พลาย
พลายพิชัย พลาย ิศิริอรรถ

กว่าจะมาเป็นเส้นไหม


กว่าจะมาเป็นเส้นไหม

                                      

กว่าจะมาเป็นเส้นไหม

            บันทึกนี้เป็นบันทึกที่มีความตั้งใจอยากจะเขียนมากเป็นพิเศษเพราะเป็นเรื่องราวใกล้ตัวที่ถูกมองข้ามมานาน นั่นก็คือเรื่องของภูมิปํญญาท้องถิ่นที่ถือว่าเป็นมรดกตกทอดที่ถูกถ่ายทอดแบบคนสู่คนรุ่นสู่รุ่น นั่นก็คือเรื่องราวของเส้นไหมที่ถูกนำมาถักทอเป็นเครื่องห่อหุ้มร่างกายให้หายหนาวและปกปิดสภาพความจริงที่ไม่น่ามองของคนเรา

       เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นที่นี่ หมู่บ้านไหมไทยเฉลิมพระเกียรติ บ้านหว่านไฟ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ดไม่ไกลนัก ได้พลขับอย่างครูเป้ และผู้ชำนาญทางอย่างครูพี่ใหญ่ หลังจากล้อเคลื่อนจากโรงเรียนประมาณสามสิบนาทีกว่า ๆ ก็ถึงทางเข้าหมู่บ้านอันเป็นที่หมายใฝ่ไปเรียนรู้

นี่ไงหละที่หมายปลายทางที่มาถึง ตรงนี้เป็นอาคารสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์

คุณยายสะอาด  ฉวีโรจน์ ประธานศูนย์ และทีมงาน(หนึ่งท่าน) ทำหน้าที่เป็นวิทยากรนำพาพวกเราลัดเลาะเรียนรู้ไปตามรั้วบ้าน ใต้ถุน ริมทาง และที่กว้าง เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของไหมอย่างภาคภูมิทั้งความรู้และจิตใจของการเป็นผู้ให้

            เริ่มต้นบทเรียนกันเลยคุณยายเริ่มเล่าเรื่องตั้งแต่ขั้นตอนเเรกของการเตรียมการผลิตอาหารของหนอนไหมนั่นก็คือการปลูกต้นหม่อน

          ตามด้วยชมโมเดลอุปกรณ์การผลิตผ้าไหมแบบครบถ้วนกระบวนความ ไล่เรียงไปตั้งแต่ต้นจนจบ


           จากนั้นก็เดินตามเส้นทางการเรียนรู้ ตามฐานการเรียนรู้ที่เรียงรายอยู่สองข้างทางในหมู่บ้านนั่นเอง

           คุณยายยังคงติดตามให้คำแนะนำอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยตลอดเส้นทางอย่างดีเยี่ยม

          จากนั้นก็ไปดูของจริงกันครับ

หนอนไหมตัวเป็น ๆ ครับ  ชินเมโจได๋

คำเตือนใครกลัวหนอนโปรดรีบผ่านเลยไปครับ

เด็ก ๆ ลองเก็บใบหม่อนอาหารอันโอชะของเหล่าตัวหนอนที่นอนรอคนมาป้อน

       เมื่อวันเวลาหมุนเปลี่ยนเวียนไปจากหนอนไหมกลายเป็นดักแด้เหลืองอร่าม

          คุณยาย(ยัง)สาวไหมให้ดูอย่างช่ำชองด้วยประสบการณ์ที่ยาวนาน

ลองสาวดูบ้างอยากง่ายขนาดไหน

 

กว่าจะได้ออกมาเป็นเส้นไหม ที่สวยงามอย่างที่เห็น กว่าจะเป็นผ้าไหมให้สวมใส่ กว่าจะเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินเงินทองได้ คงต้องใช้ทั้งความรักและความใส่ใจในการทำ

        บันทึกนี้เป็นทึกทึกที่ถือว่ายาวมาก(ด้วยภาพ)บันทึกหนึ่งที่พยายามเขียน แต่หากเทียบกับกระบวนการที่จะได้มาซึ่งหนึ่งเส้นนั้นคงเทียบกันไม่ติด ขอยกย่องสรรเสริญชื่นชมเหล่าผู้สืบทอดภูมิปัญญาทั้งหลายที่ยังคงอยู่ทั่วทุกย่อมหญ้าของประเทศ และได้ถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่นลูกรุ่นหลานเหลนโหลนหล่อนกันต่อไป...

หมายเลขบันทึก: 389525เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2010 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีครับ  เราช่วยกันนำเด็กไปเรียนรู้ก็ถือได้ว่าได้ทำหน้าที่ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ถือได้ว่าเป็นพระคุณแด่ภูมิปัญญาทั้งหลายครับ  ถ้าเราไม่ให้เด็ก ๆ รับรู้  เรื่องเหล่านี้ก็จะสูญหยไปแน่นอน  ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

สวัสดีค่ะคุณครูพลาย

   หายไปนาน  นึกว่าไปไหนที่แท้ก็มาเลี้ยงหม่อนอยู่นี่เอง เคยเลี้ยงเหมือนกันค่ะ ยากมาก กว่าจะมาเป็นผ้าไหมถอดใจตั้งหลายครั้งค่ะ

สวัสดีครับ คุณธนา นนทพุทธ

คงต้องออกแรงช่วยกันคนละนิดละหน่อย

ขอบคุณเช่นกันครับ

สวัสดีคุณยาย

เคยมีคำพูดที่ว่า ครูคือคนที่เก่งในเรื่องนั้น ๆ

เห็นด้วยอย่างมากครับ ครูที่เราไปพบท่านในครั้งนี้

ท่านเก่งเรื่องเลี้ยงไหมและการผลิตผ้าไหมครับ

ภูมิปัญญาการเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม

นับว่าสุดยอดจริงๆ... ครูพลายว่ามั๊ย?

จากหนอนไหม..กระดึ๊บๆๆๆๆๆ

มาเป็นผ้าไหมแสนสวย..ยาวไกลเหลือเกิน

ซื้อผ้าไหมแท้ๆแต่ละครั้งไม่เสียดายตังค์เลย..ค่ะ

สวัสดีค่ะน้องพลาย

อาจสามารถอย่างแรงของเรามีภูมิปัญญาที่ไม่น้อยหน้าใครเลยนะคะ...คิดถึงน้องเสมอค่ะ

สวัสดีครับ

อย่างที่บอกครับดาจสามารถอย่างแรง

เมืองสระบุศย์ยังมีภูมิปัญญาที่ยังไม่ถูกถ่ายทอดอีกเยอะครับ

ต้องช่วยกันคนละไม่ละมือ

คิดถึงเช่นกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท