การแสวงหาสารสนเทศเพื่อนช่วยในการเรียนรู้


สารสนเทศเพื่อนการเรียนรู้

วิชาการสารสนเทศและการศีกษาค้นคว้า

ชื่อ น.ส.กฤติกา     วิชาธร

สาขา การจัดการ รุ่น 3

การบ้านข้อที่ 2 ท่านสามารถแสวงหาสารสนเทศเพื่อช่วยในการเรียนรู้ / การทำงานให้มีประสิทธิภาพได้ที่ไหน อย่างไร

ตอบ    

การแสวงหาสารสนเทศ

          เป็นกระบวนการค้นหาความรู้ หรือคำตอบในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง โดยการซักถามผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ การคาดเดาคำตอบเอง การรับฟังข้อมูลจากผู้อื่น การค้นหาคำตอบจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต หรือการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการสารสนเทศที่ตนตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญ ความต้องการสารสนเทศ

การแสวงหาสารสนเทศประกอบด้วยการะบวนการ 3 ขั้นตอน ได้แก่

          1.การตระหนักหรือการเล็งเห็นถึงความต้องการสารสนเทศ

          2.การพิจารณาถึงแหล่งสารสนเทศ

          3.การเลือกหนทางแสวงหาสารสนเทศ

ระดับความต้องการแสวงหาสารสนเทศ

          1.ระดับกว้าง  ผู้ต้องการใช้สารสนเทศสามารถระบุได้เพียงความชอบ ไม่ชอบ  ความไม่พึงพอใจอย่างกว้างๆ แต่ผู้ใช้ไม่สามารถระบุความต้องการได้ ไม่รู้ว่าต้นตองการสารสนเทศอะไร แต่ถ้ามีผู้หาสารสนเทศมาให้รู้ว่าตนสามารถบอกถึงความพึงพอใจที่มีต่อสารสนเทศที่ได้รับ

          2. ระดับรู้ความต้องการ  ผู้ต้องการใช้สารสนเทศรู้ว่าตนมีความต้องการ แต่ไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจนหรือบอกได้กระจ่างว่าตนต้องการอะไร ดังนั้น เพื่อให้ความคิดของตนกระจ่าง ผู้ใช้จะพูดกับผู้อื่นโดยหวังว่าฝ่ายหลังจะเข้าใจ และถามต่อเพื่อลดความไม่ชัดเจนที่มีอยู่ลง

          3. ระดับบอกความต้องการได้  ในกรณีนี้ผู้ต้องการใช้สารสนเทศสามารถอธิบายคำถามหรือความต้องการสารสนเทศได้ชัดเจนขึ้น ความกำกวมลดลง

          4. ระดับรู้แจ้ง  ผู้ใช้สามารถบอกความต้องการ ตลอดจนแหล่งสารสนเทศที่จะลดความต้องการผู้ปฎิบัติงานสารสนเทศจึงไม่ต้องสอบถามเพื่อดูความคิด ความต้องการของผู้ใช้ที่ซ้อนเร่นอยู่ เพียงแต่จับความต้องการที่ผู้ใช้บอกและนำไปค้นสารสนเทศจากระบบสารสนเทศที่มีอยู่

          แหล่งสารสนเทศ (Information Sources) หมายถึง แหล่งความรู้ต่างๆที่ผู้ใช้สามารถศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยสารสนเทศที่มีให้บริการนั้นอาจได้มาจากการรวบรวมและจัดหาจากที่มีอยู่เดิมหรือผลิตขึ้นเอง แหล่งสารสนเทศหลักที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งสารสนเทศที่เป็นองค์กรที่จัดให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้โดยตรง เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ และหอศิลป์ เป็นต้น และแหล่งสารสนเทศอื่นที่ไม่ได้จัดให้บริการสารสนเทศโดยตรง เช่น บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแหล่งสารสนเทศอื่นที่ไม่ได้เป็นองค์กร สถานที่ หรือบุคคลแต่เป็นที่นิยมใช้มากในปัจจุบัน ได้แก่ อินเตอร์เน็ต

การพิจารณาแหล่งสารสนเทศ

          1.แหล่งที่อยู่ของสารสนเทศ กล่าวคือ หากเราต้องการรู้สารสนเทศอย่างหนึ่ง เราควรรู้ว่าสารสนเทศนั้นมีอยู่ที่ใด หรือน่าจะอยู่ที่ใด และมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

          2.วิธีการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศแต่ละแห่งย่อมมีข้อจำกัดในการเปิดโอกาสให้บุคคลเข้าไปใช้

          3.ขอบข่ายของเนื้อหาของสารสนเทศที่มีในแหล่งนั้นๆ ควรรู้ว่าแหล่งสารสนเทศนั้นมีสารสนเทศเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ให้รายละเอียดในลักษณะใด และมีความทันสมัยมากน้อยเพียงใด

          การศึกษาค้นคว้า หมายถึง การหาข้อมูลและการหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อหาคำตอบ จากปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้รับความรู้ในเรื่องนั้นๆ การศึกษาค้นคว้าจึงเป็นการแสวงหาความรู้เพื่อให้ได้รับคำตอบหรือเพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจ การศึกษาค้นความจึงมีความสำคัญที่ช่วยให้เรามีความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษามากขึ้นและขัดเจนขึ้น

          การสืบค้นสารสนเทศ (Information Retrieval) เป็นกระบวนการในการแสวงหาทรัพยากรสารสนเทศที่ได้มีการบันทึก และเผยแพร่ไว้ในสื่อต่างๆ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธีค้นหาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการ

         กลยุทธ์ในการสืบค้นสารสนเทศ  หมายถึง วิธีการเพื่อให้ได้สารสนเทศตามวัตถุประสงค์อย่างรวดเร็ว ครบถ้วน และตรงต่อความต้องการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสืบค้นสารสนเทศ  กลยุทธ์ในการสืบค้นสารสนเทศมี 2 ลักษณะ คือ

           1. ผู้สืบค้นสารสนเทศทราบรายละเอียดบางส่วนของทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ (know item search) เช่น ทราบชื่อผู้แต่งก็สามารถใช้ชื่อผู้แต่งค้น ถ้าทราบชื่อเรื่องก็สามารถใช้ชื่อเรื่องค้น เป็นต้น ทำให้การค้นหาทำได้รวดเร็ว และไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญในการค้นมาก การค้นลักษณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การค้นแบบพื้นฐาน (Basic Search)

          2. ผู้สืบค้นสารสนเทศไม่ทราบรายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการค้น (Un(know item search) ผู้สืบค้นสารสนเทศจะต้องคิดและกำหนดคำค้นที่เป็นคำหรือวลีเพื่อใช้แทนเนื้อหาสาระหรือประเด็นหลักของคำถาม หรือ เรื่องที่ต้องการค้นหา เพื่อให้การค้นหาข้อมูลมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คำค้นในลักษณะนี้มีหลายประเภท ได้แก่ หัวเรื่อง อรรถภิธาน และคำสำคัญ ซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยค้นที่สำคัญในการเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ การค้นลักษณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การค้นแบบขั้นสูง (Advanced search หรือ Enhanced Search)

          ดังนั้นอาจพอสรุปได้ว่า เราสามารถแสวงหาสารสนเทศได้จากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆ ตัวของเรา และสามารถเข้าสารสนเทศที่เราได้รับนั้นมาพัฒนาให้เกิดเป้นความรู้ ความชำนาญ เพื่อใช้ในการทำงานให้มีประสิธิภาพได้

หมายเลขบันทึก: 377301เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2010 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาเยี่ยมชมเพื่อเป็นกำลังใจแก่กันและกัน

อย่างน้อยก็จะได้รู้ว่ามีคนติดตามงานของเรา

นะครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท