E-learning


ประวัติของ e-Learning e-Learning มีพัฒนาการมาจากการศึกษาทางไกลผ่านระบบไปรษณีย์ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ในทวีปยุโรปเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้เรียน แต่ประสบปัญหาในการติดต่อใช้เวลานานและบางครั้งสูญหายระหว่างทาง ต่อมามีการเปิด Home-study Program ทางไปรษณีย์สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนจากที่บ้านหรืออยู่ห่างไกลสถานศึกษา จนถึงปัจจุบันมีการเปิดสอนในลักษณะมหาวิทยาลัยเปิดที่ผู้เรียนไม่ต้องมา เรียนในห้องเรียน เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษามากขึ้นในปี ค.ศ. 1960 จึงมีการพัฒนาแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์และโสตทัศนวัสดุเป็นสื่อการเรียน การสอน เช่น เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง ต่อมาเป็นการใช้ซีดี-รอม ในวงการศึกษาเรียกว่า CAI (Computer-aided instruction) และ CBT (Computer-based learning) ในการฝึกอบรมของวงการธุรกิจและอุตสาห-กรรม ในปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลายผ่านโปรแกรมแสดงผล(Web browser) และโปรโตคอล TCP/IP จึงมีการพัฒนาการเรียนการสอนผ่าน World Wide Web โดยใช้ในวงการศึกษาว่า Web-based education หรือ Web-based instruction หรือ Web-based learning และใช้ในวงการธุรกิจว่า Web-based training เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์จึงมีการใช้คำว่า Online training หรือ Online learning ซึ่ง Online training เป็นส่วนหนึ่งของ e-Learning และ ในปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมาคำว่า e-Learning เริ่มแพร่หลายจากการที่บริษัท Cisco (http://www. ciscolearning.org/) ได้เริ่มแนะนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ e-Learning มาใช้ในการฝึกอบรมโปรแกรม การอบรมพนักงานของบริษัท (น้ำทิพย์, 2545: 80-81) Emarath (2001) กล่าวว่า e-Learning มีการเขียนที่แตกต่างกันหลายรูปแบบ ได้แก่ eLearning, e-Learning, E-Learning, E-Learning เป็นต้นในอดีต ปี ค.ศ.1998 มีเพียงคำว่า e-Learning ซึ่งมีขีด hyphen เช่น SmartForce เป็น “ บริษัท e-Learning ” , John Chambers แห่ง Cisco เผยแพร่ e-Learning, บริษัท Microsoft, SRI และ Internet Time Group ใช้ elearn เป็นต้น ต่อมาเมื่อ elearning แพร่หลายมากขึ้น การเขียนก็มีหลายรูปแบบ บางแห่งก็ตัดขีดทิ้งไป บางแห่งใช้อักษรตัวใหญ่ สามารถใช้ search engine เช่น Google ค้นเว็บเพจโดยใช้ Key words ต่างกัน จะได้ผลลัพธ์ต่างกัน เช่น คำว่า “elearning” (ไม่มีขีด) 105,000 หน้า, “e-Learning” (มีขีด) 525,000 หน้า เป็นต้น จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในเกี่ยวกับการเรียนรู้ ทำให้สามารถแบ่งยุคของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้เป็น 4 ยุค ดังนี้ (บุปผชาติ, 2546: 50-51) 1. ยุคคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและฝึกอบรม (Instructor-Led Training Era) เป็นยุคเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษาจนถึงปี ค.ศ. 1983 2. ยุคมัลติมีเดีย (Multimedia Era) ช่วงปี ค.ศ.1984-1993 เป็นยุคกำเนิดโปรแกรมวินโดว์ 3.1 การใช้ซีดีรอมบันทึกข้อมูล การใช้โปรแกรมการนำเสนอ Power Point การสร้างบทเรียน เป็นต้น สามารถนำไปเรียนตามเวลาและสถานที่ที่สะดวก แต่มีข้อเสีย คือ ผู้เรียนขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน 3. ยุคเว็บเริ่มแรก (Web infancy) ช่วงปี ค.ศ.1994-1999 เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีเว็บบนอินเทอร์เน็ตและมีมัลติมีเดียบนเว็บบ 4. ยุคเว็บรุ่นใหม่ (Next Generation Web) ช่วงปี ค.ศ. 2000-2005 เป็นยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้ามาก e-Learning ในประเทศไทยเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2538 โดยรัฐบาลได้เปิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย เพื่อต้องการจะเชื่อมโยงโรงเรียนต่าง ๆ ในประเทศเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางการศึกษาร่วมกันบนเครือข่าย (นิรนาม, 2547ก: 15) ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2542 ให้ขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมโรงเรียนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษาทั่วประเทศโดยความรับผิดชอบของเนคเทค ปัจจุบันเนคเทคได้ดำเนินกิจกรรมบนเครือข่ายหลายอย่าง ประกอบด้วย การจัดทำเว็บไซต์ของโครงการเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และ เรียนรู้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งในการรวบ รวมเว็บไซต์ของโรงเรียนจากทุกภาคทั่วประเทศ ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.school.net.th และจัดกิจกรรม การเรียนรู้สำหรับเยาวชนอีกหลากหลาย (นิรนาม, 2547ก: 15) ในระดับอุดมศึกษา มีสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนมาก ขึ้น แนวคิดเรื่องการใช้ e-Learning ในประเทศไทยค่อย ๆ พัฒนาขึ้นตามลำดับจากการสร้างบทเรียนออนไลน์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทบทวนบท เรียนต่าง ๆ รวมทั้งสามารถสั่งพิมพ์เอกสารเองได้ มาสู่การพัฒนาเต็มระบบ เช่น ระบบการจัดการด้านเนื้อหา ระบบห้องเรียนเสมือน และระบบการลงทะเบียนวัด ผลเพื่อให้ทัดเทียมกับต่างประเทศที่สามารถเรียนออ นไลน์ได้เต็มรูปแบบจนจบได้ปริญญา (ศักดา, 2545: 18)

http://gotoknow.org/blog/kung/18685

ประวัติE-Learning ในประเทศไทย ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการ เรียน การถ่ายทอดความรู้เป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยอาจจะนับได้ว่า จุดเริ่มต้นตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน วิชา คอมพิวเตอร์จากนั้นก็มีการสร้างสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่แทนที่เอกสาร หนังสือ ที่เรียกว่า สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) ซึ่งมีซอฟต์แวร์ที่เป็นเครื่องมือให้เลือกใช้งานได้ หลากหลาย ทั้งที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการดอส เช่น โปรแกรมจุฬาซีเอไอ (Chula CAI) ที่พัฒนาโดยแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, โปรแกรม ThaiTas ได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์เทคโนโลยี เล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติรวมถึงซอฟต์แวร์สำเร็จรูปจาก ต่างประเทศ เช่น ShowPartnet F/X, ToolBook, Authorware

http://www.ns.mahidol.ac.th/nsid204/report/e-learning2.pdf

e-Learning คืออะไร :: คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการ งานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology) คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้ http://www.thaiedunet.com/ten_content/what_elearn.html วัตถุประสงค์ของ e-Learning 1. เพื่อพัฒนา และปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัย และกว้างไกลมากขึ้น นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา 2. เพื่อขจัดปัญหา และข้อจำกัด ของการขยายโอกาสทางการศึกษา 3. เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนการศึกษาต่อเนื่องของผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการ 4. เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั่วไปได้มีโอกาส และช่องทางการศึกษามากขึ้น

http://www.thaiall.com/e-learning/

ข้อดี-ข้อเสีย E-learning

ข้อดี • เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่รวมทั้ง บุคคล • ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน • ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน • ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางใน การเรียนได้เป็นอย่างดี • ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ใน ห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ

ข้อเสีย • ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน • ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง • ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และ อินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ทักษะการใช้งาน • ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้

http://www.ns.mahidol.ac.th/nsid204/report/e-learning2.pdf

วิเคราะห์เหตุที่มี E-learning เกิดขึ้นมาสอดคล้องกับปัจจุบันอย่างไร ในการเรียนการสอนแบบ e-learning ก็ คือ “คน”ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญ ที่จะกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษา โดยต้องเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้ทางเทคโนโลยีแก่บุคคลทุกคนทุกเพศทุกวัย ให้เปิดรับและทำความเข้าใจว่า e-learning มีความสำคัญอย่างไร ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนแต่ละคน บริษัท หน่วยงาน สถาบันต่างๆ อะไรบ้าง และที่สำคัญก็คือจะช่วยในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทยอย่างไร ในปัจจุบันทางภาครัฐเอง ก็ได้มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศไทยโดยครอบคลุมถึงการพัฒนาทางด้านการ ศึกษาไปด้วย โดยมีผลครอบคลุมไปทั่วประเทศ ก็หวังว่าทุกคนคงตื่นตัวและเตรียมความพร้อม เพื่อรับโอกาสทางเทคโนโลยี e-learning ซึ่งจะมีผลต่อเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม

คำสำคัญ (Tags): #e-learning
หมายเลขบันทึก: 387764เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2010 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท