บรรยากาศละหมาดอีดกลางแจ้ง มัสยิดดาวะฮติน วรุณนิเวศน์ เชียงใหม่


อิสลามสนับสนุน ให้มุสลิมมี“กิจกรรมร่วม”ระหว่างกัน เพราะจะช่วยให้แต่ ละคนรู้จักกัน(ตะอารุฟ)ในสภาพต่างๆ เรียนรู้อุปนิสัยใจคอระหว่างกัน เข้าใจความรู้สึกของพี่น้อง

บรรยากาศละหมาดอีดกลางแจ้ง มัสยิดดาวะฮติน วรุณนิเวศน์ เชียงใหม่

มัสยิดดาวะฮฺติน ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-หางดง ในหมู่บ้านวรุณนิเวศน์ คนเชียงใหม่ บางคนก็เรียกว่า มัสยิดวรุณ บางคนก็เรียกว่ามัสยิด ๓๗ อันนี้ ก็ต้องอธิบายก่อน ถึงทีมาของชื่อ มัสยิด ๓๗ คนเก่า ที่อาศัยอยู่ที่นั้น เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนที่ดินแถวนั้น ตอนที่เขาจัดสรร ขายใหม่ ๆ เขาโฆษณา และขาย โดยเก็บเพียงวันละ ๓๗ บาท พอไปสร้างมัสยิดก็เลย เรียกชื่อจนติดปากว่ามัสยิด ๓๗ แต่ปัจจุบันชื่อนี้ก็เริ่มค่อย ๆ เลือนหายไป

การมาร่วมละหมาด อีด ปีนี้ ทุกคนในชุมชน นัดหมายพร้อมใจกัน ละหมาดกลางแจ้ง โดยเหตุผล การปฏิบัติ ตามแบบอย่างท่านศาสดา อ. ฟารีด ฟิ้นดี้ ได้ตอบคำถาม หนึ่ง ที่ มีผู้ถามมาว่า
ชุมชน มุสลิมทุกแห่งมีมัสยิด สร้างด้วยเงินหลายล้านแต่ไม่ยอมละหมาด ไปละหมาดกลางลาน บางที่ละหมาดกลางนา
แล้วสุเหร่าที่ยังสร้างไม่เสร็จจะเรี่ยรายหาเงินสร้างต่อได้ยังไง
ถ้าเสร็จแล้วก็ไม่ได้ใช้

คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้ได้ชีแจงเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

คง ต้องขีดกรอบของปัญหากันก่อนนะครับ เกี่ยวกับเรื่องละหมาดที่มัสยิด และละหมาดที่มุศ็อลลา เพราะทั้งสองสถานที่นี้มีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน

ตาม ปกติแล้วละหมาดฟัรดู 5 เวลานั้นอิสลามสนับสนุน ส่งเสริม รณรงค์ให้กระทำที่มัสยิด จนกระทั่งนักวิชาการบางท่านกล่าวว่า
การละหมาดฟัรดู 5 เวลาที่มัสยิดวาญิบสำหรับผู้ชาย
ส่วนผู้หญิงให้ละหมาดที่บ้านจะอัฟฏอลกว่า (ดีกว่า)

แต่ การละหมาดอีดถูกจำกัดว่า ต้องที่มุศ็อลลา เพราะในชีวิตของท่านนบีนั้น ไม่เคยมีสักครั้งเดียวที่ท่านละหมาดอีดที่มัสยิด ส่วนที่อ้างฮะดีษว่า
มีอยู่ครั้งหนึ่งนบีละหมาดอีดที่มัสยิดเนื่องมาจากฝนตก
ฮะดีษบทนี้อยู่ในฐานะฏออีฟ (ฮะดีษอ่อน) ไม่ใช้เป็นข้ออ้างอิงในทางศาสนา


การ ละหมาดอีดเป็นอิบาดะห์ ฉะนั้นจึงต้องตรงตามคำสอนของท่านนบีคือ ถูกวัน ถูกที่ ถูกเวลา ถูกวิธี และตรงตามเป้าหมาย มิได้หมายความว่า
จะละหมาดวันไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ ที่ใดก็ได้ หรือทำอย่างไรก็ได้
นั่นไม่ใช่เรื่องของอิบาดะห์

มุ ศ็อลลาของนบีอยู่ทางประตูเมืองด้านตะวันออก และเป็นทุ่งโล่ง จากเหตุนี้เองกระมังที่คนบ้านเราบางท่านให้ความหมายของ มุศ็อลลา
ว่ากลางแจ้ง
ฉะนั้นในบางที่จึงต้องตัดกิ่งไม้ออกเพราะกลัวว่าจะไม่ใช่กลางแจ้งจริงๆ
ขอทำความเข้าใจว่า การให้ความหมาย มุศ็อลลา ว่า
กลางแจ้งนั้นยังไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะคำว่า มุศ็อลลา
คือสถานที่จัดเตียมไว้สำหรับละหมาดโดยเฉพาะ
อาจจะมีร่มไม้บ้างก็ไม่จำเป็นต้องไปตัดกิ่งไม้ออก

บาง ท่านกล่าวว่า มุศ็อลลาของนบีอยู่ห่างจากมัสยิด แต่มุศ็อลลาของเราบางที่อยู่ข้างมัสยิด แล้วอย่างนี้จะใช้ได้หรือ
ขอทำความเข้าใจว่า
การที่เราได้พยามยามปฏิบัติตามคำสอนของท่านนบีนั้นถือว่าเราได้ใกล้ชิดกับ
ซุนนะห์ของท่านนบีแล้ว
และไม่มีความจำเป็นใดๆที่เราจะถอยห่างออกจากซุนนะห์โดยเข้าไปละหมาดอีดกันใน
มัสยิด เพียงแค่เหตุผลว่าสร้างมัสยิดราคาหลายล้านบาท

เรา เคยศึกษากันมาว่า ละหมาดอีดไม่มีอะซาน ไม่มีกอมัต ไม่มีซุนนะห์ก่อนหรือหลัง
และเราก็เคยศึกษากันมาว่า เมื่อเข้ามัสยิดนั้นก่อนที่จะนั่งให้ละหมาด 2
ร็อกอะห์
และเมื่อเราย้ายละหมาดอีดไปไว้ในมัสยิดจึงทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติคือ
บางคนเมื่อไปถึงมัสยิดก็นั่งตักบีรเลยเพราะถือว่าไม่มีซุนนะห์ก่อนหรือหลัง
และบางคนเมื่อถึงมัสยิดก็ละหมาดก่อน 2 รอ็กอะห์
เพราะถือคำสั่งเรื่องตะฮียะตุ้ลมัสยิด
จึงก่อให้เกิดปัญหาและข้อถกเถียงไม่รู้จบ


เหตุเกิดจากเราไม่ปฏิบัติตามซุนนะห์โดยการย้ายที่ละหมาดนั่นเอง

เก็บมาจาก http://siamvip.com/free/Default.aspx?&web=mmg&wb=1&sch=1&sub=1&headmenu=true&titleTh=%A1%C3%D0%B4%D2%B9%B6%D2%C1%B5%CD%BA&titleEn=Webboard&id=M000000004&fullpage=readwebboard&newtopic=true&idboard=B000000016

ครับสิ่งไหน ที่ เป็นแบบอย่าง สิ่งไหนเป็นสิ่งที่ดี ก็ประพฤติปฏิบัติ กันไป ยังมีเรื่องราว อีกหลายเรื่องที่เราจะต้อง ทำหลังจากวันอีด อีดิ้ลฟิตร์ คุณอัล อัค ได้ให้ข้อคิด ในบทความที่ลงไว้ใน เว็บ www.fityah.com ว่า อิสลามสนับสนุนให้มุสลิมมี“กิจกรรมร่วม”ระหว่างกัน เพราะจะช่วยให้แต่ละคนรู้จักกัน(ตะอารุฟ)ในสภาพต่างๆ เรียนรู้อุปนิสัยในคอระหว่างกัน เข้าใจความรู้สึกของพี่น้อง

การมีกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอมีหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ เช่น การจัดให้มีการนมาซญะมาอะฮฺ อ่านมะอฺษูรอตร่วมกัน ถือศีลอดและละศีลอดร่วมกัน หรือกิจกรรมเชิงวิชาการ
เช่น การจัดหลักสูตรเรียนภาษา การจัดรายการการศึกษาในหัวข้อต่างๆ
การทัศนะศึกษาร่วมกัน แม้แต่กิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารร่วมกัน
เป็นต้น

"แท้จริง อัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ที่ต่อสู้ในทางของพระองค์เป็นแถวเดียวกัน ประหนึ่งพวกเขาเป็นอาคารที่ยึดมั่นแข็งแรง”(61:4)

ญะมาอะฮฺจะต้องพยายามสร้างตัวขึ้นมาบนพื้นฐานของความเป็นพี่น้องอย่างเป็น“ขั้นตอน” ไม่ฝืนธรรมชาติ ญะมาอะฮฺต้องรับรู้ความจริงว่าความเป็นพี่น้องจอมปลอมที่แสแสร้งขึ้น สามารถมองเห็นได้ทันที อันจะทำให้บรรยากาศของญะมาอะฮฺมีแต่ความกระด้าง

ขาดชีวิตชีวา การคบหาสมาคมกันก็มีแต่ความผิวเผิน

ญะมาอะฮฺใดที่สามารถสร้างความเป็นพี่น้องในความหมายที่แท้จริงได้ เปรียบเสมือนเบ้าหลอมอันแข็งแกร่ง ซึ่งชัยฏอนไม่สามารถจะหาช่องเข้าไปแทรกแซงให้เกิดการแตกร้าวได้ แม้มันจะระดมการต่อต้านอย่างหนักก็ตาม ก็ไม่สามารถทำให้เบ้านี้สั่นสะเทือนได้แม้แต่น้อย

ภาพได้รับความอนุเคราะห์จาก
AHRI MY

ขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.piwdee.net
เรื่องโดย นายชุมพล ศรีสมบัติ

หมายเลขบันทึก: 393619เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2010 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท