โครงการสืบสานวัฒนธรรมอาหารจีนยูนานเพื่อสุขภาวะ


ชมรมสตรีมุสลิมล้านนาเล็งถีงความสำคัญของการอนุรักษ์วัฒนธรรมอาหารจีน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาแบบดั่งเดิมของกลุ่มชนชาวจีนยูนนานในเชียงใหม่ให้คงอยู่ต่อไปในอนาคต จึงได้จัดการอบรมอาหารจีน
หัวหน้าโครงการ นางจารุ บุญอำนวยชัย
สถานที่ทำงาน 207/1 ถ.ช้างคลาน ต.ช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โทรศัพท์ 053-242738 โทรสาร 053-242738 โทรศัพท์มือถือ 089-2646056



ระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 วัน วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม 2553

งบประมาณที่ขอจากแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย

สถานที่จัดกิจกรรม ณ ลานเอนกประสงค์อาคารโรงเรียนจิตต์ภักดี ต.วัดเกต อ. เมือง จ.เชียงใหม่
กลุ่มเป้าหมาย ผู้สนใจ ทั้งชาย และหญิง จำนวน 120 คน

การสนับสนุนจากแหล่งอื่น
1. กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ สนับสนุนวิทยากรและผู้ช่วยผู้ปฏิบัติงาน
2. มัสยิดอัต-ตักวา สนับสนุนสถานที่
3. มัสยิดเฮดายาตุ้ลอิสลามบ้านฮ่อ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์


ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ
การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของจีนมีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์พร้อมกับการใช้ยาเพื่อรักษาโรค จากนั้นได้พัฒนาขึ้นตามลำดับในสมัยราชวงศ์ต่าง ๆ จนเจริญรุ่งเรืองยิ่งในสมัยปัจจุบันซึ่งมีการรวบรวมตำราซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว ฉิน ฮั่น และจิ้นไว้ ครั้นถึงสมัยซ่ง หยวน หมิง และชิง ก็ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีทฤษฎีว่าด้วยอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเป็นระบบ
ต่อมาสมัยสาธารณรัฐจีน
อาหารเพื่อสุขภาพก็พัฒนาไปพร้อมกับการรักษาโรคแบบแพทย์จีนแผนโบราณและยังมีตำราที่เกี่ยวข้องออกมาเป็นจำนวนมาก
ในปัจจุบันมีอาหารเพื่อสุขภาพหลายชนิดวางจำหน่ายในท้องตลาด และมีภัตตาคารเป็นจำนวนมากที่ใช้อาหารเครื่องยาจีนเป็นตัวโฆษณาเพื่อดึงดูดลูกค้าแสดงให้เห็นว่าอาหารบำรุงสุขภาพของจีนนั้นได้รับความนิยมจากผู้คนโดยทั่วไป
อาหารจีนจะมีกฎแน่นอนในการใส่เครื่องปรุงที่เหมาะสมในอาหารแต่ละชนิด และนำอาหารนั้นไปเป็นอาหารที่เหมาะสมกับมื้ออาหาร เพราะเครื่องปรุงบางชนิดจะกลมกลืนเฉพาะอาหารบางอย่างและวิธีการประกอบอาหารบางชนิดเท่านั้น อาหารจีน มีรสชาติเป็นกลางไม่โดดเด่นไปทางใดทางหนึ่ง
ชมรมสตรีมุสลิมล้านนาเล็งถีงความสำคัญของการอนุรักษ์วัฒนธรรมอาหารจีน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาแบบดั่งเดิมของกลุ่มชนชาวจีนยูนนานในเชียงใหม่ให้คงอยู่ต่อไปในอนาคต จึงได้จัดการอบรมอาหารจีน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรจีนที่นำมาประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ โดยได้คัดเลือกอาหารที่ปรุงได้ง่ายและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของคนในชุมชน และเยาวชนรุ่นต่อไปสามารถอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมอาหารของกลุ่มชนชาวจีนยูนนานในเชียงใหม่สืบต่อไป



ขั้นตอนในการดำเนินโครงการ
1. ประชุมวิเคราะห์ข้อมูล และเตรียมการ
2. เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายต่าง ๆ
4. ประชุมวางแผน มอบหมายหน้าที่ให้กรรมการดำเนินงานปฏิบัติ
5. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนเข้าร่วมโครงการ
6. ดำเนินงานตามขั้นตอน
7. สรุปประเมินผล และติดตามโครงการ



วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่อส่งเสริมให้มุสลิมมีความรู้และมีทักษะในการเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง
2.เพื่อส่งเสริมให้มุสลิมนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติต่อตนเองและคนในครอบครัวเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน
3.เพื่อส่งเสริมให้มุสลิมได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และสามารถทำเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
4. เพื่อเป็นการรักษาภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมของกลุ่มชนจีนยูนานในเชียงใหม่





ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับความรู้ และทราบถึงเทคนิคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง
2. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง

3. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถนำไปทำได้จริงเพื่อการเสริมรายได้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
4. เยาวชนรุ่นต่อไปสามารถอนุรักษ์ภูมิปัญญาของกลุ่มชนจีนยูนานในเชียงใหม่






ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถนำไปทำให้คนในครอบครัวรับประทาน
2. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้
3.ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้
4. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมอาหารของชาวจีนมุสลิมที่อยู่ใน จ.เชียงใหม่ ให้ชนรุ่นต่อไปได้เรียนรู้




วิธีที่จะนำไปสู่ความต่อเนื่องยั่งยืนของโครงการ

1.ผู้ผ่านการอบรมฯ สามารถถ่ายทอดและสามารถทำรับประทานกันเองในครอบครัว โดยคนในครอบครัวมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัว
2.ทำเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ของครอบครัว
3.ได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด และราคาประหยัด
4. เชิญชวนเยาวชน คนรุ่นใหม่เข้ารับการฝึกพร้อมลงมือปฏิบัติ และเน้นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์วัฒนธรรมอาหาร


โครงการอยู่ในพื้นที่ของศูนย์ประสานงานภาคเหนือ
หมวดกิจกรรมการ เผยแพร่องค์ความรู้
- หมวดกิจกรรม การอบรมโภชนาการอิสลามและพัฒนากลุ่มแม่บ้านและผู้ผลิตอาหาร
โครงการนี้ตรงกับยุทธศาสตร์สร้างกระแสครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายของแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย

รายงานโดย นายชุมพล ศรีสมบัติ
หมายเลขบันทึก: 386527เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2010 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สลามค่ะ

แวะมาทักทายค่ะ

เป็นโครงการที่ดีมากๆค่ะ

จะพยายามติดตามไปเรื่อยๆนะค่ะ

ขอบคุณมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท