วิถีชีวิตของคนหาปลา ( การทำหลี่ ) ของคนลาวใต้


คนหาปลา (การทำหลี่) ของคนลาวใต้

วิถีชีวิตของคนหาปลา (การทำหลี่)

       การทำหลี่ถือได้ว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งในการเพิ่มรายได้ของชาวประมงหรือคนที่ประกอบอาชีพโดยการหาปลา ซึ่งจะต้องอาศัยทั้งความรู้ ความสามารถ และความอดทนอย่างมาก เพราะจะต้องรู้วิธีการทำหลี่เป็นอย่างดี กว่าจะเห็นผลก็ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือน

       การทำหลี่ สามารถสรุปเป็นประเด็นหลักๆ ได้ดังนี้

1. การถ่ายทอดภูมิปัญญา

       การทำหลี่ ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างหนึ่งของคนลาวใต้ ที่ใช้ในการประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว เป็นความสามารถในการใช้พื้นความรู้สร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาและดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น

2. ทักษะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ สืบทอด

        1) ได้เรียนรู้วิธีหรือขั้นตอนในการทำหลี่ของคนลาวใต้

        2) การทำหลี่จะต้องอาศัยทักษะหลายๆ ด้าน เช่น ด้านความรู้ ความสามารถ และความอดทน เป็นต้น

        3) การทำหลี่จะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เช่น ทุนหรืองบประมาณในการทำหลี่

คนหรือแรงงาน เป็นต้น

3. คุณค่าและความสัมพันธ์กับ 3 องค์ประกอบ

         1) คนกับคน คือ ทำให้คนในชุมชนนั้นๆ รักใคร่ สามัคคีกัน เกิดภูมิปัญญาเกี่ยวกับ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาและวรรณกรรม

          2) คนกับธรรมชาติ คือ เกิดภูมิปัญญาเกี่ยวกับ อาชีพ ปัจจัยสี่ และการจัดการ

          3) คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ คือ เกิดภูมิปัญญาเกี่ยวกับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาสนา และความเชื่อ

หมายเลขบันทึก: 380922เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2010 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท