Up date... .เมื่อผู้ให้บริการปรึกษาเจอปัญหา ใครช่วยได้บ้าง ?


เมื่อแบ่งปันความสุขๆ คือสองเท่า....เมื่อแ่บ่งปันความทุกข์ๆ คือครึ่งหนึ่ง.

    ในฐานะเป็นพยาบาล เคยทำหน้าที่ดูแลคนที่เจ็บป่วยทางกายมาแล้ว และอีกบทบาทหนึ่งคืองานบริการปรึกษาทางด้าน HIV/AIDS รู้สึกตัวเองโชคดี   และขอบคุณโอกาสที่ทำให้ผันตัวเองมาทำหน้าที่ดูแลใจของผู้ทุกข์ร้อน มากกว่าแต่ก่อน

    เมื่อยามที่คนเรามีปัญหา และต้องการความช่วยเหลือ...หากมีใครสักคนถามไถ่ ด้วยความใส่ใจอยากช่วยเหลือ....คนๆนั้นย่อมเป็นที่ประทับใจไม่รู้ลืมยามคิด ถึงน้ำ้ใจที่หยิบยื่นให้....

    ปัญหาติดๆๆผู้ให้บริการปรึกษา อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้....เมื่ออยู่ในฐานะเป็นผู้รับบริการ และจะไม่เกิด ถ้าใครคนนั้นรู้จักการควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง.....แต่ก็ไม่ง่าย   ในผู้ที่กำลังมีปัํญหา..และขาดคนเข้าใจ 

    เอ(นามสมมุติ) วัย 36 ปี  ถึงแม้เขาจะโชคดีที่ไม่ติดเชื้อHIV จากภรรยาที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่เอไม่มีความสุขเลย เขาขาดความมั่นใจในตัวเองที่ต้องดำเนินชีวิตโดยไม่มีภรรยาคอยดูแล เขารักภรรยามาก  เอเล่าว่า ตัวเขาเกเรมาก ไม่ชอบเรียน ชอบรถ จนกระทั่งมีรถบัสเป็นของตนเอง (เอ ภูมิใจกับสิ่งนี้) เขาควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เคยชกต่อยเพื่อนร่วมงานเมื่อพูดไม่ดีกับเขา แต่เอจะร้องไห้ทุกครั้งที่พูดถึงแม่....เขารักแม่ และรู้สึกเสียใจกับวีรกรรมที่ทำให้แม่เสียใจ.....แต่ละครั้งที่เอมาพบผู้เขียน  เขาจะพูดๆๆๆ ในสิ่งที่เขาอยากจะพูด..อยากจะบอก...อยากระบายความรู้สึก  สิ่งนี้เกิดขึ้นได้เมื่อสัมพันธภาพดีแล้ว เกิดความไว้วางใจแล้ว....ซึ่งผู้เขียนก็พร้อมที่จะรับฟังอย่างใส่ใจเพื่อจะได้หาแนวทางช่วยเหลือต่อไป
 เอร้องไห้อย่างไม่อายทุกครั้งที่พูดถึงแม่...แม่เสียชีวิตไปแล้ว...ผู้เขียนรู้ดีว่า มีอะไรหลายอย่างที่ทำให้้เอสะเทือนใจ กว่าจะถึงวันนี้ที่ไม่มีแม่ คอยให้อภัยอีกต่อไป  ผมไม่มีใครให้คิดถึงอีกแล้ว (เอ บอก) ...ผู้เขียนรู้สึกเศร้าใจจัง..

    ผู้ให้บริการปรึกษาร้องไห้.....ได้ไหม?
    อยากร้องไห้....แต่ห้ามร้องต่อหน้าผู้รับบริการเด็ดขาด....ไปร้องที่ไหนก็ได้นะคะถ้ามันอัดอั้นมากๆ (ผู้เขียนเคยทำ ภายหลังยุติบริการแล้ว)  ลองคิดดูนะคะ..ผู้ให้บริการร้องไห้...ผู้รับบริการจะหยุดร้องทันที (น่าจะดีไหม)...เขาอาจเป็นฝ่ายส่งทิชชูให้เราแทน...หลังจากนั้น เขาจะไม่กลับมารับบริการอีกเลย เพราะเขาไม่มั่นใจว่า เราจะ่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้เขาได้อีก...หรือเขาคิดว่านำเรื่องทุกข์ใจมาให้เรา

             ผู้ให้บริการปรึกษา ต้องแสดงความเป็นมืออาชีพ (ทำได้แค่แอบหวั่นไหวก็พอ)...ผู้เขียน เลี่ยงมองทางอื่นเป็นพักๆ  หายใจเข้าออกยาวๆ นิ่งๆให้้รูู้่ว่าตัวเราเองกำลังรู้สึกอย่างไรก็ช่วยได้ขณะนั้น.....ที่สำคัญพยายามไม่นำไปคิดต่อที่บ้าน  (เพราะจะทำให้เครียด)  มีบางครั้งที่ติดมาบ้างก็มีเหมือนกันค่ะ......ขอขอบคุณอย่างยิ่ง สำหรับ ผ.ศ.สุรินทร์ รณเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่อาจารย์ช่วยให้ผู้เขียนเข้าใจ และแก้ไขปัญหาได้ อย่างมั่นใจหลังได้ขอคำ้ปรึกษาจากอาจารย์....ศิษย์คนนี้ไม่เคยลืมค่ะ

           เมื่อแบ่งปันความสุข  ความสุขคือสองเท่า

          เมื่อแ่บ่งปันความทุกข์  ความทุกข์คือครึ่งหนึ่ง.
                                                        (สุภาษิต สวีเดน)

                                                                             bysky walker

คำสำคัญ (Tags): #km#ลปรร
หมายเลขบันทึก: 38674เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2006 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เห็นใจและเข้าใจค่ะ    
ประสบการณ์ในการทำงานและการเรียนรู้จากผู้ชำนาญงานด้านการปรึกษา โดยเฉพาะ อ. สุรินทร์ ย่อมนำมาสู่การแก้ไขปัญหา แม้บางปัญหาจะต้องใช้เวลาและการปรับสภาพจิตใจของแต่ละบุคคล แต่ปัญหานั้นย่อมแก้ไขได้ผลดีและเป็นที่พอใจทั้งผู้ให้และผู้รับเพราะต่างคนก็มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย อย่างน้อยผู้ให้การปรึกษาก็มีจิตใจที่ต้องการช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากทางใจต่างเต็มเปี่ยมอยู่ในจิตใจ  ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ให้บริการปรึกษาทุกท่าน

อ่านแล้วนึกถึงภาพของนักบุญ ด้วยความเข้าใจ และประทับใจค่ะ ได้ฝึกสติดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท