การหลงทางของนักวิชาการ และหน่วยงานวิจัยและพัฒนาระดับชาติ (ที่น่ากลัว)


หลักวิชาการที่เขาใช้ต่างหาก ที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง

ในระยะกว่า ๖๐ ปีที่ผ่านมา

โลกได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการผลิตทางเกษตรอย่างรวดเร็ว โดยใช้ฐานทรัพยากรธรรมชาติ แบบทำลายล้าง อย่างสิ้นเปลือง

พอระบบทรัพยากรเริ่มอ่อนแอ ไม่สามารถให้ผลผลิตได้อย่างที่เคยเป็น

ก็มีการใช้สารเคมี สารพิษในการกระตุ้นให้ระบบที่อ่อนแอทำงานหนักขึ้น ถึงระดับที่มีแต่อ่อนแอมากขึ้น

จนกระทั่งอาจกล่าวได้ว่า

ถ้าขาดสารพิษและสารเคมี ระบบทรัพยากรธรรมชาติต่างๆที่สนับสนุนการผลิตอยู่จะทำหน้าที่ไม่ได้เลย ในระดับ “เสพติด” อย่างรุนแรง

กลุ่มชาวบ้านที่พอจะมีแนวคิดอยู่บ้างก็พยายามหาทางฟื้นฟู แก้ไขเพื่อทำให้ระบบในแปลงเล็กๆ ด้วยการช่วยให้ธรรมชาติดูแลตัวเองและให้ผลผลิตได้โดยไม่ต้องมี “สารพิษ” และสารเคมีใดๆ

ตั้งแต่

  • การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ
  • น้ำหมักชีวภาพ
  • พืชคลุมดิน
  • พืชบำรุงดิน พืชปุ๋ยสด
  • ไม้ยืนต้นแบบป่าล้อมแปลงเกษตร ทั้งไร่และนา
  • เกษตรอินทรีย์
  • เกษตรธรรมชาติ
  • และเกษตรทางเลือกต่างๆ ตามทรัพยากรและระบบการผลิตในแต่ละพื้นที่

ที่ส่วนใหญ่ก็ทำได้ในระดับแปลงเล็กๆ ของตนเอง

ด้วยความรู้ที่จำกัดเฉพาะจุดเฉพาะพื้นที่

แต่ฝ่ายนักวิชาการจำนวนมาก

(ที่มีหน้าที่สนับสนุนดูแลเกษตรกร ให้เกษตรกรได้พัฒนาอย่างถูกต้อง ตามหลักความเป็นจริงของทรัพยากรในพื้นที่)

กลับเน้นการทำงานตามความสะดวกของตนเอง ตามหลักวิชาการที่เลื่อนลอย คาดเดาไปเอง อาจมีการตรวจสอบ ทดสอบแต่ก็มักเป็นแบบขาดฐานข้อมูลที่เป็นจริง และ/หรือ เป็นปัจจุบัน

โดยการใช้ข้อมูลเก่าที่ปัจจุบันไม่มีแล้ว หรือใช้ไม่ได้แล้ว จากหลักการทางสถิติต่างๆ แล้วแต่จะคิด เพื่อประหยัดเวลาในการทำงาน

จากหลักการสถิติดังกล่าว

  • นำไปสู่การคาดคะเน
  • ใช้สมมติฐานต่างๆ แล้วแต่จะคิดออก
  • สร้างความฝันอันเลื่อยลอยบนความฝันที่ไม่ตรงกับความจริง
  • ใช้หลักการและวิธีการหมอดูแทนการใช้หลักความเป็นจริง
  • ที่มักเป็นค่าเฉลี่ย ค่าจากการคาดคะเน แต่ไม่มีของจริง

การทำงานแบบนี้กำลังแพร่หลาย หาทุนง่าย มีคนชอบทำมาก และกล่าวกันว่าได้ผลงานเร็ว ตีพิมพ์ได้เร็ว

แต่ชาวบ้านที่รอความหวัง ก็ไม่ได้รับการเหลียวแล

ยังต้องสู้กับปัญหาการทำการเกษตรแบบ

  • ทรัพยากรจำกัด
  • ความรู้จำกัด
  • โอกาสจำกัด

แถมบางครั้ง

ยังถูกนักวิชาการที่ไม่เคยพยายามเข้าใจชาวบ้าน

ดูถูกเหยียดหยามภูมิปัญญาที่ชาวบ้านคิดขึ้นมา และทำสำเร็จแล้ว ว่าไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ทั้งๆที่หลักวิชาการที่เขาใช้ต่างหาก ที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง

เพราะเป็นวิชาการที่เพ้อฝัน คิดไปเอง ไม่เคยเห็นของ “จริงๆ” และ ไม่เคยทำจริง อย่างมากก็ไปยืนชี้นิ้วให้คนงานทำให้

และคนงานบางคนแม้จะรู้ (บางเรื่อง)มากกว่านักวิชาการ (หัวหน้า) ก็มักไม่กล้าขัดคำสั่งหัวหน้า

ยิ่งกว่านั้น

นักวิชาการใหญ่ๆ ตำแหน่งสูงๆ มักจะไม่ค่อยมีเวลาคิดเองทำเอง

จึงใช้วิธี “ขี่คอ” นักวิชาการรุ่นเด็กๆ หรือ ที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ

แบบเดียวกับอาจารย์มหาวิทยาลัยใช้ผลงานนักศึกษา (ที่ไม่ค่อยสมบูรณ์นัก เพราะทำโดยนักศึกษาที่ประสบการณ์ยังไม่สูงพอ) เป็นผลงานของตัวเอง

ระบบการขี่คอเด็ก ใช้นักวิชาการรุ่นหลังๆ ทำงานแทนตัวเอง แต่ตัวเองกลับนำผลงานไปอ้างว่าทำเองนี้มีทั้ง ในหน่วยงานราชการ เอกชน และหน่วยงานพัฒนาเอกชน

ทำให้งานวิชาการที่ทำ เป็นเพียงงานพัฒนาวิชาการ “แบบเด็กๆ”

แต่กลับมีการนำความรู้ที่ได้ไปสู่การวางแผนพัฒนาระดับชาติ

และยิ่งกว่านั้น

ยังนำไปสู่การกำหนดเป็นสถิติ และแนวทางการทำงานแบบ “ฝันบนความฝัน” ภายใต้

  • แบบจำลอง
  • ระบบช่วยการตัดสินใจ
  • ระบบฐานข้อมูล
  • ระบบฐานงานวิจัย
  • ระบบองค์ความรู้

โดยนักวิชาการจำนวนหนึ่งที่ถนัดแบบนี้ และไม่ชอบลงมาสัมผัสความจริงของระบบทรัพยากร และระบบการผลิตทางการเกษตร

ที่จริงๆ แล้ว อย่างมากงานที่ทำนั้น

  • ใช้ได้กับการวางแผนใหญ่ๆ กว้างๆ
  • แต่ใช้งานจริงที่ลงเฉพาะที่ไม่ได้
  • จึงเหมาะกับงานบริหารวางแผนใหญ่ๆ
  • แต่ไม่เหมาะกับการปฏิบัติการ

แต่กลับพบว่า

มีความเชื่อว่าจะสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาพัฒนาในระดับปฏิบัติการได้

ที่นับว่าเป็นการหลงทางแบบสุดๆ

และน่ากลัว เพราะ

  • ระบบทรัพยากรทางการวิจัย และการพัฒนาทางวิชาการส่วนใหญ่ได้ทุ่มเทไปเพื่อการทำงานแบบนี้
  • เพราะ ได้ผลงานตีพิมพ์ในวารสารต่างชาติได้อย่างรวดเร็ว

ชาวบ้าน และประเทศชาติจะได้ประโยชน์อะไรหรือไม่

ดูเหมือนจะไม่มีนักวิชาการ หรือแหล่งทุนใดให้ความสำคัญเลย

ผมเคยลองถามเพื่อตรวจสอบระบบ ว่าทำไมไม่สนใจความจริงและการพัฒนาการของชาวบ้าน

แหล่งทุนแจ้งว่า

เขามีหน้าที่ทำตามแผนงานและ KPI ของหน่วยงานเท่านั้น

และ KPI ใหญ่ที่สุดก็คือ การตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ

ชาวบ้าน เกษตรกร หรือประเทศจะได้ประโยชน์อะไรหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญ

นี่คือการหลงทางที่น่ากลัวจริงๆ

เพราะทุกคนเป็นเพื่อนกัน (Peer) เวลาตรวจงาน ก็ว่าตามกัน ผลัดการเกาหลังให้กันไปเรื่อยๆ

ไม่มีใครว่าใคร เพราะก็รู้เท่าที่รู้ เท่าๆกัน

ไม่มีใครคิดจะแก้ เพราะไม่รู้ว่าจะแก้ตรงไหน อยู่แค่เอาตัวรอดไปวันๆ พากันหลงทางไปเรื่อยๆ

ยิ่งคิดยิ่งน่ากลัวจริงๆครับ

หมายเลขบันทึก: 386790เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2010 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีครับ  เป็นสาระที่ดีมากครับ  ผมชอบที่ว่า"

"ฝ่ายนักวิชาการจำนวนมากที่มีหน้าที่สนับสนุนดูแลเกษตรกร ให้เกษตรกรได้พัฒนาอย่างถูกต้อง ตามหลักความเป็นจริงของทรัพยากรในพื้นที่ กลับเน้นการทำงานตามความสะดวกของตนเอง ตามหลักวิชาการที่เลื่อนลอย คาดเดาไปเอง อาจมีการตรวจสอบ ทดสอบแต่ก็มักเป็นแบบขาดฐานข้อมูลที่เป็นจริง และ/หรือ เป็นปัจจุบัน"

       ลักษณะนี้ยังมีอีกหลายที่ครับ  นักวิชาการต้องช่วยกันดูแลครับ

ผมกำลังเป่าปี่ใส่หูช้างครับ (ถ้าไม่แย่ไปกว่านั้น)

ถ้าไม่โดนช้างเหยียบในงานนี้ ก็ไม่ทราบว่าจะโดนงานไหนครับ

แต่ผมไม่กลัวหรอกครับ

อีกไม่นานผมก็จะจากไปแล้ว

แต่หวังว่างานเขียนนี้จะอยู่อีกร้อยปีเป็นอย่างน้อยครับ

ในอีกร้อยปีข้างหน้า น่าจะมีคนคิดแก้ไขบ้างนะครับ

 

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับ นักวิชาการเราควรมีจิตสำนึกกันบ้างได้แล้ว คิดว่าตัวเองเรียนมาสูง อ่านตำราภาษาต่างประเทศได้แล้วคิดว่าตัวเองเก่งที่สุดในโลก พอเถอะครับ อย่าหลงประสบการณ์ อย่าหลงตำราที่เขียนโดยใครก็ไม่รู้ ต่างชาติ ต่างภาษา ต่างบริบททางสังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมโดยสิ้นเชิงมาเป็นสรณะในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศของเรา อาศัยงานวิจัยที่ทำขึ้นแบบลวกๆหลวมๆ มาเป็นข้อมูล กลับมาดูชุมชนท้องถิ่นจริงๆกันบ้าง ลงไปสัมผัส เรียนรู้ ทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง อย่าทำแค่เพียงว่าการลงไปศึกษาชุมชนเพียงประเดี๋ยวประด๊าว แล้วคิดเอาเองว่าอย่างนั้นถูก อย่างนั้นผิด อย่างนี้ดี หรืออย่างนี้ไม่ดี มีตัวอย่างในหมู่บ้านหนึ่ง ชาวบ้านพยายามจัดตั้งร้านค้าชุมชนขึ้นมา คิดเพียงว่า ซื้อของมา 1 บาท ขายไป 2 บาท ตนเองจะได้กำไรให้กลุ่ม 1 บาท เขาก็ทำกันมาได้ แต่พอนักวิชาการเข้าไปพยายามหว่านล้อมให้ใช้หลักอุปสงค์/อุปทาน ปรากฎว่าร้านค้าชุมชนพังไม่เป็นท่า อุทาหรณ์เรื่องนี้คงอธิบายเรื่องอื่นๆที่นักวิชาการทำได้นะครับ

ปัญหาแบบนี้กลายเป็นเรื่อง "ธรรมดา" ไปเสียแล้วครับ

ก็.....เงินเดือนเขายังได้เหมือนเดิม จะสนไปทำไม

ถ้าทำพลาดแล้วถูกตัดเงินเดือนซิครับ

น่าสนหน่อย

เราจะมีรายได้กลับเข้ารัฐ ปีละหลายแสนล้านบาททีเดียวครับ

ผมกล้ารับประกันตรงนี้เลยครับ

ไม่ว่าจะเป็นระบบการศึกษาทุกระดับ การวิจัยเกือบทุกสาขา และการพัฒนาแทบทุกด้านครับ

น่ากลัวจริงๆ ครับอาจารย์ ทั้งประเด็นขี่คอนักวิชาการเด็กๆ นำผมงานนิสิตมาใช้ และ ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ ซึ่งที่น่ากลัวจริงๆ คือประเทศไทยไม่ได้ประโยชน์ น่ากลัวมากๆ

     "ไอ้พวกนักวิชาการที่ชอบ ฉวยโอกาส เอางานของชาวบ้านไป อวดอ้าง ว่าเป็นงานของตัวเอง ไอ้พวกนี้...เลวที่สุด"

  • คำพูดนี้เกิดขึ้นในวงสนทนา ณ พื้นที่โครงการพระราชดำริหนองใหญ่ อ.เมือง จ.ชุมพร เมื่อครั้งที่ผมได้พา "ครูช่าง" อ.ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง และคณะละครมรดกใหม่ แวะไปพูดคุยกับ "กำนันเคว็ด" นายประวิทย์ ภูมิระวิ ที่ทำนา ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นการทดลองทำเกษตรกรรมแบบลดต้นทุนให้ได้ 90% จากที่เกษตรกรทั่วไปทำกันอยู่
  • ความหมายของคำพูดนี้น่าจะใกล้เคียงกับเนื้อหาในบันทึกของอาจารย์ แต่ใช้คำพูดที่แรงกว่า ว่ากันตรง ๆ...ครึ่งปาก-ครึ่งจมูก

การเอางานชาวบ้านไปหากิน ก็ยังไม่เสียหายเท่ากับผลาญชาติแบบไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยนะครับ

เพราะการขโมยก็ยังมีคนได้ประโยชน์บ้าง (แม้จะมีคนเสียก็ตาม)

แต่การผลาญงบประมาณชาติ แล้วพ่นแต่ความรู้เป็นพิษออกมานี่ ไม่มีใครได้ มีแต่เสีย ไม่รู้กี่ต่อ ครับ

ผมจึงยังไม่จี้ประเด็นการขโมยมากนักครับ

เห็นด้วยกับทุกความคิด บางครั้งถูกต่อว่าเชิงวิชาการเมื่อนำภูมิปัญญาชาวบ้านเผยแพร่

ว่ามีอะไรอ้างอิงทางวิชาการหรือไม่ ถึงท้อแต่ก็ไม่ถอยครับ ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นสิ่งที่เขาทำ

แล้วประสบผลสำเร็จผมว่าจะดีแล้ว เพียงแต่ผู้ที่นำไปทำต่อต้องทำความเข้าใจและ ศึกษาปัจจัยรอบตัวที่เป็นตัวแปร

หรือข้อจำกัดเท่านั้น

ยึดหลัก 3 ป. ปลอดภัย ประหยัด และปฏิบัติได้ ครับ

จะนำแลวคิดทุกท่านเดือนใจ สำหรับการทำงานเพื่อเกษตรกรต่อไปครับ ขอบคุณมากครับ

การถอดบทเรียนภูมิปัญญาก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่ไม่ง่ายสำหรับคนบางกลุ่มที่ไม่เคยชิน และติดกรอบวิชาการปลอมๆ

ต้องออกจากกรอบปลอมๆ แล้วเข้ามาสู่ความเป็นจริง ที่อาจยากมากสำหรับคนบางกลุ่ม

ถ้าใครทำได้แล้ว จงยืนหยัด อย่าหนีไปไหน

แล้ววันหนึ่งกระแสก็จะมาวิ่งตามท่านเอง อย่าเผลอไปวิ่งตามเสียก่อนล่ะ

ขอให้โชคดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท