นโยบายและกรอบแนวคิดการดำเนินการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)


โรงพยาบาล 2 บาท ช่วยสร้างชาติ

   นโยบายและกรอบแนวคิดการดำเนินการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  (โรงพยาบาล  2  บาท)    อ.เกษร  วงศ์มณี(สสอ.หล่มสัก)

                   -  เราเป็นตั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข    เป็นโอกาสดีที่ได้เข้ามาช่วยเหลือคนที่เขาเดือดร้อน

                   -   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล   ชื่อนั้นต้องบอกการเปลี่ยนแปลง

                   -    ทำงานที่มีคุณภาพ   ทำอย่างต่อเนื่อง   และสร้างเสริมสุขภาพในปีที่ 9

                   -   ต้องมีการสร้างศรัทธา  และสร้างความไว้วางใจ  และตัวประชาชนต้องเข้ามาร่วมกับเรา

                   -    ส่วนที่ขาดแคลน   อยากได้ต้องขวนขวาย     และเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการ

การได้ฟรีทำให้ไม่รู้สึกว่ามีคุณค่า

                   -   ใช้หลัก  5 ข้อ ดังต่อไปนี้ในการทำงาน

                   1. Accessibility   การเข้าถึงประชาชน 

                   2. Comprehensive   การดูแลแบบองค์รวม  4 มิติทางด้านสุขภาพได้แก่ส่งเสริมสุขภาพ  ป้องกันโรค  รักษา  ฟื้นฟูสภาพโดยเพิ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค  อีก 1 งาน  กับดูแลตาม  6 มิติทางสังคม ได้แก่  กาย จิต  สังคม จิตวิญญาณ  วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

                   3. Continuous Care   ดูแลต่อเนื่อง  เชื่อมโยง   ก่อนป่วย ขณะป่วย  ป่วยแล้วเป็นอย่างไรบ้าง

                   4. Connection                 การเชื่อมโยงประสานทุกภาคส่วน

                   5. Community Participation    การมีส่วนร่วมของชุมชน

                   -  ขั้นตอนการดำเนินการการจัดตั้งกองทุน   ฯ หรือร่วมลงขัน  2  บาท/คน/เดือน

                   1.เชิญแกนนำทั้งตำบล  ผอ.โรงเรียน     เข้ารับการอบรมโดยระบุชื่อเขาชัดเจนและบอกว่าเขามีความสำคัญในการพัฒนาสถานีอนามัยของเรา

                   2.ชี้แจงข้อมูลสุขภาพ     จำรวนผู้ป่วยที่ต้องไปโรงพยาบาลในปีที่ผ่านมาและข้อมูลย้อนหลัง ประมาณ 5  ปีขึ้นไป                      จำนวนผู้ป่วยHome  Ward   จำนวนผู้สูงอายุ  และข้อมูลอื่น ๆทางสุขภาพที่สำคัญ

                   3.ชี้ให้เห็นว่าการดูแลโรค 5 กลุ่มโรค     ได้แก่   โรคระบบทางเดินหายใจ      ระบบทางเดินอาหาร   ระบบกล้ามเนื้อ    โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง   จิตเวช(โดยการทำคู่มือรองรับ)   สามารถดูแลได้ที่สถานีอนามัย โดยมีให้มีพยาบาลที่อาสามาอยู่กับเราที่สถานีอนามัย

                   4.ชี้ให้เห็นว่าประชาชนที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลต้องเสียค่าใช้จ่าย เสียเวลา  แล้วทำไมเราไม่พัฒนาสถานีอนามัยของเราให้สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆที่ต้องไปโรงพยาบาลเล่า  แล้วถ้าทำ  จะต้องทำอย่างไร  แล้วจึงชวนให้ประชาชนร่วมพัฒนาด้วยการ ร่วมลงขัน  2/ บาท/คน/เดือน ซึ่งการที่ชาวบ้านมาร่วมประชุมถือว่าเป็นทิศทางของการปฏิรูปสุขภาพ โดยชาวบ้านต้องคิดเพื่อการจัดการทางด้านสุขภาพว่าเขาจะต้องช่วยเหลือตนเองในเรื่องสุขภาพอย่างไรโดยต้องคิดใหม่ ทำใหม่    Rethink   Reform     Redesign

Retool   Retrain   ทำให้ชาวบ้านเห็นประโยชน์ร่วมกัน   มาร่วมกันออกแบบ และนำเสนอทุกหมู่บ้าน

                   5.ต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยเปลี่ยนที่เราก่อน  การรักษาเราต้องเก่ง  (มีCPG) ด้านการส่งเสริม  ป้องกัน  ฟื้นฟู   ระบาดวิทยา   ต้องมีการพัฒนาความรู้ 

                   6.การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้นในการอบรม อสม.และเจ้าหน้าที่  และมีการคืนข้อมูลสู่ชุมชน

                   7.การบริหารจัดการ  ต้องมีความสัมพันธ์ การร่วมมือกัน  ทั้ง 3 ภาคส่วนคือ  อปท.  ภาครัฐ และภาคประชาชน  เกิดเป็นระบบสุขภาพที่พอเพียง  คน เงิน ของ

                   8.ทีมบุคลากรในระบบมีน้อย  สร้างทีมบุคลากรนอกระบบ มีการสร้างนักกายภาพบำบัดภาคประชาชน พยาบาลภาคประชาชน พยาบาลจิตเวชภาคประชาชน

-  ตัวชี้วัดความสำเร็จ KEY SUCCESS FACTOR

                    1.ผู้บริหารทุกระดับสนับสนุน  ติดตามอย่างจริงจัง

                   2.ทุกหน่วยงานทุกระดับมีแผนพัฒนา รพ.สต.(สั้น กลาง ยาว ) วางแผนอย่างเป็นระบบ

                   3.เริ่มที่ เตรียมความพร้อม  ชุมชนสมัครใจ ร่วมมือ

                   4.ประชาคม(ใช้กระบวนการบอกข้อมูล สถิติต่างๆ ดังที่ได้กล่าวข้างต้น) แล้วให้ประชาชนคิดว่าจะพัฒนาอย่างไรต่อไป

                   5.พัฒนาคุณภาพ   ภาพลักษณ์    ร่วมมือกันทำงานเชิงรุก

                   6.เชื่อมโยง รพ.สต.กับโรงพยาบาลแม่ข่าย

 -          โอกาสของพวกเรา

1.สร้างศักดิ์ศรีของมนุษย์  ประชาชนเป็นเจ้าของ

2.การเข้าถึงบริการคุณภาพ

3.บริการสาธารณสุขแบบบูรณาการอย่างแท้จริง  ครอบคลุม 4 มิติทางสุขภาพ  และ 6 มิติทางสังคม

4.ลดค่าใช้จ่ายมหาศาล

5.สร้างศักดิ์ศรีและศักยภาพของชาวสาธารณสุขในระดับตำบล  อำเภอ

6.สร้างทีมสุขภาพอย่างแท้จริง

-  ทำให้ประชาชนนำไปสู่การพึ่งตนเอง  พอเพียง  มีภูมิคุ้มกัน(ชุมชนเข้มแข็ง)  ความรู้สุขภาพ

-  ต้องมีคุณธรรมของผู้ให้บริการ   ผู้รับบริการ และในชุมชน

จงสร้างศรัทธาและสร้างความไว้วางใจกับประชาชนก่อนเสมอ

คำสำคัญ (Tags): #รพ.สต.
หมายเลขบันทึก: 390614เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2010 00:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท