โอกาสดีดี ที่ได้รู้จักการจัดการคลังปัญญา


โอกาสดีดี ที่ได้รู้จักการจัดการคลังปัญญา IR-ที่มาจาก Institutional Respository หรือ Intellectual Respository

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีแผนพัฒนาคลังปัญญาของมหาวิทยาลัย (KKUIR) มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 แล้ว และวันนี้ก็เป็นการถ่ายทอดความรู้ให้ End User ที่เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่มภารกิจ เพื่อให้ทราบว่า การบริหารจัดการคลังปัญญานั้นมีแนวทางอย่างไร และคลังปัญญาจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสำนักวิทยบริการ และมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้อย่างไร

วิทยากรวันนี้คือ คุณบดินทร์ ยางสุราช จากศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศ

พูดง่ายๆ คลังปัญญา นั้นหมายถึง ที่เก็บรวบรวมข้อมูล ความรู้ที่หน่วยงานนั้นเป็นเจ้าของ เช่น บทความวิชาการ เอกสารประกอบการเรียนการสอน ตำรา สไลด์ประกอบการเรียนการสอน โปสเตอร์แสดงผลงาน ภาพเหตุการณ์ วีดิทัศน์ เทปบรรยาย เป็นต้น

ตอนนี้โปรแกรมที่ใช้จัดการคลังปัญญาที่นิยมใช้กันแพร่หลายคือ Dspace ซึ่งเป็น Free Access ทั้งนี้ เพราะเจ้าโปรแกรมนี้เจ้าของผลงานสามารถส่งผลงานเข้าคลังได้ด้วยตนเอง ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากทุกคลังข้อมูลที่ใช้โปรแกรม Dspace ในการจัดเก็บ และมีระบบ WorkFlow ที่เหมาะสม

รูปแบบการลงรายการ ใช้ Doblin Core Metadata ซึ่งจากประสบการณ์ของวิทยากรที่สร้างคลังปัญญาที่ มทส. และ KKUIR กำหนดใช้เขตข้อมูลที่จำเป็นในการสร้างคลังปัญญาไว้ 15 เขตข้อมูล (Elements) ได้แก่

Contributor (ผู้รับผิดชอบ)              E-mail (อีเมล์ของเจ้าของผลงาน)

Title (ชื่อเรื่อง)                              Subject  (หัวเรื่อง)

Description (คำบรรยายลักษณะของผลงาน)   Publisher (ผู้รับผิดชอบในการจัดทรัพยากรให้อยู่ในรูปปัจจุบัน เช่น คณะวิชา  หน่วยงานผู้ให้ทุน)

Identifier (รหัสทรัพยากร รวมถึง ISBN, ISSN,URL, DOI)

Date (ปีที่ผลิตทรัพยากร ลงในรูปแบบ YYYY-MM-DD)

Type (ประเภทของทรัพยากร)          Language (ภาษาของเนื้อหา)

Relation (รายการที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น Citation)

Coverage (ขอบเขตเนื้อหาตามภูมิศาสตร์ หรือ ระยะเวลา-หากมีระบุไว้ในเนื้อหา)

Rights (สถาบันที่เป็นเจ้าของสิทธิมนผลงาน)

Degree (ข้อมูลเกี่ยวกับปริญญา หากผลงานนั้นเป็นวิทยานิพนธ์)

Format (รูปแบบการนำเสนอข้อมูล เช่น DOC, PDF, JPEG, PPT)

 

ในฐานะเป็น End User รู้สึกว่าการสร้างคลังปัญญาเป็นเรื่องที่ใหญ่ยิ่ง หากทำสำเร็จแล้ว หน่วยงานหรือองค์กรจะมีผลิตภัณฑ์ทางวิชาการที่สามารถนำไปสรางมูลค่าเพิ่มได้ และเป็นประโยชน์ต่อสังคมในการสร้างสังคมฐานความรู้ให้เข้มแข็งขึ้น

ทัศนะของสิริพรว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องมีการปรึกษาหารือในผู้บริหารระดับสูงเพื่อกำหนดนโนบายนการพัฒนาร่วมกัน

"การพัฒนาระบบอาจจะไม่อยาก แต่หากไม่มี Content จบเห่เลย" ตรงนี้แหละค่ะที่นโยบายของมหาวิทยาลัยจะช่วยให้ IR มี Content ที่สมบูรณ์ และเพื่อนำสู่บุคลากรของคณะวิชา ศูนย์ สถาบัน สำนัก ให้เห็นประโยชน์ในการนำข้อมูลไปจัดเก็บเป็นคลังปัญญาของมหาวิทยาลัย นอกจากนั้นนโยบายดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับการแจ้งลิขสิทธิ์ในการสร้างผลงานที่นอกจากผู้เขียนจะมีสิทธิในผลงานแล้ว หน่วยงาน/องค์กรยังมีสิทธิในผลงานนั้นด้วย เช่น เอกสารประกอบการสอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน...

 

ในขณะที่ระดับผู้นำกำหนดนโนบายไป หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น ห้องสมุด น่าจะ,uแผนในการพัฒนาที่ชัดเจน เช่น

ระยะที่ 1 ศึกษาระบบ/แต่งตั้งบุคลากรเพื่อรับผิดชอบ

ระยะที่ 2 ทดลองใช้ระบบ ศึกษาปัญหา แก้ไข

ระยะที่ 3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือและเตรียมข้อมูล

ระยะที่ 4 ใช้งานระบบเต็มฟังก์ชั่น ประเมินผล เป็นต้น

สำหรับสิริพร ในฐานะผู้ปฏิงานยังให้ความสำคัญกับ Content พอๆ กับระบบ ดังนั้นจึงเห็นว่า การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและการเตรียมข้อมูล นั้นมีความสำคัญ  ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ  ครบถ้วน และสามารถค้นคืนได้อย่างประสิทธิภาพ

ในการเตรียมข้อมูลนั้น สิริพร เห็นว่า คณะทำงานควรจะมีการตกลงกันในประเด็นของ

1. ประเภททรัพยากรที่จะนำเข้าคลังปัญญา ซึ่งจะสัมพันธ์กับการจัดประเภท (Collection) ของข้อมูลในคลังปัญญา

2. การสร้างชุมชน (Communities) ซึ่งสามารถกำหนดได้หลายวิธี เช่น แบ่งตามคณะ-สาขาวิชา  แบ่งตาม Subject แบ่งตามรหัสที่กำหนดขึ้น และแต่ละชุมชน ก็แบ่งเป็นหัวเรื่องย่อยๆ อีก

3. การจัดการเรื่องลิขสิทธิ์

4. ระบบการส่งข้อมูล เช่น ข้อมูลวิทยานิพนธ์มีบัณฑิตวิทยาลัยดูแล ข้อมูลวิจัยที่ดำเนินการโดยสำนักบริหารการวิจัยส่งโดยสำนักบริหารการวิจัย ผลงานวิชาการของคณะวิชา ส่งโดยงานวิชาการคณะต่างๆ

5. คำค้น ซึ่งอาจมาจากหัวเรื่องหรือคำบรรยายลักษณะ กำหนดใช้เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ หรือขึ้นอยู่กับภาษาของเอกสาร หรือใช้ทั้งสองภาษา

6. Master Plan ที่จะช่วยในการออกแบบพื้นที่การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น เซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น ทั้งนี้สถิติการนำข้อมูลเข้าในแต่ละปีก็จะเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนงาน สามารถที่จะคำนวณและจัดหาวัสดุอุปกรณ์มารองรับการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพต่อไปได้

 


หมายเลขบันทึก: 383827เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2010 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

ผมได้ทำตัวอย่าง Km ของห้องสมุดไว้ หากสนใจ แวะไปที่ http://gotoknow.org/blog/tomkku/379123

ขอบคุณครับ

 

Thanks รศ. เพชรากร หาญพานิชย์ อย่างมากค่ะ

  • น่าสนใจมาก
  • ขอตามไปดูก่อนนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีวันแม่ค่ะ อาจารย์ขจิต
  • เรื่องคลังปัญญากำลังเป็นเรื่องที่ Hot hit ในวงการห้องสมุดค่ะ
  • ก็ได้แต่เป็นกำลังใจให้กับคนทำงาน อยากให้สำเร็จไวๆ จังค่ะ
  • อาจารย์สบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะพี่สิริพรนานๆได้เข้ามาเยี่ยมค่ะมาอ่านคลังปัญญา ห้องสมุดคือหัวใจในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเชียวแหละขอติดตามอ่านนะคะ

  • น้อง Rinda คะ เรื่องคลังปัญญาก็นับว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับพี่
  • ก็พยายามครูพักลักจำ เผื่อจะได้มีโอกาสได้นำมาใช้กับงานประจำบ้าง
  • ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยมเยียน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท