เปิดบันทึก Chira - งานวิจัย


ผมสนใจ Research ตั้งแต่ผมเรียน Ph.D. ที่อเมริกา วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของผมตีพิมพ์ที่ University of Chicago – Journal of Economic development and cultural change ร่วมกับ Naori Hashimoto อาจารย์ของผมซึ่งปัจจุบันดังมากที่อเมริกา

        ในช่วงแรก ๆ ของการทำงาน ผมได้ทำ Project วิจัยกับธนาคารโลก โดยทำการวิจัยเรื่อง “สถานภาพของเอกสารสิทธิ์ของการเป็นเจ้าของที่ดินกับประสิทธิภาพของการผลิตของภาคเกษตร” ซึ่งเป็นงานวิจัยซึ่งได้รับรางวัลวิจัยดีเด่นของสมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรของสหรัฐอเมริกา ผมยังภูมิใจมาก

        จากนั้นช่วงที่ทำงานที่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ผมได้รับงานวิจัย เรื่อง Impact Study ของกรมวิเทศน์ฯ (เก่า) หรือ สพร. สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งท่านองคมนตรีเกษม วัฒนชัย กรุณาแนะนำให้ทำ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ว่าการที่ประเทศไทยให้ทุนการศึกษากับประเทศเพื่อนบ้านของเรานั้น นอกจากทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้ว จะต้องให้ทุนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกด้วย และเมื่อให้ทุนไปแล้วต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด และสร้างเครือข่ายของบัณฑิตที่ได้รับทุนซึ่งส่วนใหญ่เขาเหล่านั้นกลับไปทำงานและมีตำแหน่งที่สำคัญ ซึ่งหากมีการเชื่อมโยง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอย่างต่อเนื่องก็จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยได้มากมาย

        ปัจจุบัน ด้วยความกรุณาของท่านอดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาฯ ดร.ประพัฒน์พงศ์  เสนาฤทธิ์  ทำให้ผมได้ทำเรื่อง “การประเมินผลการดำเนินความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยกับองค์การยูเนสโก (Assessment of Cooperation between Thai Public Sectors and UNESCO)” เป็นงานของ UNESCO ในประเทศไทย ซึ่งเป็นงานที่ผมภูมิใจมาก เพราะได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงฯ

    ผมคิดว่านักการเมืองไทย ข้าราชการไทยสนใจเรื่อง UNESCO น้อยมาก เกือบจะทำให้เราเสียดินแดนถ้าไม่เลื่อนการประชุมเรื่องมรดกโลก

    ประเด็นก็คือ หน่วยงานอื่น ๆ ถ้าสนใจจะให้ผมทำ  Research เรื่อง Impact Study ผมน่าจะช่วยได้

                                                         จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 380482เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2010 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นำภาพ สดสด อาจารย์มาฝากครับ จาก UKM18

อารีรัตน์ ภูธรรมะ

เรียน  ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์และสมาชิกทุกท่านค่ะ

 

               ดิฉัน นางอารีรัตน์  ภูธรรมะ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ สาขาวิชา บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง  ขอขอบพระคุณ ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย ที่ให้โอกาส ในการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก

              ปัจจุบันดิฉัน อยู่ระหว่างทำดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างผลิตภาพให้แก่องค์การ ของพนักงานในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ในประเทศไทย  โดยมีคณะกรรมการที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ 3 ท่าน ท่านแรก รศ.สมจิตร ล้วนจำเริญ  จาก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประธานที่ปรึกษา ท่านเชี่ยวชาญด้านการตลาด     ท่านที่สอง คือท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ท่านเป็นผู้มีประสบการณ์และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท่านมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล  และท่านสุดท้าย รศ.ศิริชัย พงษ์วิชัย จากภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านเชี่ยวชาญด้าน สถิติ  

               จากการที่ดิฉันได้ทำดุษฎีนิพนธ์ ทำให้ดิฉัน เห็นว่า  ไม่ว่าจะเป็นการทำวิจัยในระดับใดก็ตาม ล้วนให้ประโยชน์ ต่อสังคมและประเทศชาติเสมอ  การจะทำวิจัยให้สำเร็จได้นั้น  จะต้องอาศัย องค์ประกอบหลาย ๆ ด้าน และด้านหนึ่งที่สำคัญที่สุดไม่แพ้ด้านอื่น ๆ คืออาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ เพราะการทำดุษฎีนิพนธ์นั้นต้องผ่านการชี้แนะ ทักท้วง เติมแต่ง  กลั่นกรอง จากอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้ดุษฎีนิพนธ์มีความสมบูรณ์มากที่สุด

               ดุษฎีนิพนธ์ดิฉันก็เช่นเดียวกัน ดิฉันโชคดี ที่ได้รับโอกาสที่ดี จากท่านอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งสามท่าน   ซึ่งท่านทั้งสามให้โอกาสแก่ดิฉันเสมอมา   ทั้งให้คำปรึกษา ให้โอกาสในการเรียนรู้ ทั้งในการทำดุษฎีนิพนธ์และโอกาสในการเรียนรู้ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน การดำเนินชีวิต

               ในการทำงานร่วมกันของ คณะกรรมการที่ปรึกษา ทั้งสามท่านนั้น  ก่อนที่ท่านจะให้คำแนะนำปรึกษา แก่นักศึกษา ท่านจะปรึกษาหารือ ทำความเข้าใจร่วมกันต่อดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษา  ท่านทำงานเป็นทีม เพื่อให้การส่งเสริม  สนับสนุน ให้คำปรึกษา แก่นักศึกษา เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  

               นอกจากนั้น ดิฉันยังได้รับโอกาส จาก ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ในหลาย ๆ ด้าน เช่น

               ด้านแรก ท่านส่งเสริม สนับสนุน กระตุ้น ให้เกิด การคิด  การค้นคว้า การนำเสนอ เช่น  การเขียนบทความ   การเขียนความคิดเห็น ลงในอินเตอร์เน็ต การแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอ ในที่ชุมนุมชน ทั้งต่อที่ประชุม  ต่อนักศึกษาในห้องเรียน

               ด้านที่สอง ท่านส่งเสริม สนับสนุน ให้โอกาสดิฉัน ได้เรียนรู้เพิ่มเติม ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติ เช่น ให้โอกาสดิฉันได้ติดตามไปฟังท่านอาจารย์ บรรยาย ในหัวข้อที่เสริมความเข้าใจในตัวแปรด้านต่างๆ ในการทำดุษฎีนิพนธ์ ให้มีความรู้และความเข้าใจดียิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังได้เรียนรู้ ความหลากหลาย ในด้าน แนวคิด มุมมอง ของนักศึกษา บุคลากร ของ องค์การต่างๆ

               ด้านที่สาม  ท่านแนะนำด้าน บุคลิกภาพ  เช่น ในการนำเสนองาน การอยู่ในที่ชุมนุมชน ให้มีความมั่นใจในตนเอง กล้าคิด กล้าทำ  มีบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ 

               ด้านที่สี่  ท่านอาจารย์ยังให้โอกาสดิฉัน ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ ทั้ง การทำดุษฎีนิพนธ์และ การนำแนวทาง การบรรยาย  กระบวนทำกิจกรรมต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการเรียน การทำงาน 

               ด้านที่ห้า ท่านอาจารย์ แนะนำ แหล่งข้อมูล  เอกสารสำคัญ และ การค้นคว้า  ข้อมูล ความรู้ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำดุษฎีนิพนธ์ 

               จากการที่ท่านอาจารย์ให้โอกาสดิฉันในหลายๆ ด้าน ทำให้ดิฉันมีความรู้ ความเข้าใจและมีประสบการณ์ จาก กิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียน การทำงานและในการดำเนินชีวิตได้มากมาย  ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสามท่าน เป็นอย่างสูง ที่เสียสละเวลา อันมีค่า เป็นที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ ให้ดิฉัน   

               ดังนั้นถ้านักศึกษา ท่านใด ได้รับการเอาใจใส่ ได้รับโอกาสเช่นเดียวกับดิฉัน ย่อมทำให้นักศึกษาท่านนั้น มีกำลังใจ มีโอกาสในการทำดุษฎีนิพนธ์  ให้ประสบผลสำเร็จได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นักศึกษาก็จะต้องเป็น ผู้ที่ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  ขยัน อดทน มีความเพียรพยายาม และมีการวางแผนการทำดุษฎีนิพนธ์เป็นอย่างดี เพราะการทำดุษฎีนิพนธ์  ก็คือการทำวิจัยอย่างหนึ่ง และผลของการวิจัยมีความสำคัญต่อสังคม และประเทศชาติ  ผลของการทำวิจัยในสาขาต่าง ๆ มีประโยชน์อย่างมากมาย เช่น ทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ซึ่งความรู้ใหม่ ๆ จากการวิจัยนั้น  สามารถนำไปใช้ในการกำหนดนโยบาย กำหนดทิศทางในการพัฒนาในด้านต่าง ๆ หรือทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น   ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ควรส่งเสริม ให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  และมุ่งเน้นการทำวิจัยในสาขาต่าง ๆ  อย่างจริงจัง และที่สำคัญงานวิจัยนั้นจะต้องเป็นงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ และถูกต้อง เป็นที่ยอมรับ และนำไปใช้ได้จริง 

 

 

 

                                                                  นางอารีรัตน์  ภูธรรมะ  

                                                                    6  ตุลาคม  2553

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท