ที่มาของพระกรุแท้ๆ (ภาคที่ ๓): การค้นหาพระกรุแบบเชิงรุก


ในกลุ่มดาวทั้ง ๗ ดวงหลังนี้ จึงเป็นกลุ่มนักสะสมที่สามารถเป็นแหล่งพระกรุแท้ๆ ได้ ตามแต่จังหวะและโอกาส

หลังจากผมเดินตลาดพระเครื่องแบบเชิงรับมานานพอสมควร ก็เริ่มหาพระกรุแท้ๆ

  • ทำได้ยากขึ้น

  • จำนวนที่ได้น้อยลง และ

  • พบพระที่มีความงามน้อยลงเรื่อยๆ

ทั้งจากการใช้สายตาของตัวเอง และการพึ่งพา “สายเดินพระ” ที่มี

ทำให้เริ่มรู้สึกว่าเสียเวลามาก และไม่ค่อยได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

ผมเลยลองมาค้นหาแหล่งพระกรุแท้ๆ แบบเชิงรุก

โดยการระดมแนวคิดกับนักเดินสายว่าให้ใช้ยุทธวิธีใหม่ ที่พบว่า

พระกรุแท้ๆ ที่เคยมีในมือชาวบ้านทั่วไป ที่มีการสะสมไว้ใช้ หรือเลี่ยมทองประดับในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูนั้น ตอนนี้กลับมีการแกะทองที่เลี่ยมขาย และปล่อยพระกลับเข้าสู่ตลาดกลางแล้วเป็นส่วนใหญ่ ที่มีแรงบีบคั้นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำมาตลอดระยะหลายปีที่ผ่านมา

พระที่ปล่อยกลับมา ปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะอยู่ในมือนักสะสมที่พอจะมีกำลังซื้อในหลายระดับ ได้แก่

  1. ดาวค้างฟ้า เป็นนักสะสมที่อยู่ในระดับเซียน นักค้าพระและวัตถุโบราณ หรือมีสายป่านยาว หรือเป็นนักธุรกิจพันล้าน กลุ่มนี้จะมีแต่พระที่อยู่ในเกณฑ์ “สวย” ราคาแพง
  2. ดาวประจำเมือง เป็นนักสะสมที่ไม่หวือหวา ค่อยๆหา ค่อยๆเก็บ มีมากก็ปล่อยบ้าง กลุ่มนี้จะไม่เล่นพระราคาแพง แม้จะมีพระกรุดีๆ ก็จะเป็นแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป
  3. ดาวรุ่ง เป็นนักสะสมมือใหม่ที่พอมีกำลังซื้อ และมีสายตาดีพอที่จะไม่เก็บสะสมพระโรงงาน
  4. สะเก็ดดาว เป็นนักสะสมรายย่อย เน้นการเก็บหา เพื่อใช้ “พุทธคุณ”สำหรับตัวเองมากกว่าการคิดถึงมูลค่าด้านอื่นๆ หรือการเก็บแบบไม่จำกัดประเภท

กลุ่มนักสะสมทั้ง ๔ ดวงนี้ ยังเป็นคู่แข่งในการหาพระกรุ ที่แต่ละกลุ่มก็จะมีข้อจำกัดแตกต่างกัน ที่เราจะต้องหาช่องว่างของเขาที่เราจะแทรกเข้าไปในระบบ เพื่อจะหาโอกาสหยิบพระกรุแบบเหนือคู่แข่งออกมาให้ได้

นอกนั้นก็จะเป็นกลุ่มนักสะสมที่มีแนวโน้มที่จะเป็นแหล่งพระกรุ ที่มีโอกาสปล่อยกลับเข้าสู่ตลาดเป็นระยะๆ ตาม วัฏจักรของธรรมชาติ ตามลำดับ ดังนี้

  1. ดาวหลงทาง เป็นนักสะสมหรือผู้นิยมพระเครื่องรายย่อยที่ไปลุ่มหลงกับสิ่งมอมเมา ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด การพนันต่างๆ ที่กำลังเฟื่องฟู ที่จะสามารถเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นเงิน เพื่อตอบสนองกิเลส และหลุมดักของอบายมุข
  2. ดาวเปลี่ยนทิศ เป็นนักสะสมที่เปลี่ยนแปลงกลุ่มพระที่เก็บสะสมมา ทั้งเนื่องจากความชอบ ประสบการณ์ และกระแสตลาดพระ ที่นักสะสมบางท่านจะวิ่งตามกระแสตลาดที่มักจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามยุคตามสมัย ที่บางครั้งพระกรุจะมีระดับความนิยมในคนบางกลุ่มลดลง ก็จะมีการนำมาแลกกับพระเกจิอาจารย์บ้าง หรือพระแบบอื่นๆที่เป็นที่นิยมในขณะนั้น
  3. ดาวโรย เป็นนักสะสมที่เริ่มเบื่อเสน่ห์ของพระเครื่อง ทั้งด้วยความอิ่มตัว มีอายุมาก หรือความรู้ไม่คืบหน้า หรืออยู่ที่ห่างไกลหาเพื่อนยาก มีเพื่อนน้อย ที่อาจเป็นแหล่งพระกรุแท้ๆที่ดีพอสมควร แต่นักสะสมที่มีระบบความคิดแบบนี้มักมีระดับการเรียนรู้ไม่มากนัก และอาจมีพระโรงงานปะปนมามาก มีต้นทุนเก่ามาสูง การต่อรองทำได้ยาก การหยิบพระและการเหมาพระทำได้ยาก ต้องระวังมาก
  4. ดาวร่วง เป็นนักสะสมที่เผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ จำเป็นต้องนำพระกรุที่ตัวเองสะสมมาปล่อย ที่จะเป็นแหล่งพระกรุที่ค่อนข้างดี สภาพสวย และต่อรองราคาง่าย
  5. ดาวดับ เป็นนักสะสมที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ไม่มีการสอนคนใกล้เคียง เมื่อตัวเองเสียชีวิต พระกรุต่างๆก็จะอยู่ในมือของคนที่ไม่รู้เรื่อง ถึงรู้ก็รู้ไม่จริง ไม่มีอำนาจต่อรอง ทั้งการกำหนดราคาและเทคนิคการต่อรองแลกเปลี่ยน จึงมักตกเป็นเหยื่อของเซียนวิชามารได้โดยง่าย ใครที่บังเอิญพบ “รังพระ” แบบนี้จะมีโอกาสได้พระแท้ดีๆ ราคาถูก สวย จำนวนมาก และหลากหลาย โดยไม่ต้องใช้เวลา ทุน และพลังงานมากจนเกินไป
  6. ดาวโจร เป็นนักหาพระโดยวิธีการวิ่งราว งัดแงะ ลักขโมย หรือแม้กระทั่งการลักลอบขุดกรุที่ทำกันมาในอดีต ที่เซียนพระมักทำเป็นลืมกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะถ้าไม่มีการลักลอบขุดกรุ จนถึงวันนี้น่าจะมีพระจำนวนมากที่ยังไม่ “แตกกรุ” วิธีนี้จะทำให้ได้พระแท้ราคาถูกที่แต่ละคนโดยเฉพาะเซียนพระต้องการ มีการไปกวาด ไปรอเหมา ไปสืบว่า “นักขุดกรุ” คนไหนเก็บไว้ ให้ไปเหมามาให้หมด แต่พอคุยกันในระดับสังคมกลับไม่เป็นที่ยอมรับกัน
  7. ดาวหาง ที่เป็นนักเดินสายพระ ทำตัวเป็นนักสะสมชั่วคราว บางทีก็เดินทางไกล แต่ผ่านมาทีไร ก็จะปล่อย "ฝนดาวตก" มีพระมาให้ชมและหรือซื้อได้ตามใบสั่งหรือตามใจชอบ พระที่ได้ส่วนใหญ่จะราคาไม่สูง คนกลุ่มนี้ทำให้เราได้พระแปลกๆ จากต่างถิ่นมากมาย หลายกรุ หลายพิมพ์ โดยเฉพาะจากที่เดินทางไกลหลายภาค หลายจังหวัด และราคาไม่สูง ด้วยความสามารถในการต่อรองแลกเปลี่ยนของเขา ใช้พระต้นทุนต่ำแลกพระที่ราคาสูง แลกไต่ระดับไปเรื่อยๆ จนได้พระที่ "ถูกใจตลาด" แต่ละเขตพื้นที่ เพื่อการนำไปปล่อยเป็นค่าเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นๆ กลุ่มดาวหางนี้ เราสามารถพึ่งพาได้ทั้งคุณภาพและราคา เพราะถ้าต้นทุนสูง หรือไม่สวย เขาจะไม่มีกำลังแบก และอัตราเสี่ยงก็สูงเกินไป พระกรุที่ได้มา จึงมักสวย ดี และไว้ใจได้ครับ

ดังนั้น ในกลุ่มดวงดาวทั้ง ๗ ดวงหลังนี้ จึงเป็นกลุ่มนักสะสมที่สามารถเป็นแหล่งพระกรุแท้ๆ ได้ ตามแต่จังหวะและโอกาส

จากการศึกษา ติดตาม ประเมินผล และปรับกระบวนท่าไปเรื่อยๆ ทำให้ผมยังคงได้พระกรุแท้ๆ สวยๆ ตามคำขอของสมาชิกของกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเก็บไว้เพื่อการศึกษาอยู่เรื่อยๆ

จึงเป็นที่มาของการมีโอกาสบูชาพระกรุแท้ๆจากทุกภาค แทบทุกกรุ กรุละหลายองค์ หลายๆเนื้อ หลายๆพิมพ์ แต่ไม่ครบทุกพิมพ์

ที่สามารถ และยินดีแลกเปลี่ยนทั้งพระกรุ ความรู้ และการเรียนรู้กับทุกท่านครับ

หมายเลขบันทึก: 396811เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2010 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับอาจารย์

ตอนนี้ผม copy บันทึกเกี่ยวกับพระเครื่องจำนวนมากของอาจารย์ไว้แล้ว

รอจังหวะว่างอีกนิดจะรวบรวมส่งให้อาจารย์นะครับ

แหะ แหะ แอบเก็บไว้เป็นแบบเรียนของตัวเองด้วยครับ

เอาออกมาเป็นกระดาษนะจะอ่าน/เรียนง่ายกว่าครับ

ขอบคุณครับ

ขอให้ "โต" เร็วๆนะครับ

อิอิ

เรียนพระอาจารย์ เอ้ย ท่านอาจารย์ครับ

ผมมีพระเก่าอยู่องค์ สององค์ แต่ไม่รู้ว่ากรุไหน จริงหรือไม่ เซียนข้างบ้านบอกว่า กรุนาดูน อีกองค์เป็นพระรอด ลำพูน ผมถ่ายภาพให้อ.ทำนายหน่อยได้เปล่าครับ

สวัสดีครับ  ท่านอาจารย์

  • อ่าน Blog นี้ของท่านอาจารย์บ่อย ๆ ทำให้ตอนนี้ได้ พระกรุนาดูน มาห้อยคอหลายองค์แล้วขอรับ 
  • ขอบพระคุณครับ 

ครับ

ถ้าจะให้ดู ส่งรูปขนาดประมาณ 100Kb ไปที่ [email protected]

จะสะดวกกว่าฝากผ่าน G2K ครับ

ขอภาพ closeup ทั้งด้านหน้าและด้านหลังนะครับ หรือด้านข้างด้วยก็ดี ครับ

เรียนท่านอาจารย์ ดร.ที่เคารพ

              ผมมีพระกรุนาดูน หลายพิมพ์บูชาได้มาจากหลานเขย อ้างได้มาจากหลวงพ่อทางมหาสารคาม ให้ท่านอาจารย์ ดร.ช่วยวิเคราะห์ให้หน่อยครับ ผมจะส่งทางอีเมล์นะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ 

ดูแล้วครับ
ผลคือ ดูไม่ได้เลยครับ พระใหม่ทั้งหมด
ภาษาพระเครื่องเราเรียกว่า “ของเล่น” ครับ
มีขายเป็นเข่งๆที่ บขส ขอนแก่น องค์ละ ๒๐ บาทก็แพงแล้วครับ
หวังว่าคงยังไม่จ่ายนะครับ ราคาเหมาโหลละร้อยก็ช่วยไปเลยครับ
ได้มาเท่าไหร่ก็ใช้ถมที่หลังบ้านดีอยู่ครับ
ดังนั้น ผมขอย้ำหลักสำคัญในการศึกษาพระเครื่อง คือ
อย่าเชื่อนิทานใดๆ
ไม่ว่าคนเล่าจะเป็นเทวดามาจากไหน
ให้ดูเนื้อพระอย่างเดียว
 
แต่.....
เราก็ยังชอบฟังนิทานกันอยู่
เลยมีนิทานให้ฟังอยู่เรื่อยๆ
เห็นไหมครับ
นี่คือตัวอย่างที่เป็นจริง

สวัสดีคับอาจารย์ ผมพึ่งเข้ามาเป็นสมาชิก คับ

ผมมีพระร่วงรางปืน ไม่รู้ว่าสนิมเขียวไช่รึป่าวคับ ไม่ทราบว่า พระกรุใหนคับอยากให้อาจารย์ช่วยดูให้หน่อยคับ แล้วแท้ หรือเก๊ คับ

เด๋ววันหลังผมเอารูปมาลงให้คับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท