หนูรี
นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข

20. ไฮเดรนเยีย...ดอกไม้เปลี่ยนสีได้


 
4 กันยายน 2553 ที่บ้านสวนถ้ำทะลุ
 
 พักนี้โกทูโนเหมือนจะเหงาๆไปบ้าง... ถึงอย่างไรก็ยังคงอยากจะบันทึก...

เพื่อเป็นการฝึกฝนตนเองให้รู้คุณค่าของการเขียนบันทึก...เขียนไดอารี่... อยู่บ้านสวนก็จะมีเวลาว่างๆที่จะใช้ชีวิตแบบสบายๆไม่ต้องแข่งขันกับเวลาและกับใครวันนี้ก็เป็นอีกครั้งที่จะนำดอกไม้งามๆมาฝากกันจะแปลกไปกว่าวันก่อนๆที่กลายมาเป็น

 ไม้ในเมือง ที่เรานำมาปลูกในบ้านสวนบ้านป่า

 

 
"ไฮเดรนเยีย"
ดอกไม้เปลี่ยนสีได้...สีฟ้าบ้าง สีม่วงบ้าง สุดท้ายใกล้ร่วงโรยก็กลายเป็นสีชมพูหวานแหว๋วเชียวค่ะ         
21 - 08 -2010 เริ่มเก็บภาพ...

 

 •

 •

 •

 •

• 

 •

• 

 •

 •

 •

• 

 •

• 

เก็บภาพมาตั้งแต่วันที่ 21 - 08 -2010 ถึงวันนี้ 04 - 09 -2010
ยังคงบาน...บาน...มิร่วงโรย สีเริ่มเปลี่ยนไปในแต่ละครั้งแต่ละวัน
 •
พรุ่งนี้ฉันจะเข้าเมืองหาดใหญ่...กะจะกลับไปดูแลบ้านช่องที่ปิดทิ้งไว้
และจะต้องทำธุระอื่นๆพร้อมนัดพบปะเพื่อนฝูงที่ฉันหนีห่างหายมาเช่นกัน
 •
วันนี้จึงขอเก็บ "ไฮเดรนเยีย " ฝากไว้ที่ "ถ้ำทะลุที่รัก " ก่อน...
อาทิตย์หน้าค่อยกลับมาเก็บภาพการเปลี่ยนแปลงของ "ไฮเดรนเยีย" ดอกไม้เปลี่ยนสีได้กันต่อน่ะค่ะ
 •
ขอให้มีความสุขน่ะค่ะ
สวัสดีค่ะ
..................

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 390875เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2010 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีครับ  ได้ดูภาพสวย ๆ หลายครั้งแล้วครับ  คราวนี้ก็มาแปลกไม่เคยเห็นมาก่อน  ก็ถือว่าได้กำไรที่ได้เข้ามาเยี่ยมครับ  ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

เกี่ยวกับไฮเดรนเยียที่อยากบันทึกเก็บเอาไว้...ลองอ่านดูน่ะ

ไฮเดรนเยีย (Hydrangea)

ไม้เลี้ยง
โดย...นายน้ำค้าง
ไทยทาวน์ฯ แอล เอ

 

ไฮเดรนเยีย (Hydrangea)

ความท้าทายของคนปลูกไฮเดรนเยียอย่างหนึ่งก็คือการควบคุมให้ดอกเปลี่ยนสีไปตามที่ต้องการ ระหว่างสีฟ้า ม่วง ชมพู หรือแดง โดยการเปลี่ยนสภาพดินปลูกให้เป็นกรดหรือด่าง คือถ้ามีค่าพีเอช น้อยกว่า 5.5 (เป็นกรด) ไฮเดรนเยียจะให้ดอกสีฟ้าหรือม่วง แต่ถ้ามีค่าพีเอชสูงกว่า 5.8 (เป็นด่าง) ดอกไฮเดรนเยียก็จะกลายเป็นสีชมพู หรือแดง

อ่านตำราภาษาไทยดูแล้วเหมือนง่าย คือถ้าอยากได้ดอกสีฟ้าก็เอาตะปูเป็นสนิมฝังใต้โคน หรือรดน้ำแกว่งสารส้ม ฯลฯ หากอยากได้สีชมพูก็ขุดตะปูออก สีก็จะคืนกลับไปเป็นสีชมพูเหมือนเดิม...

 

ตำราฝรั่งซับซ้อนกว่านั้น คือบอกว่า อยากได้ไฮเดรนเยียสีชมพู ให้ใส่หินปูนโดโลไมท์ (Dolomite Lime สำหรับปรับพีเอชของดินโดยเฉพาะ) ปีละสองสามครั้ง จะทำให้ค่าพีเอชสูงประมาณ 6.0-6.2 หรือจะให้ปุ๋ยเคมีตัวกลางสูง (ฟอสฟอรัส) อย่าง 25-10-10 ก็ช่วยเหมือนกัน และถ้าจะเปลี่ยนกลับเป็นสีฟ้า ก็ให้รดน้ำผสมอลูมิเนียมซัลเฟท (น้ำแกว่งสารส้ม) หรือจะผสมปุ๋ยคอกสด อย่างกากกาแฟ เปลือกผักผลไม้ หรือหญ้าจากสนามก็ช่วย และหมากสุดท้ายคือใส่ปุ๋ยตัวกลางต่ำ อย่าง 25-5-30

 

จริงๆ แล้วการเปลี่ยนไฮเดรนเยียให้สีได้อย่างใจนั้น ไม่ง่ายอย่างที่คิด ส่วนใหญ่สีจะเปลี่ยนแค่เล็กน้อย หรือไม่ก็ได้สีแบบซีดๆ จืดๆ เพราะค่าพีเอชในดินไม่ลงล็อกที่มันต้องการ... อีกทั้งยังมี “ข้อแม้” เรื่องดินฟ้าอากาศ อุณหภูมิเข้ามาประกอบด้วย

 

เคล็ดลับคือไฮเดรนเยียในกระถาง จะเปลี่ยนสีได้ง่ายกว่าไฮเดรนเยียที่ปลูกลงดิน หรือถ้าลงดิน ต้นเล็กจะเปลี่ยนสีได้ง่ายกว่าต้นใหญ่...

 

ส่วนไฮเดรนเยียสีขาวนั้น สีดอกจะไม่เปลี่ยนตามค่าพีเอชของดิน ขาวแล้วขาวเลย...หากอยากเล่นเกมกิ้งก่าเปลี่ยนสีกับไฮเดรนเยีย ต้องซื้อสีอื่นมาเล่นครับ. 

 

นำเสนอข่าวโดย : ภาณุพล รักแต่งาม
แหล่งที่มาข่าวโดย : ไทยทาวน์ ยูเอสเอนิวส์
ขอบคุณแหล่งข้อมูลน่ะค่ะ...ขอบคุณค่ะ
ไฮเดรนเยีย
 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydrangea macrophylla
(Thunb.) Ser.
 ชื่อวงศ์ : Hydrangeaceae
 ชื่อสามัญ : Hortensia group, Hydrangea
 ชื่อพื้นเมือง : ดอกสามเดือน ดอกหกเดือน ดอกสามสี
   ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้พุ่ม
   ขนาด [Size] : สูงได้ถึง 1 เมตร
   สีดอก [Flower Color] : สีขาว ม่วง ชมพู หรือฟ้า
   ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] : ฤดูหนาว
   อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ปานกลาง
   ลักษณะนิสัย [Habitat] : ดินร่วน ระบายน้ำได้ดี
     ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง
     แสง [Light] : ปานกลาง-ร่มรำไร

ขอบคุณแหล่งข้อมูลน่ะค่ะ....ไฮเดรนเยีย.html

ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง
   ใบ (Foliage) :   ใบเดี่ยว  เรียงตรงข้าม  ใบรูปไข่หรือรูปไข่กลับ  กว้าง 4-13 เซนติเมตร ยาว 7-19 เซนติเมตร ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบกลมมน ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบหนา สีเขียว เส้นใบเป็นร่องลึกชัดเจน
   ดอก (Flower) :   สีขาว ชมพู หรือฟ้า ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นทรงกลมที่ปลายกิ่ง  ช่อดอกมีขนาดค่อนข้าง
ใหญ่  ดอกรอบนอกเป็นหมัน ดอกรอบในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกัน ปลายจัก 4-5 พู โคนกลีบ
ดอกเชื่อมติดกันปลายแยก 4-5 แฉก ดอกย่อยบานเต็มที่กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร
   ผล (Fruit) : ผลแห้งแตก กว้าง 1-3  มิลลิเมตร ยาว 6-8 มิลลิเมตร สีเหลืองถึงน้ำตาล มี 2 เมล็ดต่อผล
 การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ปลูกประดับสวน หรือปลูกลงกระถาง ให้ดอกสวยงาม มีกลิ่นหอม

ขอบคุณแหล่งข้อมูลน่ะค่ะ....ไฮเดรนเยีย.html

อรุณสวัสดิ์อาทิตย์สดใสค่ะพี่หนูรี ไฮเดรนเยีย สวยงามจังเลยค่ะ น่าสนใจที่ความท้าทายในการปลูก ไว้จะหามาลงบ้างดีกว่าค่ะ สุขสันต์วันสบายๆ นะคะ ฝนตกไหมคะทางโน้น

น้องปูขา

วันนี้ฟ้าคลื้มๆ แต่ฝนไม่ตกค่ะ สายๆวันนี้ พี่จะเข้าเมือง...

ขอบคุณน้องปูที่แวะมาแต่เช้าเลย...อรุณสวัสดิ์วันอาทิตย์ค่ะน้อง

Ico32ท่านเบดูอินสวัสดีค่ะ

ขอบคุณน่ะค่ะที่แวะมาเยี่ยมชม...ขอบคุณค่ะ

นาย ธนา นนทพุทธ

สวัสดีค่ะคุณธนา

ขอบคุณน่ะค่ะ...ดีใจค่ะที่วันนี้ฝากเม้นท์ไว้ที่นี่ด้วย...ขอบคุณค่ะ

ฝีมือการถ่ายภาพสวยเสมอเลยค่ะคุณหนูรี......ด้วยความที่สีสวยของไฮเดรนเยีย...ครูนกก็จะมองในรูปแบบของเคมี เอามาทำตัวตรวจสอบสภาพกรดและเบสเพราะสีที่เปลี่ยนไป

Ico32noktalay

สวัสดีค่ะครูนก

ใช่ค่ะ หนูรีก็คิดอย่างนั้นเหมือนกันค่ะ...สภาพดินฟ้าอากาศก็อาจจะมีผลน่ะค่ะ ช่วงนี้ฝนตกมาก สีเปลี่ยนช้า...

ขอบคุณน่ะค่ะ

มาชมดอกไม้ม่วงอ่อนสวยหวาน..และเรื่องราวน่ารู้ ขอบคุณค่ะ..มีดอกหยดเทียนจากสวนที่บ้านมาฝากค่ะ..

Ico32พี่ใหญ่ขา...

ขอบคุณน่ะค่ะ ดอกเทียนหยด สวยเชียวค่ะ

"ไฮเดรนเยีย วันที่ 14 09 2010...กลับมาเก็บภาพต่อ จนกว่าจะเหี่ยวเฉาไปในที่สุด

(ไม่มีอะไรเล่นหรือจ๊ะ น้องสาว...อิอิ)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท