คนคือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดจริงหรือไม่ในอุตสาหกรรม


ทั้งที่ได้รับการสั่งสอนมาว่า ตราบใดก็ตาม หากเกิดเหตุการณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้าลดลง ให้ถือว่าเป็นโชคดี เป็นโอกาสดีที่จะได้มีการพัฒนาบุคลากรของตนเองให้มีทักษะ(Skill) ในการทำงานที่ดีขึ้น เพราะเมื่อลูกค้ากลับมามีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น จะได้พัฒนากระบวนการต่างๆได้ดีขึ้น สามารถเป็นผู้นำหรือสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ดี

คนคือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดจริงหรือไม่ในอุตสาหกรรม

       Training most importance, behind profit and product. When the order was low, The product low, They are lay off WORKER. Every factory. Whenever customers need all good, Operators are work hard, usually time over time, all full time. Not have a time for trained again. Where are skill ?

       เมื่อเกิดวิกฤติทางด้านผลผลิตทีไรเห็นเกือบทุกโรงงานที่พนักงานต้องถูกเลิกจ้างด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งพนักงานประจำและพนักงานรับเหมาแรงงาน บางที่ก็ดำเนินการตามกฎ ระเบียบของกฎหมายแรงงาน บางที่ก็ว่ากันด้วยเล่ห์กลของฝ่ายทรัพยากรบุคคลตามช่องว่างของกฎหมาย

       ทั้งที่สมัยที่เรียนอยู่นั้น ได้รับการสั่งสอนมาว่า ตราบใดก็ตาม หากเกิดเหตุการณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้าลดลง ให้ถือว่าเป็นโชคดี เป็นโอกาสดีที่จะได้มีการพัฒนาบุคลากรของตนเองให้มีทักษะ(Skill) ในการทำงานที่ดีขึ้น เพราะเมื่อลูกค้ากลับมามีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น จะได้พัฒนากระบวนการต่างๆได้ดีขึ้น สามารถเป็นผู้นำหรือสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ดี

       แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ ก็เหมือนกันหมด คือ เลิกจ้าง เมื่อมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นก็ เปิดรับเข้ามาใหม่ สอนกันใหม่

       แล้วก็บ่นกันว่า พนักงานขาดทักษะ

       ไม่มีเวลาสอน เพราะต้องเร่งทำงาน

       ทำตามตัวอย่างก็พอแล้ว

       ในช่วงวิกฤติการณ์ Hamburger ในปลายปี 2551-2552 แตกต่างจากช่วงวิกฤติการณ์ “ต้มยำกุ้ง” ในปี 2540 -2541 มาก เพราะช่วงวิกฤติการณ์ “ต้มยำกุ้ง” เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวก็ยังมีคนกลับเข้ามาสมัครทำงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมได้มากและเพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรม แต่ในปลายปี 2552 ที่หลายต่อหลายส่วนต่างออกมาบอกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วนั้น สถานประกอบการหาบุคลากรเข้าทำงานได้ยากมาก ถึงขั้นขาดแคลน

       เกิดอะไรขึ้น?

       คนวัยทำงานหายไปไหน?

       ถ้าลองมองให้ดีในอดีตนั้น ในชนบท หรือที่เรียกว่าภาคเกษตรกรรม มีแต่คนเฒ่า คนแก่

คนวัยทำงานหายไปไหน?

ก็หายจากภาคเกษตรกรรมเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมในสังคมเมือง

แต่ตอนนี้หลังจากถูกปลด ถูกเลิกจ้าง ก็กลับบ้านเกิด กลับไปพัฒนาภาคเกษตรกรรม ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง อยู่มีความสุขกับครอบครัว แบบเดิมที่เป็นครอบครัวใหญ่เหมือนอดีตกาลที่ผ่านมา

ขณะนี้ หลายที่ หลายเมือง เท่าที่ได้ไปสัมผัสมา มีคนวัยทำงานอยู่มากพอสมควร อยู่บ้านทำไร่ ทำนา อยู่ในภาคเกษตรกรรม ได้สอบถามว่าเมื่อก่อนทำอะไร

“ทำงานโรงงาน”

แล้วตอนนี้ทำไม่ไม่ทำงานโรงงาน เพราะมีรายได้ประจำ

“ไม่ไปแล้ว ไม่คุ้ม เดี๋ยวพอออเดอร์ลด ก็ถูกปลดอีก เราอายุมากขึ้นทุกวัน อยู่มาตั้งนานแล้ว หวังจะเป็นที่แน่นอน มีความมั่นคง แต่มันก็ไม่มั่นคง ทำนาดีกว่า”

ที่ว่ามันไม่คุ้มนั้น มันไม่คุ้มอย่างไร

“ค่าใช้จ่ายมันสูง เช่น    ค่าเช่าบ้าน 2700 ต่อเดือน

                           ค่าน้ำค่าไฟ ประมาณ 800 ต่อเดือน

                           ค่ารถเข้าออกซอย 40 ต่อวัน

                           ค่าอาหาร          100 ต่อวัน

                           ค่าของใช้เบ็ดเตล็ด 1000 ต่อเดือน

รวมๆ ค่าใช้จ่ายในเมืองที่ต้องไปทำงานประมาณ 8700 บาทต่อเดือน แล้วค่าแรง ที่เป็นรายรับเดือนละ 6300 บาท รวมค่าครองชีพอีก 550 เป็นรายรับทั้งสิ้น 6850 บาท จะให้พอกับรายจ่ายก็ต้องทำ ล่วงเวลา ซึ่งทำให้เวลาส่วนตัว เวลากับครอบครัวหายไปบางส่วน แต่ถ้าไม่มีงานล่วงเวลาก็อยู่ไม่ได้ อาจต้องมีการกู้นอกระบบมาใช้ เรื่องจะส่งกลับบ้านนั้นบางทีก็ลืมไปได้เลย

นี่คงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนวัยทำงานแล้วเมื่อถูกเลิกจ้าง กลับบ้านเกิดแล้วไม่กลับเข้าสู่ตลาดแรงงานอีก

คำสำคัญ (Tags): #hrd
หมายเลขบันทึก: 379980เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2010 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท