" สื่อพื้นบ้าน...สร้างสุข" ( ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้น)


ความสุขในชุมชน

            เมื่อต้นปี  2553  โรงพยาบาลสองได้ทำกิจกรรมอย่างหนึ่งร่วมกับชุมชนในชื่อโครงการ " พ่ออุ๊ย  แม่ใหญ่  ใส่ใจลูกหลานสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น" โดยได้รับทุนอุปถัมจาก  สสส.   โดยทางมหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมแห่งเอเซียจัดทำเป็นโครงการ  สื่อพื้นบ้านสร้างสุขภาวะเยาวชน  เมื่อการดำเนินกิจกรรมครบตามกระบวนการและได้ทบทวนถึงผลลัพธ์ที่ได้  ภาพที่เกิดในมโนคติเป็นภาพการเก็บเกี่ยว  ความสุข  สวยงาม  ทีละเล็ก  ทีละน้อย ตามเส้นทางเดิน และอยากร่วมแบ่งปันให้กับทุกคน

" สื่อพื้นบ้าน...สร้างสุขภาวะคนหลายวัย" ( ตอนที่ 1 จุดเริ่มต้น)

เริ่มจากรัก

      ชมรมคนฮักสุขภาพ  ตำบลบ้านกลาง  อำเภอสอง  เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ร่วมกันทำกิจกรรมหลายๆอย่าง  นับตั้งแต่ออกกำลังกาย  ขายขยะจนเป็นทองคำ  ทำปุ๋ยใช้กัน ปลูกผักชีวภาพ  และเล่นดนตรีพื้นเมือง  ซะล้อ  ซอ  ซึง   เดิมทีการเล่นดนตรีเป็นแบบเพื่อนสอนเพื่อน  นานวันท่านก็อยากเล่นให้เป็นเพลงที่ไพเราะ  มีท่วงทำนองที่ถูกต้อง จึงต้องการเรียนรู้จากมืออาชีพ  ได้มีครูสอนดนตรีไทยในหมู่บ้านท่านทำงานอยู่ที่ต่างจังหวัดและจะกลับบ้านทุกวันศุกร์  จึงได้จัดกลุ่มเล่นกันทุกวันเสาร์อาทิตย์ตอนเย็นและทำกันอย่างต่อเนื่องจนสามารถเล่นเป็นวงได้   ผลจากการทำกิจกรรมเล่นดนตรีพื้นบ้านในกลุ่มผู้สูงอายุ  ร่างกายที่มีอาการปวดเมื่อยหายไป  นิ้วมือที่แข็งเกร็งกลับเป็นนิ้วมือที่สามารถบรรเลงเพลงผ่านเครื่องสายได้อย่างไพเราะ   ดังนั้นแล้วการเล่นดนตรีเป็นการช่วยขยับข้อต่อ  กล้ามเนื้อ  เส้นเอ็นต่างๆได้อย่างนุ่มนวล   ลดการบาดเจ็บและสร้างความแข็งแรงได้เป็นอย่างดี 

                  

      อาการซึมเศร้า  และการเก็บตัวของผู้สูงอายุก็ได้หายไป     จากการที่กลุ่มได้มาพบกันอย่างสม่ำเสมอ  พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาในชีวิต  และร่วมกันทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย    สร้างความสุขทางด้านจิตใจด้วยเสียงเพลง   เมื่อลูกหลานในครอบครัวได้มาเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ   ได้ฟังท่านเล่นดนตรี  ได้รับการชื่นชมจากลูกหลาน  ความอยากรู้อยากเห็นของเด็กโดยธรรมชาติก็จะเข้าไปขอเรียนขอรู้จากปู่ย่าตายาย   ดนตรีจึงเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างลูกหลานได้อย่างประณีตเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดจากความสุนทรียทางอารมณ์    

                    

         ความสุขนี้เกิดขึ้นในบ้านแต่สิ่งนี่ไม่ได้เกิดขึ้นกับบ้านทุกหลังในกลุ่มชมรมผู้สูงอายุเนื่องด้วยความแตกต่างของการดำเนินชีวิตแต่ละครอบครัว   จึงมีความต้องการที่จะแบ่งปันและเผื่อแผ่ความสุขที่ได้รับให้กับกลุ่มเพื่อนสมาชิกบ้าง   และได้ย้ายความสุขออกมาจากบ้าน   รวมกันฝึกเล่นดนตรีในชุมชนโดยมีจุดศูนย์กลางการพบปะที่วัด   จัดเวลาให้สะดวกต่อทั้งผู้สูงอายุและลูกลานที่จะได้มาพบกัน   เมื่อมีกลุ่มเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง    ชุมชนจึงเกิดความสนใจ  เด็กๆในหมู่บ้านเริ่มที่จะเดินเข้ามาหาผู้สูงอายุ   สนใจ   ซักถาม  พูดคุย  ขอเล่นด้วย  แบ่งปันความสุขร่วมกันระหว่างผู้สูงวัยและเด็กน้อย    ความสุขทางใจเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้สูงอายุ   ความรู้สึกเหงากับสภาพที่ต้องอยู่บ้านตามลำพังหายไป  ถึงแม้ไม่มีลูกหลานอยู่ในบ้านแต่ก็มีลูกหลานในชุมชนมาอยู่ด้วย   พลังแห่งความรัก  ความเอื้ออาธร    ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวชนของผู้สูงวัย   เกิดขึ้นกับชุมชนนี้อย่างมากมายและพร้อมที่จะแบ่งปันให้กับสังคมต่อไป

                      

  

( ติดตามตอนที่ 2 ต่อไปนะคะ)                           พัชรินทร์_OM /sha  song

 

คำสำคัญ (Tags): #เริ่มจากรัก
หมายเลขบันทึก: 389503เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2010 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

ดนตรีพื้นบ้านในหลายพื้นที่ถูกกลับนำมาใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุอย่างได้ผลมาก ๆ เลยครับ

ผมเพิ่งไปที่บ้านถืมตอง จ.น่าน มา

เมื่อสองปีก่อนผู้สูงอายุกลุ่มหนึ่งนำดนตรีพื้นบ้านมาเป็นดนตรีประกอบการออกกำลังกาย

มีการคิดท่าออกกำลังกายใหม่ โดยประยุกต์จากท่าทางการฟ้อนแบบพื้นบ้าน

ได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุมากเลยครับ

ผู้สูงอายุจำนวนมากสุขภาพดีขึ้นจากการออกกำลังกายในแบบฉบับที่เขาคุ้นเคย

มีโอกาสออกจากบ้านมาพูดคุยกัน

จะติดตามอ่านตอนต่อไปนะครับ

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ เรื่องราวยังมีการดำเนินอีกหลายบท ชวนติดตามนะคะ / พัชรินทร์

เคยเรียนดนตรีไทย ( ขิม ) ร.ร. นารีรัตน์ ...ชอบมาก ๆ ค่ะ ยังอยากจะไปเรียนที่ชุมชนวัดบ้านกลางเหมือนกัน ก็ยังหาโอกาสไม่ได้เลยค่ะ .....noot LR

  • สวัสดีค่ะ
  • สื่อพื้นบ้านแสดงถึงมิติทางจิตวิญญาณอย่างแท้จริง
  • อยากชวนคุณหนานเกียรติ Ico32  แวะมาเยี่ยม เมืองสองค่ะ ยินดีต้อนรับค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท