วิธีึิคิดและยุทธศาสตร์การจัดการคณะวิชาแนวใหม่



          เช้าวันที่ ๒๔ ก.ค. ๕๓ ผมโชคดี ได้พบ ดร. ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ของ มช.   ได้คุยกันเรื่องความก้าวหน้าของวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี   ผมจึงได้เรียนรู้วิธีคิดและยุทธศาสตร์การทำงานของสถาบันที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก

          ผมได้เรียนรู้วิธีคิดและดำเนินการผลิตบัณฑิตเชื่อมโยงกับชีวิตจริงในท้องถิ่น ภาคเหนือตอนบน ๘ จว. ซึ่งมีรายได้ปีละ ๒ แสนล้าน   แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ๆ ๓ ส่วน คือ manufacturing ตรึ่งหนึ่งหรือ ๑ แสนล้าน   อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม   ที่จะต้องผลิตบัณฑิตที่มีขีดความสามารถสูงตามความต้องการ ป้องกันเขาย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น  

          อีก ๑ ใน ๔ คือ ๕ หมื่นล้านของรายได้มาจากการท่องเที่ยว   และอีก ๑ ใน ๔ เป็นภาคจิปาถะ เช่นหัตถกรรม   วิทยาลัยตีโจทย์ทำงานสนองภาพใหญ่ๆ ๓ ส่วนนี้  

          ได้ร่วมมือกับ British Council ผลิดบัณฑิตหลักสูตรนานาชาติที่ภาษาอังกฤษดีเลิศ   โดย BC รับผิดชอบการสอนและสอบภาษาอังกฤษ   มีการสอบ English Proficiency เป็นระยะๆ ใน ๔ ปี   ก่อนจบได้ปริญญาจะต้องสอบผ่านได้ proficiency ระดับสูง   มิฉนั้นไม่จบ  

          ผมได้เรียนรู้ความเข้าใจ นศ. ยุคใหม่   ที่มีธรรมชาติสมาธิสั้น และติดนิสัย multitasking   มี “เพื่อน” มาชวนคุยทางคลื่นอยู่ตลอดเวลา อาจารย์ห้ามไม่ได้   จึงต้องมีกุศโลบายในการดึงดูดให้ นศ. เรียนในห้องเรียน ในรูปแบบที่ไม่ใช่แบบที่เราคุ้นเคย


           ผมได้เรียนรู้วิธีเคาะประตู ๓๕ รร. เด่นที่มีนักเรียนคุณภาพหรือพื้นความรู้และแรงบันดาลใจสูงต่อการเรียน   (เป็นส่วนหนึ่งของ รร. ที่รัฐหนุนให้เป็น รร. ชั้นเลิศ ๕๐๐ รร. ทั่วประเทศ)    เวลานี้ต้องมีวิธีดึงดูดความสนใจ นร.   เพราะตลาดอุดมศึกษามีการแข่งขันสูงมาก   ถ้าแข่งขันแย่งชิงเด็กดีไม่เป็นก็จะได้แต่ นศ. ที่ต้องการปริญญาแต่ไม่สนใจเรียน

          ด้วยความประทับใจ ผมได้เสนอท่านนายกสภา มช. ศ. นพ. เกษม วัฒนชัย ให้เชิญ ดร. ณพศิษฏ์ มาเล่าวิธีบริหารคณะแนวใหม่    ที่เลี้ยงตัวได้จากการทำงาน ไม่ต้องพึ่งงบประมาณแผ่นดิน   ท่านอุปนายกสภา ศ. นพ. อาวุธ ศรีสุกรี ก็ชื่นชมวิธีบริหารงานแนวใหม่ของ ดร. ณพศิษฏ์

 

 

วิจารณ์ พานิช
๑ ส.ค. ๕๓ 


         
         

หมายเลขบันทึก: 389318เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2010 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบ และอยากเรียน สาขาการจัดการความรู้ มช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท