รูปแบบการสอนเสริมปัญญาพัฒนาความคิด วิทยาทานจากครูแอนน์ ทัศนีย์ มงคลรัตน์


           บันทึกนี้เป็น รูปแบบการสอนที่วิเคราะห์และสังเคราะห์มาจากครูต้นแบบ  ซึ่งจัดทำโดยครูแอนน์  ทัศนีย์  มงคลรัตน์  ครูใจดีจาก โรงเรียนสามง่ามชนูปถัมภ์  จ.พิจิตร  ซึ่งได้มอบมาให้ครูภาทิพได้เผยแพร่แก่ผู้สนใจ  ขอบคุณครูแอนน์ค่ะ

 

รูปแบบการสอนเสริมปัญญาพัฒนาความคิด

 

ขั้นที่ ๑   สร้างบรรยากาศก่อนเริ่ม

ขั้นที่ ๒  เสริมปัญญา

ขั้นที่ ๓  พัฒนาความคิด

ขั้นที่ ๔  ตามติดด้วยการสรุปผลงาน

ขั้นที่ ๕  เชี่ยวชาญการประเมิน

ขั้นที่ ๖  เพลิดเพลินด้วยการกระยุกต์ใช้

 

 

นิยามศัพท์

รูปแบบการสอนเสริมปัญญาพัฒนาความคิด

 

ขั้นที่๑  สร้างบรรยากาศก่อนเริ่ม :  เป็นขั้นนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียน เช่น การใช้เพลง เกม การสร้างบรรยากาศ  แจ้งวัตถุประสงค์  บอกวิธีการเรียน เตรียมพร้อมผู้เรียน เป็นต้น

 

 

ขั้นที่ ๒  เสริมปัญญา : เป็นขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค/วิธีการเรียนการสอน เช่น   การสร้างองค์ความรู้ บูรณาการการปฏิบัติ การใช้คำถามกระตุ้นการคิด การแสดงบทบาทสมมุติ การใช้แหล่งเรียนรู้  การใช้โครงงาน  กระบวนการกลุ่ม  การเรียนแบบร่วมมือ   กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  พหุปัญญา เป็นต้น

 

 

ขั้นที่ ๓  พัฒนาความคิด :  เป็นขั้นสะท้อนความคิดจากการนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นในการทำกิจกรรมทั้งด้านองค์ความรู้ ทักษะ/กระบวนการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้   นำนวัตกรรมไปใช้ในการเสนอผลงาน  อภิปราย  จัดนิทรรศการ เป็นต้น

 

 

ขั้นที่ ๔  ตามติดด้วยการสรุปผลงาน :  เป็นขั้นการสรุปผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดย    วิธีการต่าง ๆ เช่น การพูด  การเขียนสื่อความ  การจัดนิทรรศการ  การใช้ผังมโนทัศน์    (Mapping)   Power Point  การจัดการความรู้ (KM) เป็นต้น

 

 

ขั้นที่ ๕  เชี่ยวชาญการประเมิน :  เป็นขั้นการตรวจสอบองค์ความรู้ ทักษะ/กระบวนการ เจตคติด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย เช่น  การสังเกต  สอบถาม  แบบทดสอบ  สัมภาษณ์  ผลงาน    ภาระงาน  การสร้างเกณฑ์การประเมิน(Rubric) เป็นต้น

 

 

ขั้นที่ ๖  เพลิดเพลินด้วยการกระยุกต์ใช้ :  เป็นขั้นบูรณาการความรู้ ทักษะ/กระบวนการ เจตคติที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอย่างสร้างสรรค์ เช่น   การค้นคว้าเพิ่มเติม กิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์  เผยแพร่  สร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่  นิทรรศการ ต่อยอดจิตอาสา  คุณธรรม เป็นต้น

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 381218เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2010 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสคีรับ   เป็นการนำสาระที่ดีมาให้อ่านที่เป็นเรื่องที่สนใจของคุณครูทุกคนครับ  ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

สวัสดีค่ะ คุณธนา  ขอบคุณที่แวะมาอ่านและทักทายค่ะ

น่าสนใจครับ ขยายให้ครูชนบทได้รับทราบกันกว้างขวางมากๆ นะครับ เด็กๆ จะได้ประโยชย์มาก

สวัสดีค่ะครูหยุย   ครูแอนน์เจ้าของผลงาน  เป็นครูดีครูเก่งอีกท่านหนึ่ง  ที่มีความสามารถมาก และมักจะอยู่เบื้องหลังมากกว่าจะออกมาแสดงตน  ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูภาทิพ

ครูบันเทิงเองค่ะ P วันนี้มาในรูปแบบ ชมรมภาษาไทย สพท.ระนองน่ะค่ะ

อยากจะขอคำปรึกษาพี่ภาทิพหน่อยค่ะ

คือว่า..สพท.ระนองเพิ่งจัดตั้งชมรมภาษาไทยขึ้นค่ะ อยากจะเรียนถามพี่ว่าในภาคใต้เรามีที่ใดบ้างที่ดำเนินการเกี่ยวชมรมภาษาไทยได้อย่างเข้มแข็ง หรือเป็นแม่แบบ

คือว่าทางชมรมภาษาไทย สพท.ระนอง จะไปศึกษาดูงานน่ะคะ ครูบันเทิงซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ผช.ประชาสัมพันธ์ก็ต้องเฟ้นหา ชมรมตัวอย่างดังกล่าวคะ  รบกวนพี่ภาทิพช่วยแนะนำหน่อยน่ะค่ะ จะเป็นทางภาคก็ได้ค่ะ ที่ไม่ไกลกรุงเทพมากนัก

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ครูบันเทิง P..

     สวัสดีค่ะ  ที่สุราษฎร์ธานีศูนย์ภาษาไทย  ซึ่งเป็นศูนย์เดิมตั้งแต่เป็นกรมสามัญศึกษา มีทีมงานที่เข้มแข็งมาก  และยั่งยืนมาได้ถึงปัจจุบัน  แม้ว่ากรมสามัญศึกษาเดิมจะไม่มีองค์กรแล้ว    ศูนย์นี้ตั้งอยู่ที่โรงเรียนท่าชนะ   แต่คณะทำงานคือกลุ่มครูภาษาไทยที่มาจากโรงเรียนต่างๆ ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ   และคิดว่าเมื่อมีสำนักมัธยม   ฯ งานศูนย์ภาษาไทยก็จะกลับมาผงาดและทำงานกันด้วยความสนุกเช่นเดิมค่ะ

 

        ส่วนชมรมที่สุราษฎร์ธานี จะมีชมรมครูแกนนำ   ดำเนินการโดยครูแกนนำจากกลุ่มสาระต่างๆ  ปัจจุบันครูแกนนำส่วนใหญ่เกษียณและลาออกไปมาก   งานนี้จึงเหลือแต่เอกสารค่ะ

ขอบคุณคะพี่ภาทิพ

สำหรับข้อมูลต่างๆที่เป็นความรู้ และประโยชน์มากๆที่จะใช้ในการศึกษาดูงานครั้งนี้

ถ้าหากเป็นที่โรงเรียนสุราษฏร์ธานีที่พี่ภาทิพอยู่เลยจะดีใหมคะ เพราะจากที่หนูเข้าไปศึกษาข้อมูลในเวปไซค์ของพี่ ก็มีผลงานที่เป็นประโยชน์และเป็นที่ประจักษ์อย่างดีเยี่ยมอยู่มากมาย  และหนูก็ยินดีมากๆถ้าหากได้เจอพี่ที่นั่น  

ขอคำแนะนำอีกนิดน่ะคะ  ขอบคุณคะ 

สวัสดีค่ะ 

ที่กลุ่มสาระภาษาไทย  ของโรงเรียน  หากจะมาดูงาน คงดูได้เฉพาะงานนักเรียนความสามารถพิเศษ กิฟท์ไทย มั้งคะ  สำหรับครูภาทิพไม่มีอะไรที่ตัวเพราะทุกอย่างอยู่บนเว็บ ส่วนครูท่านอื่นๆ  ก็กำลังเก็บสิ่งของเพราะเกษียณกับเออร์ลี่ ทั้งหมด ๖ คน  ไม่ได้รังเกียจนะคะ  อยากให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนที่เขามีอะไรดีๆ มากกว่าค่ะ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท