ศูนย์สุขภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น(PCU นักศึกษา)


เปลี่ยนมาทำงานสร้างเสริมสุขภาพลองดู

 

เริ่มจากงานพยาบาลศัลยกรรม 

 พออายุมากขึ้นเวร เช้า ต่อดึก ต่อบ่ายไม่ไหวแล้ว (ทำไมไม่บอกว่ามุ่งมั่นจะทำงานสร้างเสริมนะ)

 

ก็เลยขอย้ายมาลงที่หน่วย PCU ศูนย์นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น รูปทรงที่ทำงานเป็นบ้านไม้กึ่งตึกสองชั้น(ใกล้สนามเทนนิส  สระว่ายน้ำเดิมค่ะ แวะไปเยี่ยมเยียนบ้างนะคะ)

 

วันที่29/07/53 เป็นวันแรกที่มาลอง มาช่วยงานดู ก็เป็นงานตรวจรักษาคล้ายกับห้องตรวจทั่วไปค่ะงานต่างกับที่ทำงานบนหอผู้ป่วยมากค่ะเพราะที่นี่คือตรวจรักษา(พื้นฐาน) มาขอรับใบรับรองแพทย์ ถ้าอาการที่ต้องดูแลต่อไปก็ส่งต่อ รพ. ศรีนครินทร์ มีทั้งไปเองและขอรถฉุกเฉินมารับค่ะ

 

เอ..ทำไมยังไม่มีสร้างเสริมสุขภาพหล่ะ ก็มาใหม่ค่ะ(มาลองงานดูผู้มารับบริการประมาณ 100-200คน/วันเปิด 08-20.00น. นักศึกษาที่มารับบริการน่ารักค่ะ)

 

วันนี้เด็กเป็นไข้หวัด ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล  เครียดใกล้สอบ ปวดศรีษะ  ทำแผลก็มีนิดหน่อยท้องร่วง อาหารเป็นพิษ

 

วันแรกมีโรคที่ต้องสอบสวนคือ ท้องร่วง ส่วนใหญ่เด็กรับประทานอาหาร ส้มตำ น้ำตก  ลาบ(เข้าใจสภาพเด็กๆเหมือนกันนะคะมาอยู่หอพักส่วนใหญ่ก็รับประทานมื้อเย็นเป็นมื้อหลัก เช้า กลางวันไม่ค่อยได้รับประทานอาหาร)

 

คำแนะนำกับเด็กๆก็เรื่องการดูแลตนเองค่ะ

 

 สนุกดีมีเคส น่าสนใจคือ ผื่นแพ้กลูต้าไธโอน(ปลอม)ค่ะ ผื่นแข็งๆแดงๆเต็มหลังคันด้วย ดีนะคะไม่ลามไปบนใบหน้าอันหล่อเหลาของหนุ่มน้อยคนนั้น

แต่เอ มีอีกตัวหนึ่งที่ไม่อันตรายและผลดีกว่ากลูต้าไธโอนไปหาเอาเองแล้วกัน แต่ต้องกินร่วมกับ วิตามินซีนะ

 

 

วันที่30/7/53  มีรายหนึ่งที่ต้องส่งต่อ เรียกรถพยาบาลมารับเพราะไข้สูง ความดันปริ่มๆแล้วหล่ะ เปิดเส้นให้น้ำเกลือเพื่อไม่ให้อ่อนเพลียความดันตกมากไป  รายนี้วินิจฉัยและได้นอนโรงพยาบาลเพราะเป็นไข้เลือดออกค่ะ

 เราเพิ่งลงไปเรียนรู้งานใหม่ค่ะมีอะไรก็จะมาเล่าต่อนะคะ

  แต่อย่าลืมแวะไปใช้บริการน้า

 อยากปรึกษานักจิตวิทยา ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น.นะคะ

 แวะมาเยี่ยมส่งกำลังใจให้คนใหม่ด้วยนะท่านผู้รู้ทั้งหลาย

หมายเลขบันทึก: 379858เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2010 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

Share your story

เราย้ายที่ทำงานใหม่ต้องแสวงหาความร่มมือเป็นธรรมดาน้า

โรคฮิตอีกโรคที่เด็กๆนักศึกษามามากในช่วงสองวันที่ PCU นักศึกษาค่ะ

ปวดกล้ามเนื้อ

ข้อมูลสื่อ

File Name : 337-017

นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : 337

เดือน-ปี : 05/2550

คอลัมน์ : คนกับงาน

นักเขียนหมอชาวบ้าน : ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

Tue, 01/05/2550 - 00:00 — somsak

คนกับงาน

ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปวดกล้ามเนื้อป้องกันได้ด้วยการยืดเหยียด

อาการปวดเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อมักพบได้บ่อยทั้งในคนทำงานนั่งโต๊ะและผู้ใช้แรงงาน ถ้าไม่ได้จัดการกับอาการปวดเมื่อยและล้ากล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม อาการอาจมากขึ้นจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังของกล้ามเนื้อ (myofascial pain) การยืดกล้ามเนื้อเป็นวิธีหนึ่ง ที่ช่วยป้องกันและรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อได้

อาการปวดเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ เกิดได้จาก

๑. กล้ามเนื้อต้องเกร็งค้างอยู่นานๆ (isometric work) กล้ามเนื้อเกร็งค้างนานๆ ที่พบบ่อย เช่น การเกร็ง กล้ามเนื้อบ่าตลอดเวลาในการสะพายกระเป๋าเพื่อไม่ให้หลุดจากบ่า แม้ว่าจะไม่ได้ใช้แรงกล้ามเนื้อมากนักแต่เป็นการเกร็งค้าง มีการบีบกดของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อนั้น ทำให้การนำออกซิเจนมาช่วยเผาผลาญสารอาหารทำได้ไม่เต็มที่ ร่างกายต้องใช้กระบวนการที่ไม่ใช้ออกซิเจน นำมาซึ่งการคั่งของกรดแล็กติก ซึ่งถ้าไม่ได้ระบายออกด้วยการไหลเวียนของเลือด จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยล้าได้ กล้ามเนื้อที่มีอาการปวดล้าได้ง่ายได้แก่ กล้ามเนื้อ บริเวณบ่า คอด้านหลัง และหลังส่วนล่าง

๒. มีภาวะหดสั้นของกล้ามเนื้อ พบที่กล้ามบริเวณหน้าอก กล้ามเนื้อคอด้านหน้า กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้องอสะโพก การใช้มือทำงานทางด้านหน้าของการทำงานโดยทั่วไปจะทำให้กล้ามเนื้อหน้าอกอยู่ในภาวะที่หดสั้นตลอดเวลาจนความยาวของกล้ามเนื้อลดลง เมื่อจะต้องใช้งานกล้ามเนื้อนั้นขณะที่ยืดยาวออกจะบาดเจ็บได้ การนั่งนานจะทำให้เกิดการหดสั้นของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้องอสะโพกที่อยู่ทางด้านหน้าของลำตัวได้

๓. การออกแรงอย่างหนักของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการคั่งของกรดแล็กติก ทำให้กล้ามเนื้อล้าและปวด อาการปวดจะกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เกร็งแข็งโดยอัตโนมัติ (muscle spasm) ถ้าไม่ได้ผ่อนคลายอาการ ตึงตัวของกล้ามเนื้อ มักจะทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ เรื้อรังได้ พบได้ในกล้ามเนื้อทุกมัดที่ต้องออกแรงอย่างหนัก

ป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อได้อย่างไร

ไม่อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น ก้มคอหรือหลัง มากเกินไป ไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เช่น นั่งนานเกิน ๒ ชั่วโมง ปรับกิจกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งค้างตลอดเวลา เช่น จากการสะพายกระเป๋าที่หนักเกินไป ให้ลดน้ำหนักลงหรือสะพายสลับข้าง หรือใช้มือถือบ้างเพื่อเปลี่ยนกลุ่มกล้ามเนื้อที่ใช้ในการทำงาน

หลังจากปรับสภาพงานหรือเปลี่ยนวิธีการทำงานแล้ว การออกกำลังด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ใช้งานจะช่วยลดการตึงตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือดและความยืดหยุ่น โอกาสที่ความปวดเมื่อยล้าและบาด-เจ็บจากการทำงานจะลดลง

วิธีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยตนเอง

การยืดกล้ามเนื้อทำได้ดังนี้

๑. ยืดจุดเกาะต้นและปลายของกล้ามเนื้อออกจากกัน

๒. ค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อออกช้าๆ จนรู้สึกตึงประมาณ ๗ ใน ๑๐ ให้ใช้ความรู้สึกเป็นตัววัดความตึงในกล้ามเนื้อ ไม่รู้สึกตึงเลยเป็นเลขศูนย์ (๐) ขณะที่ตึงมากสุดจนทนไม่ได้เป็นเลขสิบ (๑๐)

๓. ค้างไว้อย่างน้อย ๑๐ วินาที

การยืดกล้ามเนื้อแบบนี้จะลดการทำงานของรีเฟล็กซ์ การหดกลับของกล้ามเนื้อ (stretch reflex) และทำให้เกิดการคืบ (creep) ในกล้ามเนื้อ ผลทั้งสองอย่างจะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้อย่างสมบูรณ์

หลายคนคงเคยเห็นนักกีฬายืดกล้ามเนื้อแบบ ซ้ำๆ และเร็วๆ สลับไปมา (ballistic stretching) การยืดแบบนี้จะกระตุ้นรีเฟล็กซ์การหดกลับของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อจะหดตัวขณะยืดเสมือนเป็นการต้านแรงกัน ทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้ การยืดกล้ามเนื้อแบบนี้จะได้ผลและปลอดภัยในผู้ที่มีความชำนาญ (เช่น นักกีฬา) เท่านั้น

http://www.doctor.or.th/node/1235

มีท่าการออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อมาฝากค่ะ

http://www.youtube.com/watch?v=78O2u-TFSis&feature=related

เคยไปใช้บริการ อาคารมืดและค่อนข้างทึบค่ะอยากให้สว่างและอากาสค่อนข้างร้อนค่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท