การจัดการเรียนการสอนด้วยครูไทยเป็นภาษาอังกฤษ(EIS)


เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2553
ได้มีโอกาสไปเข้าอบรมการจัดการเรียนการสอนด้วยครูไทยเป็นภาษาอังกฤษ
โดยบูรณาการในสาระวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์
(English for Integrated Studies : EIS) ณ ศูนย์เครือข่ายโรงเรียน EIS ภาคกลาง
โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
(โดยการนำของท่านอาคม  หาญสงคราม ผู้อำนวยการโรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์)
ต้องขอบขอบพระคุณทางคณะผู้จัดดำเนินการ วิทยากรท่านผู้อำนวยการสุรพงศ์  งามสม
ประธานเครือข่ายโรงเรียน EIS แห่งประเทศไทย (ผู้อำนวยการโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา)
ทำให้มีความเข้าใจและชัดเจนว่า....คืออะไร.....นึกว่าเป็นการเรียนรูปแบบพิเศษ
ที่โรงเรียนจัดทำขึ้นตามนโยบายต่าง ๆ ทำให้รู้ว่า
มหัศจรรย์กับนวัตกรรมการจัดการศึกษารูปแบบ EIS สองภาษาแบบพอเพียง
สอนโดยครูไทย เพื่อเด็กไทย สู่สากล ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าไม่ต่างจากนักเรียนในโครงการ
EP และ MEP
พบองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการ คือ
1. หลักสูตรกระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ EIS
2. ผู้บริหารโรงเรียนที่มีความกระตือรือร้นและสร้างแรงบันดาลใจให้เป็นผู้นำทางด้านการสอน
3. การนิเทศติดตามผลของครูด้วยรูปแบบ Coaching&Mentoring
4. ปรับกระบวนการฝึกอบรมครูไปสู่ปฏิบัติการเรียนรู้ในระหว่างการทำงาน
5. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
6. สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนให้เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
ส่งผลต่อประสิทธิผลของการยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษาสถานศึกษาในรูปแบบ EIS อย่างยั่งยื่น
เดิมทีเราก็มองว่าการลงทุนเปิดก้องเรียน 2 ภาษา เป็นเรื่องที่ต้องลงทุนสูง
โดยเฉพาะการลงทุนเจ้าของภาษามาเป็นครูให้กับนักเรียน ซึ่ง EIS เป็นผลพวง
ที่ยั่งยืนกว่า/แต่ต้องใช้องค์ประกอบตามที่วิทยากรนำเสนอไว้นี้โดยไม่ต้องรอวาสนา
ว่าเมื่อไรจะได้งบประมาณมายังโรงเรียน แต่สามารถเริ่มได้เพราะเรามีคุณครู
ในแต่ละสาขาวิชาอยู่แล้วที่จะขับเคลื่อนได้เป็นอย่างดี และยั่งยื่นกว่า
เพราะในอนาคตอันใกล้นี้ สพฐ.พร้อมก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการศึกษาอาเซียน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เปิดตัว 14 โรงเรียนที่มีความพร้อม เข้าร่วมโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค หรือ Education Hub ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง พร้อมเปิดรับนักเรียนนานาชาติ ครั้งแรก ปีการศึกษา 2553 โดยเปิดสอนสามรูปแบบตาม ความต้องการของ ผู้ปกครอง ผู้เรียน ชุมชน และบริบทของแต่ละพื้นที่ พร้อมเปิดการเรียนการสอนและเปิดรับสมัครนักเรียนไทยและนักเรียนนานาชาติ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ที่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 หรือ ระดับเกรด 3 แล้ว สอบถามรายละเอียดได้ที่โรงเรียน หรือ สายด่วน 1579

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค (Education Hub) มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการ และการเรียนการสอนให้มีมาตรฐานในระดับสากล เพื่อรองรับนักเรียนต่างชาติ และพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค โดยได้รับงบประมาณในการดำเนินการจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
       
       ซึ่ง สพฐ. ได้ดำเนินการคัดเลือกและพัฒนาศักยภาพโรงเรียนมีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ จำนวน 14 โรงเรียน โดยสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ครบวงจร จัดทำรูปแบบโรงเรียนโดยวิเคราะห์จากบริบทและความต้องการของแต่ละพื้นที่ และโรงเรียน ได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ โรงเรียนที่ใช้หลักสูตรจากต่างประเทศ โรงเรียนที่ใช้หลักสูตรพหุภาษา และโรงเรียนวิทย์-คณิต สองภาษา สนับสนุนสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับรูปแบบและหลักสูตร พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากร ให้สามารถบริหารจัดการแบบองค์กรสมัยใหม่ และจัดการเรียนการสอนได้ตามมาตรฐานสากล
       
      
ประกอบด้วยโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่มีชาวต่างชาติเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยได้แก่ โรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพมหานคร โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต และโรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร จังหวัดชลบุรี โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตชายแดนไทยติดต่อกับประเทศ เพื่อนบ้าน ได้แก่ โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ จังหวัดเชียงราย โรงเรียนสรรพวิทยาคม จังหวัดตาก โรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จังหวัดหนองคาย โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร โรงเรียนประสาทวิทยาจังหวัดสุรินทร์ โรงเรียนกันทรลักษณ์วิทยา จังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร จังหวัดระนอง โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ จังหวัดสงขลา และโรงเรียนจุฬาภรณราชิทยาลัย สตูล จังหวัดสตูล คาดว่าเมื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนแล้ว ก็จะสามารถสร้างรายได้จากการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับประเทศไทย อีกทางหนึ่งด้วย อ้างอิงจาก http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic_cache.php?table_id=1&cate_id=110&post_id=87606&title=%CA%BE%B0.%BE%C3%E9%CD%C1%A1%E9%D2%C7%CA%D9%E8%A1%D2%C3%E0%BB%E7%B9%C8%D9%B9%C2%EC%A1%C5%D2%A7%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2%CD%D2%E0%AB%D5%C2%B9

 นับตั้งแต่ที่ อาเซียน (ASEAN) หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาคแบบหลวมๆ ในความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐ ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967  ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทของการศึกษาในการส่งเสริมการพัฒนาของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยได้ประกาศไว้ในวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งของการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่า “เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษา”
ปัจจุบัน อาเซียนกำลังปรับแนวทางให้กลุ่มประเทศสมาชิกก้าวสู่ทศวรรษที่ 4 ด้วยศักยภาพใหม่ ด้วยการเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี ค.ศ. 2015 โดยประกอบด้วย 3 เสาหลัก ที่เรียกว่า ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community) ประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community) กับประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) โดยอาศัยกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูปองค์กรสู่การเป็นสถาบันที่มีสถานะทางกฎหมาย และมีศักยภาพในการรับมือกับปัญหาต่างๆ อย่างมีเอกภาพมากขึ้น บนกรอบกฎหมายและกติกามารยาทของการอยู่ร่วมกัน ตลอดจนการทำงานของอาเซียนสนองประโยชน์ต่อประชาชนมากขึ้น ซึ่งอาจถือได้ว่า เป็นการทำให้อาเซียนก้าวไปบนเส้นทางสาย
ใหม่ซึ่งมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยร้อยรัดกับความร่วมมือกับนอกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศคู่เจรจา ในลักษณะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Partnership for Development) ในการอำนวยให้อาเซียนก้าวไปในแนวทางของวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 อย่างชัดเจนมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา ทั้งในการยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจ และการจัดการกับปัญหาใหม่ๆ ที่รุมเร้าอยู่ร่วมกัน
แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint) มีการกำหนดคุณลักษณะและองค์ประกอบของแนวทางการดำเนินการ ประกอบด้วย
1) การพัฒนามนุษย์ (Human Development)
2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)
3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)
4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)
5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building ASEAN Identity)
6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap)
         องค์ประกอบทั้ง 6 ประการข้างต้น สะท้อนถึงบทบาทอันสำคัญของการศึกษา และความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนามนุษย์ และการลดช่องว่างทางการพัฒนา เป็นประชาคมที่มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น สร้างเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างเสมอภาค บนเส้นทางซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนในฐานะศูนย์กลางของความร่วมมือในอาเซียน
อ้างอิงจาก ดร.พัชราวลัย วงศ์บุญสิน ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนามนุษย์และการย้ายถิ่น
วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.thaiworld.org/th/include/answer_search.php?question_id=917

จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โรงเรียนทุกโรงเรียนสามารถดำเนินการไปก่อนโดยใช้รูปแบบ EIS
มาดำเนินการได้ทันทีโดยไม่ต้องรอ....โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากร ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุมชน และทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันพัฒนา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

ขอบูชาครู


คำสำคัญ (Tags): #eis
หมายเลขบันทึก: 393204เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2010 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จะต้องมีประวัติในห้องและการเรียนการสอนด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท