหาด้านผู้ป่วยคือ  มีจำนวนมากขึ้น  วิธีการดูแลไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิต  เดินทางลำบาก  การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยมีน้อย  ขาดความรู้เรื่องโรค  เป็นภาระพึ่งพิงของครอบครัว  และด้านระบบบริการ  พบว่า  มีปริมาณปัญหามากเป็นอันดับต้น ๆ  การดูแลรักษาเป็นไปอย่างรีบเร่งแข่งกับเวลา  ทีมผู้ให้บริการหมุนเวียนไม่ซ้ำหน้า  ผู้ป่วยได้รับการนัดนานขึ้น

Do

                   ปี 2551  มีโครงการ CUP ละล้านทางโรงพยาบาลหลังสวนได้จัดคลินิก DM,HT ใน สอ.ขึ้น และนำคนไข้ที่แออัดที่โรงพยาบาลโดยการคัดกรองจากแพทย์  เลือกเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน  สามารถรับบริการที่ สอ. สัปดาห์ละ  1  ครั้ง  ซึ่งก่อนดำเนินการได้วิเคราะห์ข้อมูล  ทั้งด้านศักยภาพของสถานีอนามัยด้านศักยภาพของบุคลากร  และพัฒนาคุณภาพการให้บริการรวมทั้งศักยภาพของชุมชน  คือ  ต้องประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนทราบและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน  เช่น  อสม. เป็นแกนนำในการติดตามผู้ป่วยขาดนัด คือ ถ้ามีผู้ป่วยขาดนัดทางสถานีอนามัยจะแจ้ง อสม. ภายใน 2-3 วัน และติดตามให้ผู้ป่วยมาในสัปดาห์ต่อไป

Check  

ผลการติดตามผู้ป่วย Loss  Follow up  ได้ผล  100 %  พบปัญหาอุปสรรค คือ ลูกหลานไม่ดูแล ไม่รับ-ส่ง แต่ อสม.จะรับมาเป็นภาระเอง (เฉพาะราย) และ อสม. ยังเป็นจิตอาสามาช่วยชั่งน้ำหนัก วัดความดัน ในวันที่มีคลินิก โดยไม่มีค่าตอบแทนและไม่ได้ร้องขอจาก สอ.  จากการประเมินความพึงพอใจของคลินิกโรคเรื้อรังพบว่า  ผู้ป่วยมีความสะดวกและพอใจในการรับบริการและนอกจากการให้บริการในคลินิกแล้วยังมีบริการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ มีแพทย์  พยาบาล  นวก.สาธารณสุข  นักกายภาพบำบัด  พยาบาลจิตเวช  ทำให้ทราบปัญหาของผู้ป่วย  และให้บริการได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจากการสำรวจความพึงพอใจ  พบว่าผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจ  ร้อยละ  80.06  ควบคุมความดันโลหิตและเบาหวานได้  ร้อยละ  88.46  และ  ร้อยละ  88  ตามลำดับ

Action

                ผลดีที่ได้รับคือ  ทำให้ผู้ป่วยที่ไม่เข้าถึงบริการได้รับการบริการ  ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อน  ไม่มีผู้พิการเพิ่มขึ้น  และยังมีโครงการฟื้นฟูผู้พิการ  ทำให้ผู้พิการทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ไม่นอนติดเตียง  ช่วยเหลือตัวเองได้  100%  และทำให้ชุมชนเห็นถึงศักยภาพของบุคลากรจึงมีการสนับสนุนงบประมาณด้านการส่งเสริมและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง

K2

  1. 1.      ย้อนรอยอดีต

การดูแลรักษาผู้ป่วย DM และ HT เดิมที่ รพ.หลังสวน

ปัญหาของผู้ป่วย

-          มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

-          วิธีการดูแลรักษาไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิต

-          เดินทางมารักษาที่รพ. ลำบาก

-          การมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและชุมชนยังมีน้อย

-          ขาดความรู้ในโรคของตนเอง

-          เป็นภาระพึ่งพิงของครอบครัว

            ปัญหาของระบบบริการชุมชน

-     โรคเรื้อรังเป็นปัญหาอันดับต้นๆ มีปริมาณมาก

-      การดูแลรักษาเป็นไปอย่างเร่งรีบ แข่งขันกับเวลา

-         ทีมผู้ให้การรักษาหมุนเวียนตลอด/สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์ไม่ดี ไม่สามารถให้การดูแลแบบองค์รวมได้ทั่วถึง

-         ผู้ป่วยได้รับการนัดที่นานขึ้น

  1. 2.      เริ่มปรับเปลี่ยนระบบการดูแลรักษา (ระยะแรก)

-         โดยดำเนินการในกลุ่มผู้ป่วย ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่รพ.ประมาณ 2,000 ราย ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า “ โครงการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงกลุ่มเสี่ยง” โดยมีงานผู้ป่วยนอก รพ.หลังสวน เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

1.  คัดเลือกผู้ป่วยที่เน้น Med HT โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อการดูแลตนเอง ไม่มีปัญหาในการสื่อสาร มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม

2.  ให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมโดยเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการฝึกเอง ทำเอง เรียนรู้เอง โดยแบ่งฐานกิจกรรมเป็น 5 ฐาน มีทีมสหวิชาชีพเป็นผู้ดูแลประจำแต่ละฐานกิจกรรม โดยแบ่งเป็นฐานกิจกรรม 5 ฐาน คือ

       ฐานที่ 1     เมื่อคนไข้กล้าเป็นคุณหมอ (ฝึกวัดความดันด้วยตนเอง)

       ฐานที่ 2     รับรู้ดัชนีมวลกาย (คิดเอง คำนวณเอง)

                      ฐานที่ 3      ฝึกลมปราณกับนวดแผนไทยและกรออกกำลังกาย

                        ฐานที่ 4      กินยาอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

                                         ฐานที่ 5      บริโภคอย่างไรให้ปลอดภัย

  1. 3.      ระยะที่ 2 คัดเลือกชุมชนนำร่อง โดยเลือกผู้ป่วย ที่ผ่านการทำกิจกรรมทั้ง 5 ฐาน มาแยกตามที่อยู่ในแต่ละตำบลและเข้าสู่โครงการ “ความดันทันยุค”
  2. 4.      ระยะที่ 3 โครงการ “ความดันทันยุค” เป็นการดูแลผู้ป่วย HT ตามหลักวิชาการโดยมีการ

-          ประเมิน Risk Factor หาโรคที่ร่วมด้วย

-          มองหาสาเหตุของ Second dairy HT

-          ตรวจหา Target organ damage

-         การตรวจตามห้องปฏิบัติการ

จากหลักการการดูแลผู้ป่วย HT ดังกล่าวนำสู่โครงการย่อยๆ อีก 4 โครงการ

P.1. โครงการแยกกลุ่ม HT ตามปัจจัยเสี่ยงประเมินตามปัจจัยเสี่ยงที่มีผลการพยากรณ์โรค คือ

          -  CVD

          -  ความเสี่ยงของอวัยวะต่อ TOD

          -  โรคร่วม DM, CVD, ไต

          -  ตรวจ Lab ทุกราย ทุกปี

          -  แพทย์ประเมินความเสี่ยงโดยร่วม

P.2.  การดูแลกลุ่มเสี่ยง

          -  ประเมินพฤติกรรมสุขภาพโดยพยาบาล

          -  ทีมสหวิชาชีพร่วมกันดูแล (แพทย์, พยาบาล, เภสัช, โภชนากร,แพทย์แผนไทย) โดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วม

                    -  จัดตั้งแกนนำ (Self Help Group)

                 P.3.  เข็มมุ่งสู่ชุมชน

                           -  เตรียมผู้ป่วยก่อนลงชุมชน

                          -  จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพการดูแลตนเอง

          -  เข้าร่วมกิจกรรมค่าย HT และสร้างแกนนำ โดยมีพี่เลี้ยงจาก รพ.หลังสวนและสถานีอนามัย

P.4.  ส่งต่อผู้ป่วย ลงสู่สถานีอนามัย (ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ใส่ใจโรค)

    ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ “ความดันทันยุค” โดยให้สถานีอนามัยนำร่อง เป็นผู้เก็บตัวชี้วัด

  1. ชุมชนมีความรู้สามารถคัดกรองผู้ป่วย HT เบื้องต้นได้ (Early Detection) >  85%
  2. ค้นหา HT เชิงรุกกลุ่มเสี่ยงได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ > 80%
  3. ไม่พบภาวะแทรกซ้อน (Stroke) ในผู้ป่วยกลุ่มแกนนำ (Group Control) = 0%
  4. ความพึงพอใจในกลุ่ม Med HT ที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องที่ CPU > 80%

          ผลการดำเนินงานที่ได้รับ

                  ข้อ 1     =   72%

                  ข้อ 2     =   80%

                  ข้อ 3     =   0%

                  ข้อ 4     =   86%

       5.  ระยะที่ 4 ต่อยอดของโครงการลงสู่ PCU อื่น และมีการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยใหม่ โดยเพิ่มการดูแลผู้ป่วย DM เข้าร่วมด้วย โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ภายใต้ Concept ที่ว่า “คิดใหม่ ทำใหม่ โดนใจ ใกล้ตัว” โดยลักษณะของการดำเนินการ  เป็นลักษณะทีมที่เชื่อมโยงระหว่างรพ.กับ PCU โดยเจ้าหน้าที่ต้องมีคุณสมบัติ  หน้าเดิม มีใจ คุ้นพื้นที่

 K3

โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการโดยชุมชน

เครือข่ายโรงพยาบาลหลังสวน

Plan

                ปัญหาจากโรคเรื้อรัง  หลอดเลือดสมองทำให้มีผู้พิการทางการเคลื่อนไหวมากขึ้น  (อัมพาต อัมพฤกษ์)  ปี 2552  อ.หลังสวน มีผู้พิการทั้งหมด  628  คนเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหว  269  คน  ร้อยละ  42.83  สถานีอนามัยตำบลบ้านควน  เป็นสถานีอนามัยนำร่องด้านการฟื้นฟูผู้พิการโดยศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูทางการแพทย์  มาตั้งแต่ปี  2539  มีผู้พิการทั้งหมด  43  คน  เป็นประเภทการเคลื่อนไหว  18  คน  คิดเป็นร้อยละ  41.86  และเป็นผู้พิการที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ  80  ทำให้มีนวัตกรรมศูนย์กายอุปกรณ์ขึ้นเมื่อปี  2551 

Do

                จัดทำโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการโดยชุมชนในเครือข่ายโรงพยาบาลหลังสวน  รวม  10  สถานีอนามัย  โดยการอบรม อสม.  เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ (อสม.ก.)  สถานีอนามัยละ  3  คน  และ สอ.บ้านควนหมู่ละ  1  คน จำนวน 13 คน โดยให้ชุมชนมามีส่วนร่วมในการดูแลผู้พิการแบบครบวงจร  มีนักกายภาพบำบัด  แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู  เป็นวิทยากรให้ความรู้ และมีทีมเยี่ยมบ้านโดยสหวิชาชีพ  ในพิ้นที่นำร่องคือ  ตำบลบ้านควน  มี อสม.ก.  เยี่ยมบ้านผู้พิการ  โดยใช้แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  (The  Barthel  Activity  of  Daily  Index)  เป็นเครื่องมือในการปฎิบัติงาน  และจะมีการติดตามหรือให้คำปรึกษาโดยนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลหลังสวน  ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข(รับผิดชอบงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการของสถานีอนามัยนั้นๆ

Check

จากการฟื้นฟู  โดยทีมสหวิชาชีพ  อสม.ก  ญาติ และชุมชน  พร้อมกับมีศูนย์กายอุปกรณ์สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพื้นที่พบว่าในเขตสถานีอนามัยตำบลบ้านควน  ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้ในชีวิตประจำวัน  ไม่นอนติดเตียง  ร้อยละ  100  และยังไม่มีผู้พิการเพิ่มขึ้นในปี  2553 

Action

                โครงการฟื้นฟูผู้พิการโดยชุมชนยังคงทำต่อเนื่องและได้รวบรวมกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแล  เช่น  การประดิษฐ์กายอุปกรณ์  การแพทย์พื้นบ้าน  และอบรมติดตาม  อสม.ก  อย่างต่อเนื่อง  รวมถึง  การติดตามในพื้นที่อื่น ๆใน  CUP  หลังสวนโดยการประสานระหว่าง  โรงพยาบาลหลังสวน  สาธารณสุขอำเภอหลังสวน  และ  สถานีอนามัยในเครือข่าย  และยังมีการประสานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อการช่วยเหลือด้านอื่น  เช่น  การขึ้นทะเบียนผู้พิการ  ประสานงานกับ  พมจ.  และ  อบต. 

หมายเลขบันทึก: 397022เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2010 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้ว ชอบจังเลยคะ ว่าจะแอบเอาไปใช้บ้าง ขอบคุณคะ

ใช้แล้วได้ผลยังงัยส่งข่าวด้วยนะซีอิ๊ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท