เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

การลงทุน


การลงทุน

             ประเด็นเรื่องการลงทุน   ทั้งในแง่ของการส่งเสริม การคุ้มครอง และการเปิดเสรีการลงทุน ซึ่งทั้งสามประเด็นสอดคล้องกับยุทธศาสตร์/นโยบายเศรษฐกิจของไทยที่ต้องการส่งสัญญาณเชิงบวกต่อนักลงทุน ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาค    การส่งเสริมการลงทุนซึ่งเป็นนโยบายที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทยในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมา หน่วยงานที่รับผิดชอบคือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ทำหน้าที่ให้สิทธิประโยชน์ทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีสำหรับการลงทุนไม่ว่าจะเป็นของคนไทยหรือต่างชาติก็ตามในสาขาที่รัฐบาลส่งเสริม อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้ การลดหย่อนอากรนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ    

            อีกเรื่องหนึ่งที่จริงๆ ไทยทำมานานแล้ว แต่พวกเราอาจไม่ค่อยคุ้นเคยกันสักเท่าไรคือความตกลงคุ้มครองการลงทุน ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2504 ไทยมีความตกลงแล้วกับ 41 ประเทศ (รวม FTA กับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) ใจความสำคัญคือการให้หลักประกันว่า รัฐบาลจะไม่ "รังแก" นักลงทุนและการลงทุนของประเทศคู่ภาคีแต่จะปฏิบัติกับเขาอย่างเป็นธรรม หลังจากที่เข้ามาจัดตั้งกิจการแล้ว (post-establishment) หมายถึง การบริหารจัดการ การดำเนินการ การจำหน่ายจ่ายโอนการลงทุน (ไม่ครอบคลุมการจัดตั้งกิจการ การขยายหรือควบรวมกิจการ หรือ pre-establishment) ตัวอย่างของพันธกรณีการให้ความคุ้มครองการลงทุน อาทิ การให้การปฎิบัติเยี่ยงคนชาติ (national treatment) การให้การปฎิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (most-favoured nation treatment) การจ่ายค่าทดแทนกรณีจราจลหรือการใช้กำลังทหารที่สร้างความเสียหายต่อการลงทุน การจ่ายค่าชดเชยหากมีการเวนคืน การอนุญาตให้โอนเงิน และเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาตินำเรื่องเข้าสู่กลไกระงับข้อพิพาทรัฐ-เอกชน ผ่านอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ทั้งนี้ โดยมีคณะกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบการให้ความคุ้มครองการลงทุนเป็นกลไกกลั่นกรอง 

          การเปิดเสรีการลงทุนเป็นการผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตให้นักลงทุนของแต่ ละฝ่ายไปลงทุนในประเทศอีกฝ่ายหนึ่งได้ โดยผ่านการเจรจาและจัดทำความตกลง ซึ่งเป็นเรื่อง ค่อนข้างใหม่สำหรับไทย  โดยที่การเปิดเสรีการลงทุนเป็นเรื่องใหม่สำหรับไทย ยังมีประเด็นให้พวกเราช่วยกันขบคิด หลายประการในฐานะที่เป็นประเทศผู้รับการลงทุน บางส่วนเห็นว่าไทยควรเปิดเสรีลงทุนจากต่างประเทศ เพราะช่วยสร้างงาน กระจายรายได้ และทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุน แต่ บางส่วนก็เห็นว่า ไม่ควรเปิดเสรีการลงทุน มิฉะนั้นนายทุนต่างชาติจะเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ และควรให้นายทุนไทยเท่านั้นเป็นผู้ประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ ไทยมีความพร้อมมาก-น้อยเพียงไร สาขาไหนควรเปิดหรือไม่ควรเปิดอย่างไร และต้องพิจารณาพร้อมกันด้วยว่า ไทยเองก็มีศักยภาพ  พร้อมแล้วหรือยังที่จะให้ ประเทศผู้ลงทุนในต่างประเทศมาร่วมลงทุนด้วยด้วย   

             และในขณะนี้ประเด็นในเรื่องการเปิดเขตการค้าเสรีร่วมกับสหรัฐก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าติดตามเป็นอย่างมากทั้งนี้มีทั้งเสียงที่วิจารณ์และสนับสนุนที่มา และนอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องของยุทธศาตร์สร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน(ACMECS)ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าจับแนวโน้มถึงความเป็นไปได้

  ที่มา      www.mfa.go.th      

              www.boi.go.th      

หมายเลขบันทึก: 38889เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2006 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณนะคะสำหรับบทความดีๆ เป็นประโยชน์มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท