ความสอดคล้องในความตกลงด้านการลงทุนกับกฎหมายไทย


ไทยจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อรองรับข้อตกลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นเพื่อที่จะให้กฎหมายต่างๆสอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศที่ได้ทำกับคู้สัญญา

                เมื่อคราวที่แล้วได้พูดถึงลักษณะของการลงทุนระหว่างประเทศว่ามีลักษณะอย่างไร  มีกฎหมายแม่แบบมาจากไหน สำหรับคราวนี้จะกล่าวถึงการเปิดเสรีการลงทุน ซึ่งการเปิดเสรีการลงทุนนั้นเกิดจากการตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถทำความตกลงได้หลายรูปแบบ ดังนี้               

                 การตกลงระดับพหุภาคี  การเจรจากันในระดับนี้โดยเกิดขึ้นในกรณีของการประชุม GATTรอบอุรุกวัยไดมีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการลงทุนจำนวน 2 ฉบับ ไดแกความตกลงว่าด้วยมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า (TRIMs) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ให้ยกเลิกมาตรการลงทุนที่มีผลเป็นการจํากัดหรือบิดเบือนการนําเข้าหรือส่งออก และความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการและการบริการ (GATS) ซึ่งเป็นความตกลงเกี่ยวกับการเปิดเสรีการค้าและการบริการระหว่างประเทศซึ่งรวมถึงการเปิดเสรีการลงทุนระหว่างประเทศในภาคบริการด้วย                

                 นอกจากนี้ยังมีการตกลงในระดับทวิภาคีด้วย ซึ่งเป็นการเจรจาข้อตกลงกัน 2 ฝ่ายโดยประเทศไทยนั้นมีการจัดทำข้อตกลงในระดับนี้มากมาย ซึ่งในการทำข้อตกลงทวิภาคีนั้นไทยไม่ได้เน้นไปที่การทำข้อตกลงเพื่อกำหนดเงื่อนไขในการเปิดเสรีทางการลงทุน แต่ไทยได้ทำข้อตกลงที่ให้ความคุ้มครองการลงทุนแก่ผู้ลงทุนจากประเทศภาคีจากมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการยึดทรัพย์ การถ่ายโอนเงิน การระงับข้อพิพาท เป็นต้น ตัวอย่างการตกลงทวิภาคีที่เห็นได้ชัดเจนคือ สนธิสัญญาไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้น               

                  รวมถึงการทำการตกลงระดับภูมิภาคนั้น จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีการเจรจาระดับนี้อย่างชัดเจน เช่นการเป็นสมาชิกของความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย- แปซิฟิก (เอเปค) ซึ่งพบได้ว่า เอเปคต้องการที่จะการเปิดเสรี, การอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุน และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการ ทำให้การเข้าร่วมเป็นสมาชิก ต้องยอมรับข้อตกลงที่ประเทศสมาชิกจะทำให้เกิดความเสรีในการลงทุน และมีการส่งเสริมกันในการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก                

                   เมื่อเห็นถึงการทำข้อตกลงทางด้านการลงทุนรูปแบบต่างๆแล้วจะพบได้ว่าประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อรองรับข้อตกลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นเพื่อที่จะให้กฎหมายต่างๆสอดคล้องกับข้อตกลงที่ประเทศไทยได้ทำไว้กับคู่สัญญา ฉะนั้นสำหรับประเทศไทยนั้นเมื่อพิจารณาถึงกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของต่างชาติจะมีกฎหมายจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ทั้งที่เป็นพระราชบัญญัติ  พระราชกฤษฎีกาหรือประกาศกระทรวงต่างๆแต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงกฎหมายหลักๆที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการลงทุน กล่าวคือ            

                    พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติขึ้นเพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันในการประกอบธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับไทยโดยส่วนรวม ทั้งยังเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้วย ทำให้ พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.. ๒๕๔๒ เป็นกฎหมายแม่แบบว่าด้วยการลงทุนของไทยในการกำหนดขอบเขตการประกอบธุรกิจของนักลงทุนต่างชาติในไทย ซึ่งในการประกอบธุรกิจในไทยนั้นสามารถที่จะประกอบธุรกิจได้อย่างเสรี แต่ก็มีกฎเกณฑ์ที่จะต้องให้นักลงทุนต่างชาติต้องปฏิบัติตาม เช่นการขอใบอนุญาตและหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้กำหนดมาตรการและบทลงโทษสำหรับกรณีคนต่างด้าวไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืน พรบ.ฉบับนี้ด้วย            

                  พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.. ๒๕๒๐ ได้บัญญัติขึ้นเพื่อปรับปรุงการให้สิทธิและประโยชน์แก่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการให้สิทธิและประโยชน์ของรัฐโดยเป็นการให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ลงทุนประกอบกิจการที่รัฐกำหนด  เช่นสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร เช่น ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ แต่เครื่องจักรนั้นต้องไม่เป็นเครื่องจักรที่ผลิต หรือประกอบได้ในราชอาณาจักร ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกันกับชนิดที่ผลิตในต่างประเทศ และมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดหามาใช้ได้ (มาตรา ๒๘) , การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ให้พิจารณากำหนดเป็นสัดส่วนของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินแปดปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น (มาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง) เป็นต้น            

                   นอกจากนี้ยังมีมาตราการเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุนในการลงทุน พระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดหลักประกันและการคุ้มครองให้แก่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เช่น รัฐจะไม่โอนกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมมาเป็นของรัฐ (มาตรา ๔๓) รัฐจะไม่ประกอบกิจการขึ้นใหม่แข่งขันกับผู้ได้รับการส่งเสริม (มาตรา ๔๔) เป็นต้น

                 แต่ก็ไม่ใช่ทุกกิจการที่จะได้รับส่งเสริม โดยจะต้องเป็นกิจการที่สำคัญและเป็นประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ กิจการผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ฯลฯ (มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง) ซึ่งจะเป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน 

                พระราชบัญญัตินิคมอุตสาหกรรม พ.. 2522 ได้บัญญัติขึ้นจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมและพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทั่วไป ให้เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออก ดังนั้น เขตอุตสาหกรรมส่งออก จึงเกิดขึ้นภายในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ และแบ่งเบาภาระต้นทุนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันกับนาๆประเทศได้ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการใช้แรงงานภายในประเทศ ช่วยเหลือประชาชนให้มีงานทำ 

                  เขตอุตสาหกรรมส่งออก เป็นการให้บริการเพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร สำหรับผู้ประกอบการในเขตอุตสหกรรม ตามนโยบายรัฐบาล โดยเน้นการบริการครบวงจร (One stop service) สามารถให้บริการด้านพิธีการนำเข้าและส่งออก สำหรับผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ ต่อการส่งเสริมการส่งออก และพัฒนาด้านการผลิตเพื่อการส่งออก               

                   สำหรับสิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมส่งออกนั้นก็จะเป็นสิทธิประโยชน์ทั้งที่เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเช่นได้รับยกเว้นภาษีอากรขาเข้าฯ สำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ รวมทั้งส่วนประกอบ (มาตรา 48), ไดัรับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่ใช้ในการผลิตสินค้า (มาตรา 49) เป็นต้นและที่มิใช่สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เช่น ได้รับอนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (มาตรา 44), ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ คู่สมรสและบุคคลในอุปการะเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร (มาตรา 45) เป็นต้น               

                  จากกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นเราจะพบว่าทั้งสามพระราชบัญญัติจะมีการรับรองในเรื่องเสรีภาพในการลงทุน เพื่อที่จะสอดคล้องกับข้อตกลงต่างที่ได้จัดทำขึ้น รวมไปถึงความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของประเทศไทยที่ต้องการให้มีความเสรีในด้านต่างๆ เนื่องจากเมื่อมองถึงพรบ.ทั้งสามจะพบว่ามีความต้องการให้เกิดความเสรีในการประกอบอาชีพ หรือการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ความเสรีภาพในด้านต่างๆและสิทธิในทรัพย์สิน และยังรวมถึงการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเทียมกัน               

                   นอกจากนี้ทั้งสามพระราชบัญญัติยังมีเรื่อง การส่งเสริมเข้ามาร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมให้มีการแข่งขันในการประกอบธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ,ส่งเสริมและพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทั่วไป ให้เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออก และการทำให้มีส่งเสริมการลงทุนเพื่อที่จะให้สิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการยกเว้นภาษีต่างๆ

อ้างอิง : http://www.krisdika.go.th/home.jsp



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท