R2R มองหาความสำเร็จ


        ทีมของพวกเรายังคงคุยกันต่อ  เพราะเมื่อลองอ่าน proposal ของทุกหน่วยงานแล้ว  ปัญหาสำคัญที่พบ  พบว่าคิดงานไกลตัว  แทนที่จะคิดจากหน้างานที่ทำ  งานประจำที่ทำ  เรื่องที่จะทำมันใหญ่เกินไป  ทำให้ฉันมั่นใจว่า  พวกเรายังไม่เข้าใจ R2R  ซึ่งไม่แปลกและไม่ผิดเลยกับบริบทขององค์กรในขณะนี้   proposal ที่เขียนมาพบว่าร้อยละ ๙๒  เขียนไม่ถูกต้อง  เมื่อให้ร้อยละ ๘  มาเล่าและอธิบายให้ร้อยละ ๙๒  ฟัง  ก็ยังไม่เก๊ท  ทำไงดีล่ะ  กลวิธีของพวกเราจะทำอย่างไร  เมื่อให้ทีม(คุณอำนวย) ของพวกเราเองลงมือเป็นนักสอนบ้าง  ก็โอนะ  แต่ยังไม่เวิร์คเท่าที่ควร  ซึ่งวิธีของพวกเราก็ยังติดเรื่อง Methodology อยู่  รู้เองแต่อาจถ่ายทอดให้คนฟังไม่รู้เรื่อง  นี่หรือเปล่าที่เขาเรียกว่า  ตกหลุมพราง
        วันหนึ่งเมื่อ ผอก.ถามว่า R2R เป็นอย่างไรบ้าง   ประตูได้เปิดทางให้ฉันแล้วจึงได้โอกาสอธิบายให้เจ้านายฟังความเป็นมาและเป็นไปถึงเรื่อง ไม่เก๊ท  ไม่เวิร์ค  และยังไม่โอ
        “มันไม่น่ายากนะ”  เสียงเจ้านายว่า
        “โหเจ้านายคิดได้งัยเนี่ย  ฉันเครียดนะ”  ฉันเถียงเจ้านายในใจ  ยังนึกต่อว่าทำไมเจ้านายไม่ลงมือสอนเองเลยล่ะเอาแบบว่า  ไม่ยากของเจ้านายน่ะ  ได้แต่คิดในใจถ้าคิดนอกใจสงสัยอาจไม่เป็นผลดีกับตัวฉันเองเดี๋ยวหาว่าเถียงคำไม่ตกฟาก  เฮ้อ!
         “เออ  ผมรู้จัก อ.จรวยพร  ที่ สวรส.งั้นให้คุณลองติดต่อให้อาจารย์มาเล่าให้ฟังว่า  การทำ R2R อย่างง่ายๆสำหรับคนหน้างานทำอย่างไร”  เจ้านายให้โอกาสได้รู้จักกับอาจารย์อีกแล้ว  
         หลังติดต่ออาจารย์และพูดคุยถึงบริบทขององค์กรเราให้อาจารย์ฟังแล้ว  อาจารย์ได้กำหนดวันที่จะมาพูดคุยให้กับโรงพยาบาลเราฟัง  ปรากฏว่าวันนั้นฉันก็พลาดโอกาสในการรับฟังอาจารย์อีก  เผื่อจะสรุปและเก็บตกและช่วยกันหาแนวทางที่ง่ายๆบ้างเนื่องจากติดร่วมประชุมนักวิจัยในโครงการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลอย่างยั่งยืนกับ สรพ.ที่มีวิทยากรที่เป็น  The Star อย่าง อ.โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์  เมื่อกลับจากประชุมฟังเสียงสะท้อนจากที่ อ.จรวยพร  มาพูดคุยและอ่าน proposal ของทุกหน่วยงานอาจารย์ก็ชมหลายหน่วยงานนะ  และได้เสนอแนะกับบางหน่วยงาน   เนื่องจากมีเวลาน้อยเพียงแค่หนึ่งวันอาจารย์อาจให้ความเห็นได้ไม่มาก 
        เมื่อกลับมาทบทวนหรือทีมคุณอำนวยของพวกเรา  หรือว่าพวกเราจะติดกรอบหรือติดกับดักอะไรบางอย่างที่มากเกินไปหรือเปล่านะถึงมองว่า  proposal ที่เขียนมามันไม่เข้าท่า งั้นเราให้ทุกหน่วยงานลงมือทำเลยตามที่หน่วยงานเขียนมาเลย  หากเราจะเทียบงานวิจัยชิ้นแรกของเรากับงานวิจัยที่เขาลงตีพิมพ์มันคงต่างกัน  ทำอย่างไรนะที่จะให้คนหน้างานมีความสุขกับงานที่ทำ  และทำงานวิจัยอย่างสนุก  มันเป็นโจทย์ที่ยากส์มากๆ
           ฉันยังจำข้อความของ  อ.ปภังกร  วงศ์ชิดวรรณ   ที่กล่าวว่า 
คนหน้างานถูกจองจำมานานนะ ซึ่งเป็นการจองจำที่สร้างความทุกข์อย่างแสนสาหัส เพราะเป็น "การจองจำทางความคิด" 
คนหน้างานถูกสั่งให้ทำ ทำ ทำแล้วก็ทำ แต่ "ห้ามคิด" 
คนหน้างานมักถูกมองเสมอ ๆ ว่า มีความรู้น้อยกว่า ปัญญาน้อยกว่า หรือเรียกง่าย ๆ ว่า "โง่กว่า" นักวิชาการทั้งหลายที่ลงไปบรรยายหรือส่งเอกสารลงไปกำกับงาน 
ดังนั้น ถ้าหากเราต้องการจะให้คนทำงานพัฒนางานของเขาจริง ๆ เราต้องปลดเปลื้องห่วงโซ่อันเป็นพันธนาการที่ผูกรัดข้อมือและข้อเท้าของคนหน้างานออกให้หมด ...  ปลดปล่อยเพื่อให้อิสระภาพแก่คนหน้างานได้คิด ได้ทำ ได้สร้างสรรค์งานของเขาด้วยตัวของเขาเอง 
พวกเรานักวิชาการทั้งหลาย ต้องเลิกไปชี้ว่าสิ่งนั้นผิด สิ่งนี้ถูก สิ่งนี้ไม่ใช่ทฤษฎี สิ่งนี้ไม่ใช่ "การวิจัย"  เมื่อเราปล่อยเขาออกจากกรอบ ก็เหมือนกับเราปล่อยเขาออกจากที่จองจำแห่งความคิด  
เมื่อเราไม่ Fix เขาด้วยมาตรฐานของเรา ก็เท่ากับเรามอบโอกาสให้เขาให้สามารถ "จินตนาการ" ได้อย่างไร้ขอบเขต 
        
        ๑๔-๑๖ กรกฎาคม  ๒๕๕๓  โรงพยาบาลได้เชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าร่วมงานเข้าร่วมประชุม  R2R   ครั้งที่ ๓  พบว่าผู้ที่สมัครเข้าร่วมประชุมมีแต่รายชื่อคุณอำนวยเท่านั้น  จน ผอก.ต้องกลับมาถามย้ำว่ามีไปกันแค่นี้หรือ   จึงประกาศรับสมัครผู้สนใจรอบที่  ๒  อีกครั้ง  ปรากฏว่ามีผู้กล้าทั้งสิ้น ๑๑ คน สิ่งที่ฉันปลื้มใจที่สุดเมื่อได้ยินคำพูดหลังสิ้นสุดการประชุม  R2R  ดังนี้ค่ะ
        “เออ!  ใช่อย่างนี้พวกเราก็ทำกันนี่”
         “อย่างนี้ก็เป็นงานวิจัย  งั้นพวกเราก็ทำงานวิจัยกันได้หลายชิ้นเลยนะ”
        “พี่รู้แล้วล่ะ  ไม่ต้องคิดอะไรมาก  ให้เรารู้ว่าทำไมเราถึงเลือกทำเรื่องนี้   เราอยากเห็นอะไร/อยากรู้อะไร   และทำแล้วผลมันเป็นอย่างไร  แค่นี้  ที่เหลือเดี๋ยวทีมเค้าช่วยเราเอง”
         อืมม์  คำตอบสุดท้ายนี่ฉันฟังแล้วปลื้มสุดๆ  เพราะสิ่งที่ฉันหวังที่สุดคือ  อยากให้ทุกคนรู้สึกว่างานวิจัยเป็นเรื่องไม่ยาก  เริ่มจากชิ้นเล็กที่หน้างานของเราเอง  ไม่ได้มาจากสิ่งที่ไกลตัวเลย  และเป็นสิ่งที่เขาอยากทำเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนางานของเขาเอง
 
 
        ท้ายนี้ฉันยังเชื่อว่า ความสำเร็จหรืออุปสรรคอยู่ที่ ผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารไม่สนับสนุนและไม่เห็นเป็นเรื่องสำคัญ  งานวิจัยที่เราทำก็ไม่มีความสำคัญอะไร  หากผู้บริหารมองว่าเป็นแค่งานนโยบาย  งานวิจัยก็จะเป็นแค่ผลงานตามนโยบายที่มี KPI เป็นตัวจับ  อย่าหวังว่าจะเห็นความยั่งยืนในงานวิจัย  อย่าหวังว่าจะได้ความจริงใจจากคนหน้างาน
คำสำคัญ (Tags): #r2r#r2r รพ.แก่งคอย
หมายเลขบันทึก: 378719เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2010 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

กว่าจะรู้ว่าทำงานวิจัย งานวิจัยกลับเสร็จแล้วอย่างไม่รู้ตัว

ปกติคนหน้างานจะทำวิจัยอย่างไม่รู้ตัว เพราะมัวแต่สนุกกับการทำงาน

ถ้าพูดว่าวิจัยคนจะรู้สึกว่ายาก แต่บอกว่าเป็นการพัฒนางานจะดูเป็นเรื่องง่ายกว่าครับ

ตามมาเชียร์แบบลุ้น ผอ เล่นดันเอง ถ้าไม่ติดกรอบความคิดเดิมๆๆจะได้งานที่สร้างสรรค์การทำงานออกมาครับ ตามมาให้กำลังใจ

สวัสดีค่ะ คุณnamsha

                 ดิฉันเป็นน้องใหม่ G2K  2553  ร.พ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้อ่านเรื่องราวR2R แล้วอยากทำบ้าง  ขอวิธีทำแบบกระทัดรัดด้วยคะ เพราะงานประจำค่อนข้างเต็มเวลา หวังว่าคงได้รับความช่วยเหลือนะคะ

                 อยากทำR2R การล้างจมูกของผู้ป่วย โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และโรคไซนัสอักเสบ ซึ่งปัจจุบัน พบว่า มีการล้างจมูกที่รพ.ศรีนครินทร์ 2 รูปแบบ  คือใช้นำเกลือ+ลูกยางแดง ให้ผู้ป่วยไปล้างจมูกที่บ้าน  และใช้นำเกลือ+กระบอกฉีดยา 

 สิ่งที่อยากรู้ว่าคือ  ผลการล้างจมูกทั้ง 2แบบ  แบบไหนดีกว่ากัน  

 ดิฉันควรเริ่มต้นอย่างไร จึงจะไม่กระทบการทำงานประจำคะ   ขอขอบคุณค่ะ

การพัฒนาแบบสั่งการจากเบื้องบน  อาจจะใช้ได้ในระยะแรกๆ  แต่ไม่ยั่งยืน ......

หากลองให้คนหน้างานได้เห็นและเข้าใจ ว่า  ทุกเรื่อง ที่กำลังพัฒนา ช่วยให้งานเขาดีขึ้น ให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ดังนั้น R2R  คือคำตอบที่ ช่วยให้คนหน้างานเห็นงานที่ตนทำมีคุณค่า รักในงานที่ตนรับผิดชอบ  และแก้ปัญหางานตนด้วย R2R เพราะ R2R เป็นเรื่อง หรือเครื่องมือ ที่ช่วยพัฒนา คนทำงานเอง  พัฒนางานที่เขากำลังทำ และสามารถพัฒนาองค์กร ได้อย่างยั่งยืน...... เพราะ คนหน้างานได้อาวุธ ทางปัญญา เกิดปัญญาจากการเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเอง  เพราะเขาแต่ละคนนั่นเองที่ผู้เชี่ยวชาญในงานนั้นๆ   แก้ไขได้ด้วยตัวเอง จนปราศจากการสั่งการ  

ให้กำลังใจค่ะ  สู้ สู้ ๆๆๆๆๆ คนแท้...ไม่ท้อ นะคุณ P namsha

สวัสดีครับ

มองเพื่อคิด ดูแล้วคิด ทำจากความคิด เก็บหลายๆอย่างในชีวิต คิดและวิเคราะห์ R2R มาในไม่ช้า และต้องลงมือทำ ทำเป็นทีมด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะ

  • ชอบประเด็นนี้จังค่ะ
  • เมื่อเราไม่ Fix เขาด้วยมาตรฐานของเรา ก็เท่ากับเรามอบโอกาสให้เขาให้สามารถ "จินตนาการ" ได้อย่างไร้ขอบเขต 
  • ขอบคุณค่ะ  มีความสุขเสมอ ๆ นะคะ

 

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาส่งความสุขค่ะ อิ่มบุญ อิ่มอก อิ่มใจ วันเข้าพรรษาค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                                    

สวัสดีค่ะ  อ.พรชัย

"ปกติคนหน้างานจะทำวิจัยอย่างไม่รู้ตัว  กว่าจะรู้ว่าทำงานวิจัย งานวิจัยกลับเสร็จแล้วอย่างไม่รู้ตัว"

ใช่ค่ะอาจารย์เพราะพวกเรายังคิด  การวิจัยก็คือวิจัย  การทำงานก็คือการทำงาน  คิดว่าคนละอย่างกัน  ทำให้งานวิจัยไม่เดิน

ขอบคุณข้อคิดดีๆค่ะอาจารย์

 

สวัสดีค่ะ

มาอ่านเพื่อเรียนรู้ และเป็นกำลังใจคนทำงานค่ะ ติดกรอบ..ที่แข็งแต่ผลของงานมักจะไม่แกร่งนะคะ

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต ฝอยทอง

งานนี้ ป๋าดัน มาเองค่ะ ตามสไตน์ผู้บริหารไฟแรงค่ะ

พรุ่งนี้เราจะทลายกรอบกันแล้วค่ะอาจารย์

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะอาจารย์

สวัสดีค่ะ  คุณtuikanda [IP: 125.26.143.72]

เป็น R2R ของคนหน้างานที่อยากพัฒนางานขอยกมือสนับสนุนและให้กำลังใจนะคะ

"ดิฉันควรเริ่มต้นอย่างไร จึงจะไม่กระทบการทำงานประจำคะ"  ถ้าถาม namsha คงตอบตรงไปตรงมาว่า  ถ้าไม่อยากให้กระทบกับงานประจำเราคงเลือกช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำงานเก็บข้อมูล  แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นเราก็สามารถเก็บข้อมูลบางอย่างได้ขณะทำงานประจำอยู่  แต่ถ้าหัวหน้างานรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ก็น่าจะเป็นการสนับสนุนในการทำงานวิจัยนะคะ

ที่ ร.พ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เองมีบุคลากรที่เก่งและเยี่ยมทั้งนั้นเลย namsha ว่าคุณtuikanda  อยู่ในวงของนักวิชาการและมีแหล่งสนับสนุนมากมายเลยค่ะน่าจะเป็นที่ปรึกษาที่ดีเยี่ยมได้  มีอยู่ 3 คนที่ namsha รู้จักใน G2K นี้ก็มี

ขอบคุณค่ะ  เข้ามา ลปรร.กันอีกนะคะ

สวัสดีค่ะ  พี่✿อุ้มบุญ✿

หนูยังเคยนำเรื่องของคนหน้างาน  อย่างงานจ่ายกลาง ของ รพ.ป่าติ้ว มาเป็นเรื่องเล่าเร้าพลังของคนหน้างาน  ให้กับชาว รพ.ฟังค่ะ  ว่าวิจัยไม่ยากทุกคนทำได้

คนแท้  ไม่ท้อค่ะ 

ขอบคุณค่ะพี่

สวัสดีค่ะ  อ.รศ. เพชรากร หาญพานิชย์

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะอาจารย์

สวัสดีค่ะ  คุณครูอิงจันทร์

งานวิชาการจะก้าวหน้า  ถ้าเรากล้าและไม่ท้อ

มีความสุขมากๆนะคะคุณครู

สวัสดีค่ะ  น้องนกบุษรา

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ  ที่น้องนกส่งมอบให้เสมอมา

มีความสุขมากๆนะคะ

 

สวัสดีค่ะ  คุณครูคิม

ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจ

ด้วยความคิดถึงค่ะคุณครู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท