สรุปบันทึกการพูดคุยทางวิชาการระหว่าง รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ เเละ คณะ กับ UNHCR


เนื่องด้วยวันที่ 16 สิงหาคม  2553 ตัวเเทนของ UNHCR ได้พบปะเเละเเลกเปลี่ยนเชิงวิชาการเกี่ยวกับคนไร้รัฐในประเทศไทย กับ รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร ที่ห้อง 221 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีประเด็นดังนี้

1. ข้อมูลสถิติคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ทาง UNHCR ต้องการคำปรึกษาเรื่องจำนวนคนไร้รัฐ (Stateless) โดยได้ทราบจำนวนตัวเลขจากข้อมูลในอินเทอร์เน็ตว่ามีประมาณ 3.5 ล้านคน จึงอยากทราบที่มาเเละจำนวนสถิติที่เก็บอยู่ เนื่องจากในขณะนี้ UNHCR ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเรื่องคนไร้รัฐ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการป้องกันสภาวะไร้รัฐ เช่น การจัดการสภาวะไร้รัฐของผู้ที่มีปัญหาดั้งเดิม เเละ การจดทะเบียนเกิดในค่ายผู้ลี้ภัย ลดความไร้รัฐ เเละคุ้มครองสุิทธิพื้นฐานของคนไร้รัฐ

• ปัญหาเรื่องความไร้รัฐในประเทศไทยต่างจากบริบทต่างประเทศในยุโรป เพราะประเทศไทยมีท้งคนไร้รัฐ เเละคนไร้สัญชาติ เเต่ทางยุโรปมีเเต่คนไร้สัญชาติ เพราะมีการบันทึกในทะเบียนราษฎรเเล้วท้งหมด จึงไม่มีคนไร้รัฐ

• คนไร้รัฐ (Stateless) คือคนที่มิได้รับการยอมรับในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร หรือเป็น "พลเมือง" ( Civilian) ของรัฐใดๆเลย เช่น คนไร้รากเหง้า ในกรณีนี้ ไม่สามารถประเมิน หรือสำรวจตัวเลขได้ ยกเว้นจะมีการทำการสำรวจโดยใช้ระบบฐานข้อมูลประชาชน

• คนไร้สัญชาติ (Nationalityless) คือ คนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นพลเมือง (Civilian) ของรัฐใดรัฐหนึ่งเเล้ว คือพ้นจากสภาวะไร้รัฐ เเต่ยังไม่มีสัญชาติ ในกรณีของข้อมูล 3.5 ล้าน เป็นข้อมูลของผู้ที่ได้รับการสำรวจเเละบันทึกในทะเบียนราษฎร ถือว่าพ้นสภาวะไร้รัฐเเล้ว เเต่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย

• การเเก้ปัญหา สำหรับคนไร้รัฐคือการทำให้เกิดการบันทึกตัวบุคคลเเละออกเอกสารพิสูจน์บุคคล เพื่อให้พ้นจากการเป็นคนไร้รัฐ เเละขอสถานะให้เป็นคนต่างด้าวผู้มีสิทธิอาศัยชั่วคราว เเละถาวรตามลำดับ

• ส่วนคนไร้สัญชาติ ก็สามารถพัฒนาสัญชาติได้ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการขอสัญชาติไทย การแปลงสัญชาติเป็นไทย การพิสูจน์สัญชาติกับประเทศต้นทาง เเละการใช้ช่องทางทางการทูต (Diplomatic Channel)

• ตัวเลข 3.5 ล้าน เกิดจากการตีความหมายของความไร้รัฐ เเบบมาตรฐานระหว่างประเทศ ซึ่งอาจใช้ไม่ได้กับประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีทั้งคนไร้รัฐ เเละคนไร้สัญชาติ⁃ ประกอบด้วย

- ชาวเขาที่ยังไม่ได้รับการลงรายการสัญชาติ

-ชาวเขาที่ได้รับการลงรายการสัญชาติไทยเเล้ว

⁃ การสำรวจตามระเบียบ 48 (กลุ่มเลข "0")

⁃ กลุ่มคนตกหล่น ไร้รากเหง้า

⁃ ผู้ลี้ภัยในค่าย (กลุ่ม "000")

⁃ แรงงานข้ามชาติ (กลุ่ม "00") มีทั้งที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติเเล้ว เเละรอพิสูจน์สัญชาติอยู่

• UNHCR เสนอว่า ควรมีการจัดจำเเนกข้อมูลเเละค้นคว้าหาตัวเลขของคนไร้รัฐจริงๆ เพื่อสร้างความชัดเจน เเละเพื่อให้ความช่วยเหลือ เเละเพื่อช่วยรัฐบาลลดจำนวนตัวเลขคนไร้รัฐที่เกินจริง โดยขณะนี้ผู้ที่รับผิดชอบอยู่ที่สำนักงานเเม่สอด UNHCR ได้ร่วมมือกับกรมการปกคอรงเเละองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพยายามป้อกันเเละลดสภาวะไร้รัฐ

 

2. คนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติในประเทศไทย มีกลุ่มใดบ้าง

• คนไร้เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล การป้องกัน ทำโดยการจดทะเบียนการเกิด (รับผิดชอบโดยคุณดรุณี)การเเก้ไข ทำโดยการบันทึกตัวบุคคลในทะเบียนราษฎรก่อน เพื่อขจัดความไร้รัฐ เเละพัฒนาสถานะบุคคลต่อไปตามข้อเท็จจริง

• คนสัญชาติไทยที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นคนต่างด้าว เช่น บุคคลบนพื้นที่สูง ปัจจุบันสามารถขอพิสูจน์สัญชาติไทยได้ หรือขอลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา 23

• ราษฎรไทยที่เป็นคนต่างด้าว เกิดในไทย เช่น กลุ่มบุตรของผู้หนีภัยความตายที่อพยพเข้ามานานเเล้ว ที่เกิดในประเทศไทย บุตรของชนกลุ่มน้อย กลุ่มนี้สามารถขอมีสัญชาติไทยได้ เเละได้รับสัญชาติไทย เเล้ว ถ้าอยู่นอกค่ายผู้ลี้ภัย ตามมาตรา 23

• ราษฎรไทยที่เป็นคนต่างด้าว เกิดนอกประเทศไทย ได้เเก่ผู้อพยพ ผู้หนีภัยความตาย ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย เเต่ไม่ได้เกิดในประเทศไทย กลุ่มนี้มีสถานะเป็นคนต่างด้าว โดยมีสถานะการเข้าเมืองต่างกัน ตามเเต่นโยบายเฉพาะกลุ่ม เช่น บางกลุ่มเข้าเมืองถูกกฎหมาย ได้รับสิทธิอาสัยชั่วคราว หรือถาวร บางกลุ่มเข้าเมืองผิดกฎหมายเเละได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิอาศัยชั่วคราว จนถึงกลุ่มที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย เเละไม่ได้รับสิทธิอาศัย การเเก้ปัญหาต้องเเก้ที่สิทธิอาศัยด้วย เเละให้ดำเนินการพิสูจน์สัญชาติกับประเทศต้นทาง ผ่านช่องทางทางการทูต หรือการพิสูจน์สัญชาติอื่นๆ หรือขอเเปลงสัญชาติเป็นไทย กลุ่มนี้อาจจะเเก้ยากที่สุด

• แรงงานต่างด้าว เป็นราษฎรไทย เเม้มิใช่คนสัญชาติไทย เพราะได้รับการบันทึกในฐานข้อมูลทะเบียนราฎรไทย มีบัตรประจำตัวอย่างเป็นทางการ เเละสามารถพิสูจน์สัญชาติกับประเทศต้นทางได้ หากพิสูจน์สัญชาติไม่ผ่าน ก็สามารถร้องขอสิทธิอาศัยชั่วคราว หรือถาวรต่อไป• ทั้งนี้ ผู้แทน UNHCR ตั้งข้อสังเกตว่าว่า ประเทศไทยได้มีความคืบหน้าในการป้องกัน การลดปัญหาคนไร้รัฐ เเละการคุ้มครองสิทธิ เช่น สิทธิในการศึกษา ให้เเก่คนไร้รัฐ ในระดับหนึ่งเเล้ว ยังมีการลดปัญหาคนไร้รัฐ โดยมาตรการทางกฎหมายต่างๆ

 

3. การทำงานด้านไร้รัฐไร้สัญชาติ

• คุณวีรวิชญ์ เเนะนำว่า ได้มีการประสานงานเเะร่วมงานระหว่างกลุ่มนักวิชาการเเละ UNHCR อย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดวันเด็กไร้สัญชาติ การเข้าร่วมประชุมสภาฯ เเละสังเกตการณ์การประชุม รวมทั้งให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ

• กรอบการร่วมมือ น่าจะเป็นการเชื่อมช่องว่างระหว่างในประเทศ กับระหว่างประเทศ เเละเพ่ือร่วมมือกันนำเสนอความก้าวหน้าในประเทศไทย สู่นานาชาติ เนื่องจากรัฐบาล องค์กรเอกชนเเละภาควิชาการได้พยายามดำเนินการเพื่อเเก้ปัญหาเเต่ไม่เป็นที่ รับรู้ในระดับนานาชาติ UNHCR สามารถเข้ามาช่วยประชาสัมพันธ์ Good practices สู่นานาชาติ

• ประเด็นที่ UNHCR สามารถร่วมมือได้ อีกประการหนึ่งคือการสร้างช่องทางการทูตระหว่างประเทศเเละการเชื่อมโยงฐาน ข้อมูลทะเบียนราษฎรระดับภูมิภาคเพื่อป้องกันเเละแก้ไขปัญหาความไร้รัฐ เเละพัฒนาศักยภาพฐานข้อมูลในภูมิภาคนี้ให้มีศักยภาพเท่าเทียมกัน เพื่อตรวจสอบเเละป้องกันมิให้มี de facto statelessness

  •  การสร้างความเข้าใจในระบบกฎหมายไทยแก่คนทำงานที่ไม่เข้ าใจภาษาไทย
  •  การเชื่อมความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างคนทำงานที่เป็นคนในส ังคมไทยและคนนอกสังคมไทย

 

4. รูปแบบการทำงานที่ประชาคมวิชาการดำเนินการอยู่

  • คลินิคกฎหมาย ให้คำปรึกษาด้านสภถานะ เช่น ที่เเม่อาย เเละ Bangkok Logal Clinic
  • ฐานข้อมูลประชาชน (People's Database)
  • การติดตามการบัคับใช้กฎหมาย เเก้ไขกฎหมาย เเละออกกฏหมายเพื่อเเก้ปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติ
  • การจดทะเบียนการเกิด
  • การ ร่วมมือกับกรมการปกครองเเละสำนักทะเบียน (คุณวีนัส สีสุข) เพื่อจัดทำมาตรการ คู่มือ หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันเเละการขจัดความไร้รัฐ
หมายเลขบันทึก: 387908เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2010 04:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีค่ะ แบบนี้ คนไม่เป็นสมาชิก FB ก็อ่านได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท