ลปรร. ตำบลต้นแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (2) ระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในประเทศไทย


 

ศ.นพ.สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล ค่ะ มาจุดประกายความคิดในเรื่อง ระบบการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย

มุมมองต่อเรื่อง ผู้สูงอายุ

คำว่า Long Term Care (LTC) หรือการดูแลระยะยาว คืออะไร

... นิยาม กับการทำงานไม่สอดคล้องกันเยอะ

เราต้องมองว่า เราทำ LTC ให้ใคร ... คำถามที่ 1

คำถามที่ 2 คือ ... ใครจะต้อง care หรือดูแล

กลุ่มหนึ่งบอกว่า คนที่ต้องดูแลเขาก็คือ คนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ คนที่ต้องพึ่งพา ... นี่มาจาก original ของต่างประเทศ

โดยข้อเท็จจริง เวลามองนโยบาย หรือผู้ปฏิบัติ พบว่า มันไม่ได้แบ่งกันง่ายๆ ... ข้อเท็จจริงคือ มันมีช่วงเปลี่ยนผ่านเสมอ ในบ้านเราเริ่มมีคนมองว่า คำว่า LTC ถ้าจะให้เหมาะกับบ้านเรา คือ มองไปที่ คนสูงอายุที่ยังช่วยตัวเองได้ด้วยหรือไม่ ... เป็นมุมมองใหม่ ... แต่ไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ ดีทั้งนั้น เพราะว่า เราต้องการให้ คนสูงอายุได้สิ่งที่สมควรได้ ดีที่สุด

อันที่สอง ใครต้องดูแล

  • ซีกหนึ่ง คนอื่นดูแลคนสูงอายุ กับซีกที่สอง คือ คนสูงอายุดูแลตัวเอง ทำให้ตัวเอง อย่าง ส่งเสริม ป้องกัน เอาใจใส่ และอื่นๆ
  • คนอื่นทำให้ผู้สูงอายุ
    ... มีการส่งเสริมป้องกัน ที่ไปช่วยให้ความรู้ จัดระบบ และอื่นๆ
    ... หรือการให้บริการที่เขาลำบากขึ้นเรื่อยๆ แบบไม่เป็นทางการ ดูแลในครัวเรือน ในชุมชน หรือเอกชนทำ

จริงๆ คนสูงอายุบ้านเรา ในปัจจุบัน และอนาคต ต้องการอะไร อะไรคือสิ่งที่เขาต้องการมากกว่า และเราจะเตรียมอะไร เพื่อตอบสนองความต้องการของเขา

  • ตอนนี้ อัตราการเพิ่มสูงขึ้นของผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เร็วมาก ปัจจุบันประมาณ 10 กว่า% อีก 40 ปีข้างหน้า ไปถึง 30%
  • คนอายุ 80 ปีขึ้นไป อัตราการเพิ่มเร็วกว่า เริ่มที่ปี 1995 เพิ่ม 1-2% พอปี 2050 เป็น 7-8% คือ และจำนวนน้อยที่ยังคงทำงานอยู่
  • สัดส่วนระหว่างเด็ก หารด้วยคนวัยทำงาน (15-59 ปี) ลดลงเรื่อยๆ ขณะที่ผู้สูงอายุหารด้วยวัยทำงาน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาตัดกันที่ 2020 ... พูดง่ายๆ ว่า อีก 10 ปีข้างหน้าผู้สูงอายุจะมากกว่าเด็ก และจะไม่ต่ำกว่าอีกเลย เป็นปี critical ... อันที่สอง คือ ปี 2020 ก็เป็นปี critical เหมือนกัน ที่ผู้สูงอายุจะมีจำนวนจะมากกว่าเด็ก
  • ถ้าเอาจำนวนเด็ก รวมกับผู้สูงอายุหารด้วยจำนวนคนทำงาน จุดต่ำสุด คือ จุดที่เราเรียกว่า การเปลี่ยนทางด้านประชากร แปลว่า คนทำงานมีเยอะ แต่คนใช้เงินมีน้อยกว่า คือ ปี 2005 เลยมาแล้ว ทำให้หลังจากนี้ไปเรื่อยๆ คนกินจะมากกว่าคนหา หรือคนที่ได้รับการดูแลจะมากขึ้นเรื่อยๆ กว่าคนที่ดูแล
  • ปัจจุบัน เรามีคนสูงอายุเยอะ ทุกคนต้องตาย ก่อนตายต้องนอน ก่อนนอนก็ต้องนั่ง ... เราหนีความจริงนี้ไม่พ้น แต่ส่วนใหญ่วัยสูงอายุช่วยตัวเองได้ เวลาส่วนน้อยช่วยตัวเองไม่ได้ ... แต่ละคนไม่เท่ากัน คนที่อายุ 60 ปี ณ วันนี้ จะอยู่ไปได้อีกประมาณ 10 ปี เขาจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีโดยเฉลี่ย ที่ต้องมีคนช่วยเหลือ และใช้เวลาเฉลี่ยเกือบปี ที่ต้องมีคนป้อนน้ำ ป้อนข้าว ก็จะเกิดปัญหาว่า คนจำนวนนี้ส่วนใหญ่อยู่ที่ไหน ก็จะอยู่ที่บ้าน ถ้าอยู่ที่บ้านไม่ได้ก็ต้องอยู่ที่โรงพยาบาล
  • บ้านพักคนชรา ก็เหมือนบ้าน เพียงแต่เปลี่ยนจากญาติดู มาเป็นคนอื่นดู หรือ nursing home ก็แบบเดียวกัน
  • กลุ่มที่ต้องการคนดูแล ส่วนใหญ่อยู่ที่บ้าน ส่วนน้อยอยู่ที่โรงพยาบาล ถ้าอยู่ที่บ้าน ครอบครัวก็เป็นผู้ดู ส่วนใหญ่คู่สมรสดูแลกัน และส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้หญิงดูแลผู้ชาย พอถึงผู้หญิง ลูกดู ลูกส่วนใหญ่จะเป็นลูกสาว และมักเป็นลูกสาวคนเล็ก รองลงมาคือ ลูกสาวที่ไม่ได้แต่งงาน

คนที่มองว่า LTC ระยะยาว เป็นเรื่องของผู้สูงอายุทั้งหมดเลย ไม่ใช่คนที่ต้องพึ่งพา ไม่ได้เป็นเฉพาะคนทำให้ แต่เป็นเรื่องของ ตัวเองดูแลตัวเอง การมองนี้จะมองไกลไปถึงชุมชน ถึงในครอบครัว ว่า ต้องทำอย่างไร เขาถึงจะอยู่ได้

  • มีการเปลี่ยนแปลงในประเทศ มองที่ครอบครัว ครัวเรือน ... จำนวนเด็กแต่ละครอบครัวลดลง และจำนวนผู้สูงอายุที่จะต้องพึ่งพาเยอะขึ้น การแต่งงานเริ่มลดลง การ delay ที่จะมีบุตร ก็ห่างออก ตอนนี้คนมีลูกอายุก็มีอายุเยอะขึ้น กว่าลูกจะใช้งานได้ ก็แก่แล้ว จำนวนไม่น้อยที่อยู่เป็นโสด และปัจจุบัน ครอบครัวแยกออกไป ครอบครัวบ้านใหญ่น้อยลง แต่งแล้วนิยมอยู่กันเอง ... ที่อยู่กันได้ ช่วยกันน้อยลง
  • ตอนนี้ ผู้หญิงมีมากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงทำงานเยอะกว่าผู้ชาย ... ผู้หญิงส่วนใหญ่จึงเป็นคนที่ลำบาก เพราะว่างานก็ต้องทำ ลูกก็ต้องดู พ่อแม่ก็ต้องดู แต่ผู้หญิงเหล่านี้ พอตัวเองแก่ นึกไม่ออกว่า ใครจะดูแล ใครมีลูกสาวโชคดี
  • ข้อมูลทั้งหมดบอกอะไรเราบางอย่าง ในเรื่องของ ทัศนคติ ค่านิยม การกตัญญูต่อพ่อแม่ เราพบว่า drop ลง แต่ไม่เยอะ
  • ปัญหาของการดูแลในครัวเรือน คำว่า LTC เราพูดถึงคนที่ต้องพึ่งพา และมีคนดูแล ... เป็นเรื่องสำคัญ ปัญหาส่วนใหญ่ของการดูแลในครัวเรือน เป็นเรื่องของความอึด จะมีคนในครอบครัวมาช่วยดู แต่ถามว่า เขาจะอึดได้นานเท่าไร เมื่ออึดไม่ไหว เขาก็ต้องลดคุณภาพการดูแล ไม่ไหวอีก ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ไหวอีก ก็ต้องนำไปวางไว้บางที่ เพราะว่าฉันดูแลไม่ไหวแล้ว ... นี่คือ ธรรมชาติ เขาต้องหาทางออก เพราะว่าเขารับไม่ไหว มันร้าวง่าย
  • เวลาที่เราพูดถึง "ระบบการดูแลระยะยาว" ก็คือ เราอยากให้เขาอยู่กับครอบครัวให้ได้มากที่สุด แปลว่า เราต้องพร้อมที่จะไปทำให้คนที่ดูแลเขา ดูแลให้ได้อึดที่สุด ... ภาพกว้าง คือ ให้คนสูงอายุดูแลตัวเองได้นานที่สุด และเหลือช่วงเวลาที่สั้นที่สุด ที่เขาต้องพึ่งพาคนอื่น และเมื่อไรที่เขาต้องพึ่งพาคนอื่น เราจะช่วยให้คนที่ดูแลอึดได้นานที่สุด ไม่ต้องเอาไปไว้ที่ไหน

มันมีปัญหา และจะเกิดอะไรขึ้น กระแสเริ่มเปลี่ยน

กรมอนามัยดูเรื่องส่งเสริมป้องกัน มาต่อเรื่องผู้สูงอายุก็จะเริ่มมอง

  • ชมรมผู้สูงอายุเข้มแข็ง ผู้สูงอายุดูแลตัวเองได้
  • มีอาสาสมัครไปดูแลผู้สูงอายุ เพราะว่าผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งเริ่มมีปัญหา มีคนไปเริ่มช่วย ในฐานะเพื่อนกับเพื่อน มี 2 อย่าง คือ Home Health Care กับการดูแลระยะยาว กรมอนามัยเริ่มมองอะไรบางอย่างครอบคลุมกว้างขึ้น

ความไม่แน่นอนทำให้มีระบบขึ้นมารองรับ เช่น

  • เรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ตั้งเรื่องระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า
  • เรื่องเบี้ยยังชีพ ... ตอนนี้เป็นหลักประกัน แต่ก่อนบอกว่าเป็นตาข่าย แต่ตอนนี้เป็นพื้น เพราะว่า สักคนก็ไม่ให้หล่น

หน่วยงานต่างๆ ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือใครก็ตามมีทางออกอะไรได้บ้าง

ภาพนี้แยกเป็น 2 ส่วน บนคือชุมชน ล่างคือ สถาบัน (บ้าน บ้านพักคนชรา หรืออื่นๆ) ช่องทางซ้ายมือ คือ Social care การดูแลด้านสังคม ช่องตรงกลาง คือ Nursing care ช่องถัดไป Complex care คือ การดูแลซับซ้อน

Nursing care คือ ทำแผล ให้ความรู้

Complex care คือ Not just nurse ... ในที่นี้ คือ พยาบาล และสหาย (ผู้ช่วย บุคลากรอื่นๆ) แปลว่า เขาต้องการการดูแลที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น กายภาพบำบัด หมอฟัน หมอ เข้าไปช่วยกันดู ซับซ้อนขึ้น

เขาบอกว่า ให้ดูผู้สูงอายุเป็นช่วงวัย ดูแลตัวเองได้หมด ดูแลได้บ้าง ดูแลไม่ได้ บางคนเอาอายุมาแบ่ง Young-old, Old-old, Mid-old เวลาคนพูดถึง solution เขาแยกที่ ความต้องการ (Need) ง่ายและชัดกว่า เพราะว่าผู้สูงอายุที่ช่วยตนเองไม่ได้บ้าง อาจจะอยู่ที่ Social care เพราะว่า พอเดินได้ แต่เขาไม่ได้ต้องการให้มี Nursing care ที่บ้าน มุมมองจะต่างกัน อันหนึ่งมองผู้รับ อันหนึ่งมองบริการที่เราต้องจัดให้เขา หรือต้องไปส่งเสริม หรือสร้างให้เกิด

ภาพนี้ เราจะรู้สึกว่า Community ขนาดเท่ากับสถาบัน หรือ Social care และ Complex care ไม่เท่ากัน เมื่อเราเข้าไปดู เราประเมิน Self care ว่าเขาดูแลตัวเองได้แค่ไหน เขาเคลื่อนที่ได้หรือไม่ เขาเคลื่อนที่ด้วยตัวเองได้หรือไม่ เขาต้องใช้อุปกรณ์หรือเปล่า ... เหล่านี้มีความหมายในเรื่องของการจัด Service ให้ สามารถจะอยู่คนเดียวในชุมชนได้หรือไม่ หรือสามารถอยู่ที่บ้านคนเดียวได้หรือไม่ มีผลว่า เราจะจัดหน่วยงานช่วยเขาได้อย่างไร

เขามีความเสี่ยงไหม ที่จะโดนทารุณกรรม ถูกทอดทิ้ง เรื่องสมองเสื่อม ความไม่ปลอดภัยที่บ้าน เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย สภาพไม่เหมาะสม ยากจนหรือไม่ หรือไม่มีบ้านให้อยู่

มี 4 ประเภท ที่เราจะไปประเมินว่า เขาต้องการความช่วยเหลือ หรือบริการอะไรบ้าง ซึ่งไม่เท่ากัน อะไรที่บอกว่าต้องการบริการทาง social เยอะ ส่วนทางด้าน complex care จำนวนไม่เยอะ แต่ความทุกข์ทางด้าน complex care มหาศาล ทางด้าน Social care น้อย แปลว่า ผู้สูงอายุไม่มีชมรมผู้สูงอายุ ก็ไม่เดือดร้อน ไม่ตาย ไม่ลำบาก ไปวัดก็ได้ แต่คนที่นอนแบบ แล้วลูกดูไม่ไหว เดือดร้อนมหาศาล ทั้งตัวเอง และลูก ของบางอย่าง จำนวนมากแต่ผลกระทบไม่เยอะ ของบางอย่างจำนวนน้อย ผลกระทบมหาศาล ... ผมไม่ได้บอกว่า ชมรมผู้สูงอายุไม่สำคัญนะครับ

เวลาพูดถึง Social care ที่เป็นสถานบริการ เราพูดถึงบ้านพักคนชรา แบบอื่นๆ ที่เยอะที่สุดคือ วัด เป็น residential home อีกหลายที่ที่ซ่อนเร้นอยู่ที่เรายังมองไม่เห็น

ทางฝั่งชุมชน มี home care มาช่วยดูแลบ้าน หรือระบบอาสาสมัคร เบอร์ 1 คือ Social care มีคนมาเยี่ยม ดีใจ ไปช่วยดูแลบ้านช่อง พาไปตลาด พาไปโรงพยาบาล เป็น Volunteer ทั้งนั้น

Health care เป็นสิ่งที่เขาต้องรู้เรื่องสุขภาพ เขาต้องไปบอกกันต่อ ช่วยกันดู แต่เขาก็ไปเป็นพยาบาลไม่ได้ ต้องแยกให้ออก ... Volunteer ส่วนใหญ่จึงเป็น Social care

Home care คือ ลักษณะของกิจกรรมที่ไปทำให้

ส่วน Volunteer หรือ คนที่จ้างมา ก็คือ ที่มาของผู้ให้บริการ

ในชุมชน ท้องถิ่น อบต. เป็นหัวใจ เพราะว่า อบต. ทำ care giver ก็ได้ อบต. จ่ายเอง จ้างงานในชุมชน

ที่จริงเราต้องการ Home nursing service คือ การไปดูแลที่บ้าน อบต. ทำได้ เพียงแต่ขอความร่วมมือจากสาธารณสุข ทำกัน เสริมกันไป

Complex care ต้องมีการดูแลพิเศษ ติดตามเฉพาะ ฟื้นฟูสภาพ ถ้าในสถานบริการ ต้องเปิดเฉพาะ หมอเข้าไปดูได้ทุกวัน เป็น Long stay

ถ้าชุมชนทำ Community service ต้องการคนไป support เยอะ ต้องตั้งระบบ

ซ้ายมือข้างบน องค์กรปกติทำได้เลย อันที่สองยากขึ้น แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำได้ แข่งกันได้ เป็นแบบ dynamic ช่วยกันทำ อันที่สาม อปท. อย่าทำ เจ๊ง ต้องให้กระทรวงทำ ... ข้างล่าง ส่วนกลางต้องคิด

Social care ถ้ามองที่คนที่ช่วยเหลือตัวเองได้ดี คือ ชมรมผู้สูงอายุ สภากาแฟ ถ้าเรามองเพื่อการขยายต่อไป

ตรงกลาง ผมไม่อยากให้มี Nursing home เยอะๆ เพราะว่าไม่ไหว Long stay ไม่เกิดเลยก็จะดี จึงมี buffer ที่เกิดระหว่างสถานบริการ กับชุมชน ก็คือ Day care อยู่ที่ไหนก็ได้ จะเป็นโรงพยาบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่วัดก็ได้ แปลว่า ลูกต้องทำงาน กลางวันเอามาฝากโรงพยาบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใจกว้าง เอารถไปรับ ยิ่งกว่านั้น ไปดูที่บ้านก็ทำได้ หรือ Volunteer ผลัดกันไป day care ที่บ้านก็ได้

Respite care เหมือนกับดูแล ช่วยกัน แต่ต่างที่ต้องมาฝากไว้ค้างคืน

Day Hospital คือ ต้องการคนดูมากขึ้น แต่มาไว้ กับโรงพยาบาล โรงพยาบาลดูให้

Intermediate care เป็น buffer อีกตัวหนึ่งที่อาจจะดูดีกว่าไปโรงพยาบาล แต่แย่กว่าที่บ้าน เราจะมีหอพิเศษ เพื่อพักฟื้น ว่าลูกหลานดูแลไหว ปรับตัวทัน

ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำได้แน่ๆ คือ Day care ... สิ่งที่จำเป็นมาก คือ เราต้องมี Nursing home แน่ๆ ของภาครัฐ ... เราทำ Social care / Day care ได้ก่อนเลย

ผมดีใจกับการทำโครงการ และมีอาสาสมัคร เป็นหัวใจเบื้องต้น และเราต้องกำหนดขอบเขตให้ชัด เราต้องสร้างระบบรองรับ ระบบที่จะเป็นประตู การให้เงิน Subsidized ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน ค่าบริการจะได้ลดลง เป็นหลักคิด และก็ต้องทำมาตรฐานด้วย

Non profit group ที่ใหญ่ที่สุด คือ วัด ความสามารถทำอย่างไรที่ทำให้ท่าน เจ้าอาวาส เห็นโอกาสที่จะทำ แต่ต้องไม่ลืมว่า วัดทำเป็นแบบ professional ไม่ได้ วัดไม่ควรทำโนรงพยาบาล แต่วัดส่งเสริม Social care / Nursing care ได้ วัดควรหลีกเลี่ยงเป็น Nursing home

และที่เราทำได้ คือ จัดประกวดทุกปี ส่งทีมงานไปศึกษาว่า Work ได้อย่างไร ทำอย่างไรให้มันอยู่ได้อย่างยั่งยืน

รวมเรื่อง ลปรร. ตำบลต้นแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

 

หมายเลขบันทึก: 383283เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2010 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

น่าสนใจครับ เพราะ เป็นผู้เฒ่าแล้วครับ

  • P
  • อ.JJ มาเล่นเรื่อง สว. กันดีกว่าค่ะ อิอิ

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้ค่ะ เพราะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอีกคนแล้วค่ะ  ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

คุณหมอครับ...

เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่โตมาก ๆ ครับ

ผมกำลังชวนเพื่อน ๆ บางคนที่ตาก โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่นให้ทำโครงการเพื่อรองรับปัญหานี้ในระดับตำบล

มีประสบการณ์การทำงานในระดับหมู่บ้าน/ตำบล ที่พอจะเป็นตัวอย่างให้เรียนรู้บ้างไหมครับ

  • P
  • สวัสดีค่ะ ดีใจจัง จะได้เจอ ครูคิม ตัวเป็นๆ ที่กระบี่
  • ขอบคุณที่จะมาช่วย เก็บเกี่ยวความรู้กันค่ะ
  • P
  • เบื้องต้นที่พี่ติดใจ มีที่ ต.วังน้ำเย็น อ.แสวงหา อ่างทอง, ต.สมอพลือ อ.บ้านลาด เพชรบุรี, ต.นาแสง อ.ศรีวิไล หนองคาย
  • ยังมีอื่นๆ อีกค่ะ ต้องค่อยๆ เก็บ
  • นอกเหนือจากนั้น คิดใหม่ ทำใหม่ ก็ได้เหมือนกันนะคะ
  • เจอกันที่กระบี่นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท