ศ.ออสเตรเลียชี้แนะทางออกประเทศไทย


ศาสตราจารย์ปี เตอร์ วอรร์ (Prof. Peter Warr) จากมหาวิทยาลัย ANU (Australian National University), ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเอเชียตะวันออก วิเคราะห์การเมืองและทางออกสำหรับประเทศไทย (ตีพิมพ์ใน www.eastasiaforum.org) > [ ผู้จัดการ ]

คนไทยส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนทั้งกลุ่มเสื้อเหลืองและเสื้อแดง ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง ปิดสนามบิน-ถนน ฯลฯ, ขอแนะนำให้อ่านเรื่องนี้ เพื่อให้รู้เขารู้เรา เข้าใจ และจะนำไปสู่การหาทางออกเพื่อประเทศชาติต่อไป

...

ประเด็นสำคัญที่ ศ.วอรร์ ชี้แนะได้แก่

...

(1). รูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน

แนวทางการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน... ตรงกับคำสอนของอาจารย์นิด้าเช่นกัน คือ การพัฒนาประเทศควรเน้นที่ 3 เสาหลักไปพร้อมๆ กันได้แก่

'growth, equity & distribution' = "(อัตรา)การเจริญเติบโต, ความเสมอภาค (ลดความเหลื่อมล้ำต่ำสูง), และการกระจาย (ลดความแตกต่างระหว่างเมือง-ชนบท, พื้นที่ร่ำรวย-ยากจน)"

...

(2). ต้องเน้นภาษาอังกฤษ

ศ.วอรร์ เรียกร้องให้คนไทยตั้งใจเรียนภาษาอังกฤษให้มากกว่านี้ แถมยังติเตียนคนไทยว่า ไม่รู้จักศัพท์ง่ายๆ เช่น ม็อบ (mob) ฯลฯ แปลว่า อะไร

ถ้าคนไทยเก่งภาษาอังกฤษมากขึ้น เราจะทำการท่องเที่ยวได้ดีกว่านี้ สื่อสารให้โลกรู้จักคนไทยได้มากกว่านี้ โดยเฉพาะการทำสื่อมวลชน (เว็บไซต์ ฯลฯ) ภาคภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน (เช่น พม่า ลาว แขมร์ ฯลฯ) จะทำให้ไทยก้าวไปเป็นฮับทางด้านสื่อมวลชน และโอกาสทางการค้าในภูมิภาคได้

...

(3). คนไทยไม่ชอบความรุนแรง

คนไทยส่วนใหญ่ไม่ชอบความรุนแรง... การนำเสนอทางออกอย่างสร้างสรรค์ ใช้เหตุผล ใช้หลักฐานที่เป็นรูปธรรม ทำประโยชน์ (ไม่ใช่เพ้อพร่ำ จินตนาการ อุดมการณ์ แต่ไม่ทำ) และ "ลงมือทำ" เป็นแบบแผนที่คนไทยชื่นชอบ

ไม่ว่าใครจะทำอะไรในสังคมไทย... ควรพิจารณาเรื่องการไม่ใช้ความรุนแรง ทำประโยชน์ และลงมือทำ จึงจะเป็นที่ยอมรับของคนกลุ่มใหญ่

...

ขอความกรุณาคน ไทยอย่าเพิ่งโกรธ ศ.วอรร์ เพราะถ้าเรานำมาพิจารณาให้ดี เช่น สมมติคนไทยตั้งใจเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง ฯลฯ... เราจะแข่งขันกับนานาชาติได้แน่นอน

แนะนำให้อ่านเรื่องนี้ที่นี่ > [ สำนักข่าวผู้จัดการ ]

...

หมายเลขบันทึก: 378712เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2010 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชื่นชมในแนวความคิดครับ..

ขอให้เจอทางออกเสียที.. นานแล้ว

ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ ครับ

สำหรับผมเราคงไม่ต้องรีบเรียนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาและแข่งขันกับต่างชาติหรอกครับ ผมว่าสิ่งที่เราต้องรีบทำ คือการรู้จักตัวเอง รู้จักประเทศ ของตัวเองให้มากขึ้นก่อน

เข้ามาเยี่ยมค่ะ

ตัวเองไม่เก่งอังกฤษ แต่อยากให้คนของประเทศเราเก่งภาษาอังกฤษค่ะ

อยากให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษ

เป็นหนึ่งในประเด็น ตั้งแต่ผมคิด ทุกครั้ง หลังจาก กลับจากเดินทางไปมาเลเซีย

เพราะ ประเทศมาเลเซียตกเป็นเมืองขึ้น ของ อังกฤษ ทำให้ ประเทศมาเลเซีย สามารถพูดอังกฤษ กันได้

แล้วประเทศไทย ดีที่ไม่เป็นเมือง ขึ้น แต่ไม่คิด จะ พัฒนา ตัวเองบ้าง (อืมมม น่าคิดนะ)

คำพูดอาจจะรุนแรงไปบ้าง แต่ ก็ต้องยอมรับบความจริงของสังคมไทย

ขอขอบคุณอาจารย์และท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านครับ... // แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ยังทำการสำรวจความคิดเห็น และศึกษา SWAT (strength-weankess-opportunities-threat / จุดแข็ง-จุดอ่อน, โอกาส-ภัยคุกคาม) ของตัวเองอยู่เสมอ // ผมว่า นี่เป็นโอกาสดีที่คนไทยจะได้เรียนรู้เรื่อง "ไทย" จากคนนอก // ความเห็นส่วนตัวผม คือ - (1). เราไม่มีทางแข่งขันกับนานาชาติได้ในระยะยาว ถ้าไม่รีบพัฒนาภาษาอังกฤษ และภาษาที่สาม (สิงคโปร์พัฒนาเรื่องนี้ได้มานานแล้ว) // (2). เราทำเรื่องนี้ได้ไม่ยาก เช่น จัดประกวดบทเรียนทั้งแบบออนไลน์ (เช่น ขึ้น YouTube) และออฟไลน์ เช่น DVD ฯลฯ - จัดประกวดบทเรียนทุกอย่างทุกปี โดยบทเรียนที่ชนะต้องขายลิขสิทธิ์ให้ประเทศไทย (ควรรับซื้อให้สมราคาหน่อย) และเผยแพร่ในราคาถูก เช่น ให้ดาวน์โหลดออนไลน์ได้ทีละตอน ตั้งศูนย์ดาวน์โหลดไว้ทุกภาค (ทั้งแบบอ่านอินเตอร์เน็ต และห้องสมุด TK park) // (3). ควรมีการจัดสอบเทียบระดับชาติคล้ายๆ TOEFL แต่ทำเป็น 100 ระดับจาก 1-100 // เมื่อจัดสอบเทียบได้ 3 ปีแล้ว ทุกคนที่สมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัย เข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจต้องสอบผ่านอย่างน้อย... ระดับ (กี่ระดับก็ว่าไป) และต้องจัดสอบเทียบบ่อยๆ ในราคาไม่แพงด้วย // ไม่ใช่ว่า เรื่องอื่นไม่สำคัญครับ.. แต่การพัฒนาประเทศต้องทำไปพร้อมๆ กัน ไม่ใช่ไปแยกว่า อะไรทำก่อน แล้วไม่ทำเรื่องอื่น //

ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านครับ... // ไม่ว่าเราจะมีความเห็นตรงกัน หรือต่างกัน... // การศึกษาให้ "รู้เขา-รู้เรา" จะทำให้คนไทยเข้าใจ และมองไกล "ผ่านความขัดแย้ง" ไปสู่ทางออกได้ // โลกนี้ไม่ได้สร้าง DNA คนไทยมาให้พ่ายแพ้ตลอดกาล ทว่า.. สร้างวิกฤติการณ์มาสร้างให้คนไทยหาโอกาสกันต่างหาก... (มองแง่ดีนะนี่)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท