เรียนรู้จากศิษย์


บางครั้งในขณะที่นักเรียนทำกิจกรรมครูเราก็ได้เรียนรู้จากสิ่งที่เราคาดไม่ถึงจากลูกศิษย์

     การเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาที่มีหลักการเชิงกระบวนการสำคัญข้อหนึ่งที่เน้นเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง  เผชิญสถานการณ์จริง  ที่นักเรียนมีสมาธิ คิดใคร่ครวญ จนเกิดปัญญา 

      ผมพบกับสิ่งที่ไม่อาจคาดคิดหรืออาจจะบอกว่ามหัศจรรย์ขึ้นเล็ก ๆ ในขณะให้นักเรียนปฏิบัติการทดลองฟิสิกส์ เรื่อง ความดันในของไหล สิ่งที่คาดไม่ถึงต่อการคิดของเด็กนักเรียนชายคนหนึ่ง คือ

     คำถามที่ต่อการทดลองว่า  หากเขาตามที่หนังสือหรือครูแนะนำ  อาจทำให้การวัดความดันคลาดเคลื่อน  เพราะเมื่อเลื่อนสายยางลงไปเลื่อย ๆ ระดับน้ำไม่คงที่ อาจทำให้ความคลาดเคลื่อน 

     ผมได้ฟังคำถามแล้วทึ่งกับความสามารถในการคิดที่พูดออกมาเป็นคำถามที่มีประโยชน์มาก  ผมกล่าวชมลูกศิษย์ด้วยความยกย่องว่า  เป็นคำถามที่ดีมาก   ผมนิ่งคิดต่อในใจ  และต้องรีบถามให้เขาคิดต่อเนื่องว่า  แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร

     และลูกศิษย์ก็ไม่ทำให้ผมผิดหวัง  เขาสามารถคิดแก้ปัญหาได้ว่า  ควรที่จะดึงสายยางออกจากกระบอกตวงแล้วค่อยเลื่อนลงไปใหม่เมื่อน้ำนิ่งแล้ว

                  

    ผมต้องขอบคุณลูกศิษย์ที่ทำให้ครูได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับเขา  เพราะบางทีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่เป็นของสดอาจมีปัญหาให้เราได้แก้ไข  หรือค้นพบวิธีแก้ปัญหาใหม่ที่มิอาจอยู่ในหนังสือ  หรือหนังสือไม่ได้บอก  เพราะการเรียนตามหนังสือบอกคือของตาย

     จิตตปัญญาศึกษาเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ใช้จิตใคร่ครวญจนเกิดปัญญา  ภายใต้บรรยากาศที่ปลอดภัย อบอุ่น

     จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่กระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูเราที่ควรหันมาสนใจการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงจากด้านในด้วยตัวของเขาเอง  คำถามต่าง ๆ ที่นักเรียนถามครู  เราควรใส่ใจ  ควรดีใจที่ลูกศิษย์เรากล้าถาม  และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากศิษย์  จะช่วยทำให้เขาภาคภูมิใจ

หมายเลขบันทึก: 384234เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2010 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

 ด้วยบรรยากาศที่ปลอดภัย  เด็กเขาพร้อมที่จะแสดงความคิดเห็นต่างๆ  บางเรื่อง เป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง  แม้เป็นเรื่องเล็กๆ  แต่ อาจสะเทือนถึงดวงดาวได้ครับ

  • ประสบการณ์ครูเรา มักเจอเรื่องราวที่เด็กๆทำได้เหนือกว่าครูคิดบ่อยๆเลยครับ ที่ใครๆบอกว่าควรเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ระหว่างครูกับนักเรียน จึงเห็นด้วยอย่างยิ่ง..บันทึกของอ.จักรกฤษณ์นี้ ก็ยืนยันอย่างนั้นเช่นกัน อาจารย์คงสบายดีนะครับ
  • ขอบคุณความรู้และแง่คิด และขอบคุณที่แวะเยี่ยมเยือน ห่างหายจากที่นี่ไปนานครับ

เรียนรู้จากศิษย์...

การเรียนรู้ของครู..ที่มีหัวใจเป็นครูที่แท้จริง

คุณครูคือ ผู้สร้างโลก ด้วยการสร้างเด็ก

ขอเป็นกำลังใจและชื่นชมครับคุณครู

ขอบคุณครับ

*** คำถามต่าง ๆ ที่นักเรียนถามครู เราควรใส่ใจ ควรดีใจที่ลูกศิษย์เรากล้าถาม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากศิษย์ จะช่วยทำให้เขาภาคภูมิใจ ..... ความรีบร้อนที่จะสอนให้จบตามหลักสูตร ครูอาจเว้นช่วงเวลาให้นักเรียนถามน้อยไป

*** อ่านบันทึกนี้แล้วคงต้องกลับไปฝึกให้นักเรียนหัดถามมากขึ้น

*** อ.จักรกฤษณ์ สบายดีนะคะ ระลึกถึงเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะอ.จักรกฤษณ์

*** ได้รับเสื้อแล้วค่ะ ขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง

*** ลูกชายอาจารย์คงโตขึ้นเยอะแล้วนะคะ ส่งภาพมาให้ชมบ้างนะคะ ขอบคุณค่ะ

นางสาวเบญจมาส จันทร์ดง

อาจารย์ที่เคารพค่ะ จำนักเรียนหัวหน้าห้องม6 ได้ไหมคะ เด็กบ้านกลางพิทยาคม งั้ย ที่ชอบชนกำแพงโรงเรียนงั้ยคะ อ. สบายดีไหมค่ะ หนูสบายดีค่ะหนูจะเรียนต่อที่มหาลัยเอเชีย ค่ะหนูไม่รู้ว่าจะเรียนไดป่าวหนูเรียน3เทอม เกรดแค่3.50เองค่ะ (ปวส.) เหลือเทมอสุดท้าย ค่ะ หนูเรียนการตลาดค่ะ อ. ค่ะ ที่อ. สอนเรื่องวิจัยตอนม.6 หนูได้เอามาใช้มากเลยค่ะ ขอบคูณนะค่ะอาจารย์

  • ใช่ค่ะ บางครั้งเด็กๆก็สร้างความประหลาดใจให้กับครูได้มากมาย
  • หากครูเราจะต้องไม่ไปปิดกั้นความคิดของเด็กให้ทำตามกรอบตลอดเวลา
  • ไม่ช้า.. เรื่องที่เราคาดำไม่ถึงก็อาจจะได้จากการเรียนรู้ไปพร้อมเด็กๆนี่แหละค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้ทั้งครูและนักเรียนทั่วประเทศเลยนะคะ.

สวัสดีค่ะ...

นางสาวเบญจมาส จันทร์ดง

สวัสดีค่ะอาจารย์จำหนูเบญจมาสได้ไหมค่ะ อาจารย์สบายดีบ่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท