งานวิจัย เรื่องที่ 2


ภาวะผู้นำสุดยอดของผู้ว่าราชการจังหวัดและการใช้ทุนสังคมกับ

การลดความยากจนในพื้นที่ชนบท

 

ปัญญารัตน์  ปานทอง

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

 

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยนี้คือ (1)  บุพปัจจัยและระดับของภาวะผู้นำสุดยอดและการใช้ทุนสังคมของผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ชนทบทยากจน (2) อิทธิพลของภาวะผู้นำสุดยอดของผู้ว่าราชการจังหวัดกับการใช้ทุนสังคมในระดับจังหวัด และในระดับชุมชนที่มีผลต่อการลดความยากจนในพื้นที่ชนบท ประชากร เป้าหมายของการศึกษานี้คือ กลุ่มตัวอย่างผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรรมการบริหารจังหวัด คณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ และนายอำเภอจำนวน 400 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้ 2 วิธี คือ (1)  วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ (2) วิธีการศึกษาเชิงปริมาณใช้เทคนิควิเคราะห์พหุถดถอยแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis , SMRA)

            ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) การลดความยากจนในพื้นที่ชนบท ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะด้านสังคมของผู้ว่าราชการจังหวัด ความเป็นคนรับฟังความเห็นของผู้อื่น ความเป็นคนซื่อตรงต่อหน้าที่ และความเป็นคนเปิดรับประสบการณ์ (2) การลดความยากจนในพื้นที่ชนบทขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำสุดยอดของผู้ว่าราชการจังหวัด ความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจผู้อื่น (3) ความยากจนในพื้นที่ชนบทขึ้นอยู่กับการใช้ทุนสังคมของผู้ว่าราชการจังหวัด มีการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย (4)  ความยากจนในพื้นที่ชนบทขึ้นอยู่กับการใช้ทุนสังคมในระดับชุมชนของผู้ว่าราชการจังหวัดให้มีการทำงานร่วมกันเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน

            ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง จำเป็นต้องมีการพัฒนาบุคลากรในระดับผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด และนายอำเภอ ในด้านการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้มีคุณลักษณะด้านสังคม การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความเป็นผู้มีความซื่อตรงต่อหน้าที่ และการเปิดรับประสบการณ์ใหม่ ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ชนบทได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นจำเป็นจะต้องพัฒนาวิธีการทำงาน โดยใช้ทุนสังคมในระดับจังหวัดคือ การทำงานรวมกันเป็นเครือข่ายของทุกภาพส่วน ทั้งภาคราชการ เอกชน ประชาชน นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ชนบทได้มากยิ่งขึ้น และในการทำงานร่วมกับชุมชน จำเป็นต้องพัฒนาให้หมู่บ้านมีการทำงานร่วมกันเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากหมู่บ้าน ชุมชน จะได้รับทรัพยากรในการสนับสนุนทั้งลักษณะโครงสร้างการพัฒนาและการพัฒนาบุคลากรให้สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างแท้จริง

 

อาจารย์ผู้วิพากษ์

รศ.ดร.ส.วาสนา  ประวาลพฤกษ์

            รศ.ดร.สุภมาส  อังสุโชติ

ประเด็นวิพากษ์

  1. ตัวแปรต้นถูกต้องตัวแปรตามไม่ชัดเจนซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กันแต่อาจไม่เป็นเหตุ

เป็นผลกัน

  1. ตัวแปรอื่นควรเสริมเข้าไปในกรอบแนวคิดในการวิจัยที่จะเป็นเหตุเป็นผลจะทำให้

งานวิจัยมีคุณภาพขึ้น

            3.วิธีการวัดตัวแปรแต่ละตัวไม่ชัดเจน

            4.วิธีวิจัยเชิงคุณภาพกับการศึกษาเชิงปริมาณความสอดคล้องในการตอบผลการวิจัย

            5.ระดับความยากจนกับการลดระดับความยากจน สองคำนี้ยังใช้สลับกันไปมาในงานวิจัย

            6.การรีวิวทฤษฏีเป็นไปในลักษณะการตัดแปะ ไม่มีการสรุปเป็นแนวคิดของผู้วิจัย

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 379989เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2010 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท