บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ (15) ฟังเรื่องเล่า ถอดบทเรียนจังหวัดลำปาง


 

เรื่องเล่าของจังหวัดลำปาง ส่งคุณหมอเกียรติ (ทพ.ธวัชชัย ปินเครือ) ออกมาเล่า แบบว่า หมอเกียรติบ่นนำเรื่องเล็กน้อย "ลำปางเราแย่งกันคุย ... ไม่ได้ข้อตกลงร่วมอะไรกันเลย สรุปให้ผมออกมา ... เพราะฉะนั้น สิ่งที่ผมจะพูดต่อไปนี้ ก็ขอให้ถือว่าเป็นข้อตกลงร่วมก็แล้วกันนะครับ เพราะอะไร นั่นก็คือ หมอเกียรติบอกต่อว่า ... ปีที่แล้วบอกไปว่า 1 ตำบล 1 ชมรม หาว่าเราพูดไปเอง แต่แล้วก็มาร่วมกันทำทั้งจังหวัด (ลำปางเขาก็อย่างนี้ ใครพูดอะไรออกไป ก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบ) ... วันนี้ พูดอะไรออกไป ก็ถือว่า ร่วมกันรับผิดชอบนะครับ (... เรื่องนี้ไม่เป็นเป็นไร สำนักฯ ได้เปรียบ เพราะว่า มีผู้ร่วมทำงานเต็มร้อย อิอิ)

สรุปประเด็นบทเรียนลำปางก็คือ

จังหวัดลำปางทำมาตั้งแต่ปี 2549 ถึงตอนนี้ครบทุกอำเภอ รวมทั้งหมด 29 ชมรม มีประวัติความเป็นมา หรือ time line ในหลายช่วงตอนที่เล่าไปหลายครั้ง และเมื่อปลายปี 2552 ที่โรงแรมริชมอนด์ มีดารา 5 ท่าน ขึ้นไปบนเวที ... ทั้ง "อั้ม ตุ๊กกี้สามช่า ส้มเช้งสามช่า แพนเค้ก กุ๊บกิ๊บแฟนมาริโอ" ก็ขึ้นเวทีไปด้วย (ใครคือใคร ก็ไปถามลำปางดูนะคะ)

ตรงนั้นเป็นประวัติความเป็นมา และเป็นสิ่งที่เราได้ดำเนินมากับชมรมผู้สูงอายุของลำปางได้ดีทีเดียว และเล่าไปว่า ปัจจัยเราทำอย่างไร และเราได้ขยายชมรมอย่างไร

สรุปแล้ว ครั้งนี้ เรามาถอดบทเรียน ออกมาได้ทั้งหมดเป็นโมเดล ที่เรียกว่า โมเดลจังหวัดลำปาง ... งานนี้มีแท่น flipchart กิตติมศักดิ์ อ.สุพจน์ ถือให้ค่ะ

เราเรียกเป็น โมเดลจังหวัดลำปาง เรียกว่า Five-Pies คือ 5Pies เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้ดำเนินงานได้สำเร็จ ตรงนี้ก็คือ

5P

P – Person คือ คน ไม่ว่า คนที่จะเข้าไปทำงาน หรือว่าคนที่เราจะเข้าไปทำงานด้วย จะต้องเป็นคนที่ถูกเลือกขึ้นมา ... ความสำเร็จของลำปาง แต่ละชมรมเป็นเรื่องของปัจเจก มันไม่ซ้ำแบบใคร เพราะว่า แต่ละคนก็จะมีรูปแบบเฉพาะตัวที่ทำให้งานสำเร็จ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราคิดว่า เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะเป็นบทเรียน คือ คนที่เข้าไปทำต้องรู้ ว่า เราจะเข้าไปคุยกับใคร แกนนำคนที่เราจะ contact ด้วย ควรจะเป็นใคร หรือว่า อปท. ที่เราควรจะเข้าไป contact ด้วย ควรจะเป็นใคร ควรจะเป็นคนที่เห็นความสำคัญของงานของเรา หรือว่าเป็นคนที่อาจจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับใคร

P ที่สอง – Problem หมายถึง สิ่งที่เราจะนำมาเป็นข้อมูล ในการคืนให้กับชมรมผู้สูงอายุ หรือเป็นข้อมูลที่เราจะนำเสนอให้กับ อปท. เพื่อมองให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหา ไม่ได้หมายความว่าผู้สูงอายุเป็นปัญหา แต่ว่าเป็นการนำคืนข้อมูลให้ฉุกคิดว่า เป็นสิ่งที่เราจะต้องมี action อะไรสักอย่างที่จะต้องทำ

ยกตัวอย่างเช่น พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็เป็นข้อมูลอย่างหนึ่งที่เรานำกลับสู่ อปท. หรือ ชมรมผู้สูงอายุ เพื่อที่จะได้เกิดกิจกรรมต่างๆ ในชมรมผู้สูงอายุขึ้น

อันที่สาม P – Participation ก็คือ ความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นของตัวเรา ชมรม หรือ อปท. ส่วนในรายละเอียด ไปถามทีมงานชาวลำปางได้

P ตัวที่สี่ Period สำคัญ เพราะว่า เมื่อไรเราควรจะเข้าไปในชุมชน เมื่อไรที่เราจะเข้าไปใน อปท. เวลาสำคัญมาก เรามีปัญหาตั้งแต่ปี 2549-2550 เพราะว่าเข้าไปแล้ว ไปถึงปุ๊บ พอไปดิวกับ อปท. ปรากฏว่า เขาทำแผนฯ ไปแล้ว ไม่มีงบฯ ให้กับเรา เราไปผิดเวลาเอง อีกอย่างหนึ่ง เข้าไปในชมรมผู้สูงอายุ ไม่มีใครเลย เหลืออยู่ คนหรือสองคน เพราะอะไร เพราะว่าเป็นช่วงที่เขาต้องเลี้ยงหลาน เพราะว่าคนอื่นๆ ไปทำไร่ทำนากันหมด ปฏิทินชุมชนสำคัญมาก เมื่อไรเราควรจะเข้าไป เมื่อไรเขาจะว่างให้เรา จะเข้าไปเวลาไหน

อปท. เมื่อไรจะเข้าไป ก็คือ ก่อนที่เขาจะทำแผน กองทุนสุขภาพตำบลมีเงินอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีแผนเข้าไป ไม่ได้ไปนำเสนอ เงินนั้นก็นำออกมาใช้ก็ไม่ได้ เหมือนกัน เราต้องเข้าไปให้ถูกที่ ถูกเวลา

P ตัวที่ห้า Personality สำคัญ เพราะว่าคนแต่ละคนที่เราเลือกมาจากลำปาง 12 คน ไม่ธรรมดา แต่คนที่มาไม่ปกติ (เหอะ เหอะ ... ทำเอาตกใจ นึกว่า ทีมลำปางผิดปกติ) ... เพราะเราพบว่า ทุกคนมีบุคลิกภาพเฉพาะตัว คือ Personality ที่จะเข้ากับคนได้ดี เป็นมิตร จะทำให้ทำงานได้ง่าย และสำเร็จ

พี่ยาก็จะใช้คำนี้ ว่า บุคลิกคนลำปาง ดีมาก ถึงมากที่สุด ... ทำงานด้วยแล้วมีความสุข พี่ยาอยู่ศูนย์ฯ เขต ที่เชียงใหม่ แต่ถ้ามาทำอะไร ก็จะมาลำปาง เพราะว่า คนที่ลำปางดี ถึงดีที่สุด (ฮา ......... ช่วยยก ... ให้เลย)

นั่นคือ Personality นี่เป็นสิ่งที่เราได้เรียนรู้ว่า ถ้าเราจะทำงานให้สำเร็จ เราก็จะต้องไปค้นหาคนแบบนี้ให้ได้

อย่างพี่นันทริกา เป็นพยาบาล แต่เธอเข้ามาทำงานทันตฯ แบบเหมือนว่าเธอเป็นทันตบุคลากรเอง ... หาคนแบบนี้ให้ได้ในที่อื่นๆ รับรองว่างานสำเร็จแน่ ... ตอนนี้ครบ 29 ชมรมฯ แล้ว ต่อไปเราจะขยายต่อให้มีที่ทำงานมากขึ้น ก็กะว่า จะไป Xerox พี่นัน แจกทุกอำเภอ

อีก 3 ตัวสุดท้าย เป็นตัวที่สำคัญมาก ได้ยินจากหลายจังหวัดบอกว่า การที่งานจะต่อเนื่องได้ เราจะต้องมีการทำให้มัน maintain คือ ทำให้มันคงอยู่ ถึงแม้จะเกิดกิจกรรมเกิดขึ้นแล้ว ในชมรมฯ ต่างๆ จะต้องมีการ maintain ไว้ และจะต้องมีการ monitor ไปเรื่อยๆ สิ่งที่จะให้มีการ maintain หรือ monitor ได้ ก็ต้องมี 3 ตัวนี้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ 5 Pies คือ

  • ต้องมี Indicators ตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่า เป้าหมายเราวางไว้เป็น step
  • หลังจากนั้นไปประเมิน มี Evaluation
  • สรุปสุดท้าย [Summary] ในกระบวนการทำงานต้องมีการสรุปว่า ไปถึงเป้า หรือไม่ เกิดอุปสรรคตรงไหนบ้าง เพื่อที่จะได้มาพัฒนาปรับปรุงให้กิจกรรมของเราได้ไปถึงเป้าหมาย

นี่คือ สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการทำงานของเรา ก็คือ 5PIES

รวมเรื่อง บทเรียนการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

   

หมายเลขบันทึก: 388455เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2010 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท