ปฏิรูปการศึกษาหัวข้อ"ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต


ปฏิรูปการศึกษา

วันที่ 16 สิงหาคม 2553 สำนักงานเขตการศึกษาสมุทรปราการได้เชิญผมไปบรรยายให้ผู้บริหารการศึกษาระดับรองผู้อำนวยการของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการในหัวข้อ "ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต" ณ โรงแรมแกรนด์อินคำ จังหวัดสมุทรปราการ และท่านรองผู้อำนวยการที่มาเข้าโครงการในครั้งนี้ทุกท่านมีความใฝ่รู้อยากเรียนรู้ทุกท่าน ซึ่งผมมาบรรยายเป็นครั้งที่ 2 แล้วซึ่งครั้งแรกผมบรรยายให้ระดับผู้อำนวยการของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 385796เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2010 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เอกสารประกอบการบรรยายของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต”

 

 

Quotations

 

'To raise new questions, new problems, to regard old problems from a new angle requires creative imagination and makes real advances'

 

Albert Einstein

 

 

'The gap between vision and current reality is also a source of energy. If there were no gap, there would be no need for any action to move towards the vision. We call this gap creative tension.'  

 

Peter Senge

 

'Schools should be a mirror of a future society.'  

 

Anonymous

 

 

'If we do not change our direction, we are likely to end up where we are headed.'  

 

 Chinese Proverb

 

ความเป็นมา

ผมขอขอบคุณสำนักงานเขตการศึกษาสมุทรปราการ ที่ให้เกียรติ เชิญผมบรรยายแก่ผู้บริหารสถานศึกษา (ผู้อำนวยการ) หัวข้อ  "การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม" เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดกิจกรรมต่อเนื่องในวันนี้ คือ การพัฒนาบุคลากรระดับรองผู้อำนวยการ เพื่อให้มองเห็นภาพเดียวกัน และทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

 

วัตถุประสงค์หลัก

  1. สร้างความเข้าใจภาพใหญ่ของการพัฒนาระบบการศึกษาไทย..รากฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสังคมไทย
  2. สร้างความเข้าใจในความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคตเพื่อการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะเยาวชนไทย
  3. เรียนรู้ปัจจัยท้าทายที่สำคัญของการบริหารการศึกษาในอนาคต คือ วิธีการเรียนการสอน การสร้างเครือข่ายและแนวร่วม และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  4. สร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ และสร้างความตระหนักเรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  5. สร้างการพัฒนาที่ต่อเนื่อง

 

 

โลกและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคต่าง ๆ ถึงปัจจุบัน

จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Forth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น

  •  
    •  
      • sustainability+
      • wisdom+
      • creativity+
      • Innovation+
      • intellectual capital.

 

การบริหารการศึกษาในวันนี้ ..เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจภาพใหญ่ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และบทบาทของระบบการศึกษาไทย ผมขอเสนอทฤษฎี HR Architecture

 

ผมคิดว่าปัจจัยที่ท้าทายของการบริหารการศึกษาในวันนี้..ขอยกเพียง 3 เรื่องใหญ่และสำคัญเพื่อการทำงานในระดับองค์กร (Micro) คือ

  1. ความท้าทายเรื่องการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้เด็กไทยคิดเป็น..วิเคราะห์เป็น คิดเป็นวิทยาศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดเชิงนวัตกรรม มีคุณธรรมจริยธรรมและมีจิตสาธารณะ
  2. ความท้ายทายเรื่องการสร้างและบริหารเครือข่ายและแนวร่วม (Networking) เพื่อสร้างพลัง สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการศึกษา
  3. ความท้าทายเรื่องการบริหารจัดการ (Management) โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจ+แรงบันดาลใจให้บุคลากรทำงานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ

สำหรับความท้าทายเรื่องการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้เด็กไทยคิดเป็น..วิเคราะห์เป็น คิดเป็นวิทยาศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดเชิงนวัตกรรม มีคุณธรรมจริยธรรมและมีจิตสาธารณะ ผมขอเสนอแนวคิดดังต่อไปนี้

  •  ทฤษฎี 4 L’s
  •  ทฤษฎี 2 R’s
  •  ทฤษฎี 2 I’s
  •  กฎของ Peter Senge

 

4 L’s

  • Learning Methodology
  • Learning Environment
  • Learning Opportunities
  • Learning Communities

 

2 R’s

  • Reality      
  • Relevance   

 

2 i’s

  • Inspiration
  •  Imagination

กฎของ Peter Senge
อยู่ในหนังสือ Rethinking the Future

g    Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง

g    Mental Models     มีแบบอย่างทางความคิด

g    Shared Vision      มีเป้าหมายร่วมกัน

g    Team Learning    เรียนรู้เป็นทีม ช่วยเหลือกัน

g    System Thinking มีระบบการคิด มีเหตุมีผล

 

 

สำหรับความท้ายทายเรื่องการสร้างและบริหารเครือข่ายและแนวร่วม (Networking) เพื่อสร้างพลัง สร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการศึกษา

     ผมคิดว่าเราจะต้องวิเคราะห์สิ่งต่อไปนี้

  • Stakeholders ของเรามีใครบ้าง?
  • และจะสร้างและบริหารอย่างไร?

 

การสร้างเครือข่าย

ใครคือ Stakeholders ของเรา?

 

การจะสร้างเครือข่ายที่ดี

                - ต้องเป็นคนที่ชอบคบหาสมาคมกับคน 

         หลายๆ กลุ่ม

                - มีโลกทัศน์ที่พร้อมจะเรียนรู้ และรับฟังความ

         คิดเห็นของคนอื่น

                - มีโลกทัศน์ที่กว้าง

                - มีบุคลิกที่เข้ากับคนได้ง่าย

                - เตรียมตัวศึกษาบุคคลที่เราอยากจะรู้จัก เช่น

         ศึกษาจุดอ่อน จุดแข็ง วิถีชีวิตของเขา

               

มีการติดตาม (Follow up) การสร้าง  

          เครือข่ายให้ได้ผลสูงสุด

                - เมื่อวัยเด็กผมอาจจะชอบการทำงานเป็นทีม 

          และชอบทำกิจกรรม และเล่นกีฬา

                - ไม่ชอบอยู่คนเดียว หรือใช้ชีวิตสันโดษ

                - มีทัศนคติที่เป็นบวก (Positive Thinking)

                - ชอบความหลากหลายในความคิด

          และวิถีชีวิตต่างๆ

แต่การมีบุคลิก หรือโลกทัศน์ที่กว้างอย่างเดียวก็ไม่พอ จะต้องสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ที่ลึก โดยเน้นหลักการ 3 เรื่อง การจะคบกับใครอย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์ระยะสั้นความสัมพันธ์ที่ดีจะต้องเกิดจากความสุข และ

ความสบายใจที่คบหากัน (Comfort Level) และค่อยๆไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกัน

 

ต้องเน้น Trust ความไว้เนื้อเชื่อใจ ต้องยอมรับ และนับถือในบุคคลเหล่านี้ (Respect) ไม่ได้มองจากบุคคลเหล่านั้นแค่ภายนอก หรือวัตถุ

       และน่าจะเน้นความแตกต่างกันทางความรู้ หรือทักษะ และศักยภาพ เพื่อสร้าง Synergy ให้ได้จริงๆ

 

พันธมิตรมักจะเกิดหลังจากมี Network แล้ว ซึ่งหมายความว่า เราจะเน้น Win/ Win ซึ่งถ้าเราสามารถทำได้ เราก็จะสร้าง Synergy ให้กว้างไกลขึ้น

- วันนี้ น่าจะได้สำรวจตัวเราเองว่า เราอยู่ตรงไหน เห็นความสำคัญของ Networking ฟังเหตุผล และนำประสบการณ์เหล่านั้นมาเป็นกรณีศึกษา      

 

Networking and Partnership เป็นทุนที่ทุกคนมีอยู่แล้ว ขึ้นอยู่ว่า เขาจะใช้หรือเปล่า และใช้แล้วได้ผลหรือไม่ เพราะไม่ใช่เฉพาะในระดับประเทศ

        ถ้าจะพูดไป การสร้าง Network วันนี้ มีเรื่อง Networking ไร้พรมแดนด้วย ผมเชื่อว่าทุกๆ คน ในห้องนี้ ฝึกได้ และนำไปใช้ได้ เพียงแต่ขอให้ทุกท่านปรับทัศนคติให้ดี

 

และความท้าทายเรื่องการบริหารจัดการ   (Management) โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจ+แรงบันดาลใจให้บุคลากรทำงานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ ผมขอเสนอ

  • ทฤษฎี 3 วงกลม
  • ทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s (ใหม่) และ
  • ทฤษฎี HRDS

 

ทฤษฎี  3 วงกลม

เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ดู contextในองค์กรว่าเอื้ออำนวยหรือเปล่า

- จะเอา IT มาใช้

- ระบบองค์กรที่คล่องตัว

- process ของงาน

- การนำ data และ knowledge มาสร้างมูลค่าเพิ่ม

 

มองดูคุณภาพจาก gap analysisว่ามี skills และ competencies อะไรและขาดอะไร  แล้วพยายามลดช่องว่าง Competencies ที่ผมได้เกริ่นไว้ในตอนต้น ประกอบด้วย 5 เรื่องที่สำคัญ ประกอบด้วย

  1. 1.      Functional Competency  คือ ความรู้ที่เราต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงาน เช่น วิศวกร ต้องฝึกเรื่องช่าง บัญชีก็ต้องฝึกเรื่องบัญชี
  2. 2.      Organizational  Competency เน้นเรื่องความรู้ที่มีประโยชน์ให้องค์กร  มีการศึกษาเรื่อง Reengineering, Six Sigma, การปรับองค์กร, TQM, วัฒนธรรมองค์กร, การทำงานเป็นทีม, การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
  3. 3.      Leadership Competency
  • เน้นเรื่อง People Skill
  • เน้นเรื่อง Vision
  • เน้นเรื่องการสร้าง Trust 
  1. 4.      Entrepreneurial  Competency
  • มีความคิดริเริ่ม
  • (2.) มีความคิดในเชิงผู้บริหาร
  • (3.) เผชิญหน้ากับความล้มเหลว
  • (4.) บริหารความเสี่ยง

        5. Macro and Global Competency

1.รู้ทันเหตุการณ์ว่าอะไรกำลังดำเนินอยู่ทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก

2. แสวงหาโอกาส และหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

 

ผมว่าคนไทยยังไม่มี...

ü      การแสวงหาความรู้ (Learning Culture )

ü      เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

ü      ภาวะผู้นำ

ü      การมองโลกทัศน์ที่กว้างและกำหนดวิสัยทัศน์ที่ดี

ü      Innovation 

ü      การบริหารเวลา (Time Management)

ü      Creativity

ü      การมีทัศนคติเป็นบวก (Positive Thinking)

ü      ทำงานเป็นทีม

ü      การบริหารความรู้ (Knowledge Management)

ü      Change management

ü      การกระจายอำนาจให้ได้ผล

ü      ความสามารถในการตัดสินใจ

ü      ความสามารถในการรับฟังและยอมรับความจริง

 

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

  • Human Capital                               ทุนมนุษย์
  • Intellectual Capital                 ทุนทางปัญญา
  • Ethical Capital                        ทุนทางจริยธรรม
  • Happiness Capital                   ทุนแห่งความสุข
  • Social Capital                             ทุนทางสังคม
  • Sustainability Capital       ทุนแห่งความยั่งยืน
  • Digital Capital                        ทุนทาง IT
  • Talented Capital                  ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

 

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital          ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital    ทุนทางความรู้

Innovation Capital    ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital          ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital             ทุนทางวัฒนธรรม

 

 

จะทำอย่างไร ให้การ motivation มีประสิทธิภาพ และเกิดผลจริงกับงาน

MOTIVATION

โครงสร้างเงินเดือน

-  การมีส่วนร่วม

-  การทำงานที่ท้าทาย

-  การทำงานเป็นทีม

-  การให้รางวัลพิเศษ

- การไปเพิ่มพูนความรู้

-  ค่าตอบแทนที่เป็นไปได้ เช่น โบนัส

-  วัฒนธรรมองค์กร

-  การประเมินผลอย่างโปร่งใส

-  ความเป็นธรรม

-Style การบริหาร

-  สภาพแวดล้อมในการทำงาน

-  Empowerment

-  อื่นๆ

นอกจากทฤษฎี 3 วงกลมแล้ว เพิ่มขอเติมประเด็นที่อาจจะสะท้อนวัฒนธรรมองค์กรของคนไทย ที่จะมองข้างในของมนุษย์มากกว่าข้างนอกที่ใช้ได้ผลในหลายวงการ คือ ทฤษฎี HRDS

ทฤษฎี HRDS

  • Happiness คือ การทำงานด้วยความสุขร่วมกัน
  •  Respect คือ การมีศรัทธาต่อกัน
  •  Dignity คือ การยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
  •  Sustainability คือ ความยั่งยืน    

3 Laws of Performance

  1. How people perform correlates to how situations occur to them.
  2. How a situation occurs, arises in language.
  3. Future-based language transforms how situations occur to people.

 

สำหรับการจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ ของ  การบริหารการศึกษาในวันนี้

   How = 20%

Why = 30%

the greatest challenge is execution (50%)

Make it happen!!

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท