“การสร้างความตื่นรู้และตระหนักในตัวตนของชุมชนท้องถิ่น (Self Actualization) ผ่านกระบวนการวิเคราะห์พื้นที่ เครื่องมือสู่การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น”


การสัมมนา"ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง สู่การปฏิรูปประเทศไทย" ได้มีการพูดถึงการอภิวัฒน์สังคมโดยขบวนการชุมชนท้องถิ่น แม้หลายคนจะเห็นว่าแนวทางนี้เป็นแนวทางที่ถูกต้องและสอดคล้องกับสถานการณ์แล้ว แต่หนทางที่จะก้าวไปสู่ การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริงได้นั้นยังอีกยาวไกล ซึ่งจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าฟันอุปสรรคอีกมากมาย    เงื่อนไขสำคัญที่จะช่วยเปิดประตูบานแรกที่จะไขไปสู่ความสำเรจนั้นคือการที่คนทำงานขับเคลื่อนนั้นจะต้องมือเครื่องมือการเรียนรู้ และการจัดการความรู้  ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีการฝึกฝนเตรียมพร้อมจัดการเรียนรู้ขึ้นต่อเนื่อง 

                                  

บรรยากาศงาน สัมมนา"ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง สู่การปฏิรูปประเทศไทย"  ด้วยการอภิวัฒน์สังคมโดยขบวนการชุมชนท้องถิ่น ซึ่งได้จัดขึ้นระหว่างวันที่๑๔ ก.ย. ๕๓  - ๑๕ ก.ย. ๕๓ นั้น นอกจากเวทีสัมมนาในตอนกลางวันแล้ว ในค่ำคืนของวันที่ ๑๔ ก.ย. ๕๓ ผมได้มีส่วนร่วมจัดกระบวนการสรุปบทเรียนระหว่างการปฏิบัติงานด้วยกระบวนการ AAR โดยในครั้งนี้มีกระบวนการจัดการความรู้คู่กับการปฏิบัติการจริงของชุมชน โดยมีการจัดการความรู้ก่อนปฏิบัติการ ระหว่างปฏิบัติการและภายหลังปฏิบัติการ ขณะเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกันท่ามกลางบรรยากาศการประชุมสัมมนาและการสรุปการเรียนรู้แบบAAR  ในช่วงเย็นวันที่๑๔ ก.ย. ๕๓  เวทีสัมมนายังได้จัดให้มีบรรยากาศพิเศษโดยมีเหล่าศิลปินที่เดินทางมาร่วมงาน ได้เข้าร่วมเวทีรายการ “ เสียงเพลงใน บทเพลงจากคนกันเอง สุนทรียะทางดนตรีที่ได้ฟังแล้วมีสุข”ในครั้งนี้ไปพร้อมๆกันด้วย

                   

โดยในการนี้ทำให้ระหว่างการสัมมนาและการสรุปการเรียนรู้แบบAAR  พบว่ายังคงมีเด็กหลังห้องกับเด็กเกเร แอบหนีจากห้องเรียนรู้และห้องสังเคราะห์ความรู้จากการสัมมนาฯในวันแรก ออกมามาฟังเพลงอันสุนทรียะด้วยกันกับ คุณชิสุวิชาน  พัฒนาไพรวัลย์เป็นศิลปินพื้นบ้านขับขานบทเพลงแห่งขุนเขา ของชาวปปาเกอญอ ด้วยเครื่องดนตรีท่านเรียกว่าเต หน่า กูและพันธมิตรเหล่าศิลปิน หลากหลายคณะมาร่วมกันบรรเลงเพลงสดุดี “การอภิวัฒน์ของขบวนชุมชน”ด้วยบรรยากาศที่มีน้ำที่ทอง สีชา ที่เย็นฉ่ำ พร้อมกับเสียงเพลงที่ขับกล่อมจนเที่ยงคืน “บรรยากาศดี อาหารดี ดนตรีไพเราะ” ผมเองเสียดายครับ....อยากเป็นเด็กหลังห้องกับเด็กเกเร แอบหนีจากห้องเรียนรู้เหมือนกัน  แต่ไม่สามารถปลีกจากภาระงานไปร่วมวงสุนทรียะได้ด้วยตนเอง

                           

                                                         

ภายหลังงานสัมมนาได้มีกลุ่มอาสาสมัคร มาทำงานต่อครับ เพื่อเอื้ออำนวยให้ชุมชนท้องถิ่นมีความรู้ความสามารถในการจัดการตนเอง กลุ่มชุมชนนักปฏิบัติด้านการจัดการความรู้ (COP)โดยคุณวิชัย นะสุวรรณโน และคุณวิเชียร พลสยาม เป็นผู้ประสานงานได้มาจัดกระบวนการถอดบทเรียนในเรื่อง “การสร้างความตื่นรู้และตระหนักในตัวตนของชุมชนท้องถิ่น (Self Actualization)ผ่านกระบวนการวิเคราะห์พื้นที่  เครื่องมือสู่การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น” ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๗ มิ.ย. ๕๓   งานนี้จัดขึ้นที่บ้านต้นซูงรีสอร์ท จ.นครนายก  ผมจึงตามมาที่นครนายก มาร่วมเรียนรู้และร่วมถอดบทเรียนในครั้งนี้กับกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติด้านการจัดการความรู้ (COP)กลุ่มนี้ด้วยครับ 

                        

                                                   

โดย“การสร้างความตื่นรู้และตระหนักในตัวตนของชุมชนท้องถิ่น (Self Actualization)ผ่านกระบวนการวิเคราะห์พื้นที่  เครื่องมือสู่การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น”ครั้งนี้มีกรอบเนื้อหาในการวิเคราะห์ถอดบทเรียนในครั้งนี้ดังต่อไปนี้

             1) นิยาม การเการสร้างความตื่นรู้และตระหนักในตัวตนของชุมชนท้องถิ่น (Self Actualization)ผ่านการกระบวนการวิเคราะห์พื้นที่ เพื่อการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น และการอภิวัฒน์สังคมโดยขบวนการชุมชนท้องถิ่น

             2) เป้าหมายการวิเคราะห์พื้นที่ในระดับต่างๆ

             3) ที่มาและความสำคัญของการวิเคราะห์พื้นที่กับการปฏิรูปประเทศไทย  และการอภิวัฒน์สังคมโดยขบวนชุมชนท้องถิ่น

             4) องค์ประกอบในการวิเคราะห์พื้นที่ (คน ข้อมูล บริบทพื้นที่)

             5) เครื่องมือ / วิธีการ กระบวนการวิเคราะห์พื้นที่รูปแบบต่างๆ

             6) บทบาทของชุมชน แกนนำ เจ้าหน้าที่ และภาคี

             7) แนวปฏิบัติการนำเครื่องมือการวิเคราะห์พื้นที่ไปประยุกต์ใช้และการสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนในการวิเคราะห์พื้นที่ให้เกิดคุณภาพอย่างรอบด้านและกว้างขวาง

             8) เรื่องเล่าจากพื้นที่ ตัวอย่างกรณีพื้นที่รูปธรรมการวิเคราะห์พื้นที่กับการปฏิรูปประเทศไทย  และการอภิวัฒน์สังคมโดยขบวนชุมชนท้องถิ่น

             9) ข้อพึงระวัง/ข้อเสนอแนะ

                         
งานนี้เป็นการจัดสัมมนาต่อเนื่องจากเวทีสัมมนา"ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง สู่การปฏิรูปประเทศไทย" ในเวทีกลุ่ม COP ครั้งนี้กลุ่มนี้ได้ชวน อ.แมน ปุโรทกานนท์ ว่าที่ดุษฎีบัณฑิตจาก AIT มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย ในหัวข้อ "การสร้างความตื่นรู้และตระหนักในตัวตนของชุมชนท้องถิ่น (Self Actualization)ด้วยกระบวนการวิเคราะห์พื้นที่ในระดับตำบลและภูมินิเวศวัฒนธรรม" ผลจากเวทีจะนำเสนอต่อไปครับ...ขอบคุณครับ

                        

                          

                        

หมายเลขบันทึก: 395020เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2010 01:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จะทำอย่างไร ชุมชน จึงจะประสบความสำเร็จตามแนวคิดของตนเอง เพราะปัจจุบัน ได้แต่คิด ติดที่การกระทำ

สวัสดีค่ะท่านเทพฯ

แค่เห็นลีลา ครวญเตหน่า ของผู้ร่วมกระบวนการ ก็น่าดึงดูดใจ ให้ร่วมเรียนรู้ คงเพลิดเพลิน ราบรื่นตามเป้าหมาย นะคะ;)

ปลูกขาวเก็บเกี่ยวผล ได้ 1 ปี

ปลูกต้นไม้(ผล)เก็บเกี่ยวผล ได้ 10 ปี

ปลูกสร้างคนเก็บเกี่ยวผลได้กว่า100 ปี

                                                         โฮจิมินห์

ครับ อ.บุญส่งIco32

  • จะทำอย่างไร ชุมชน จึงจะประสบความสำเร็จตามแนวคิดของตนเอง เพราะปัจจุบัน ได้แต่คิด ติดที่การกระทำ
  • ทำอย่างไร ช่วยกันหาทางออกด้วยกัน  หาคำตอบร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกันครับ
  • การอภิวัฒน์สังคม ใช้เวลาบ่มเพาะครับ ขอบคุณครับ

ครับคุณปู Ico32

ผมชื่นชอบกับการอ่านหนังสือ  ดูหนัง  ฟังเพลง

มีความสุขกับดนตรีสุนทรียะ งานศิลปวัฒนธรรม

รวมทั้งเพลิดเพลินกับการเดินทางท่องเที่ยว

พร้อมๆกับเป็นการขัดเกลาพัฒนาชีวิตด้านในของตัวเองไปในตัวด้วย

นับเป็นบุญวาสนาครับที่ได้พบกับเรื่องราวที่ดีๆจากการเดินทาง

ได้พบปะกับญาติสนิทมิตรสหาย ได้ประสบการณ์ที่มีคุณค่า

และมีความหมาย ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท