พัชรนันท์


พฤติกรรมผู้บริโภค

พัชรนันท์ พงศ์ธัญรัตน์. (2553). พฤติกรรมของผู้บริโภคและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงามชุดอินฟราเรด. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ กรุงเทพฯ: อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์: ดร.ชุมพล มุสิกานนท์ และ ดร.กนกพิชญ์ วิชญวรนันท์ อาจารย์
ที่ปรึกษาร่วม.

 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงามชุดอินฟราเรด และศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงามชุดอินฟราเรด ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey research) โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ผลการศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic)  ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) โดยการทดสอบความสัมพันธ์ไคสแควร์ (c2 ) และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ t-test และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวด้วยสถิติ One-way ANOVA: F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 0.01 ในกรณีที่พบความแตกต่างกันของค่าเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า

ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท และเป็นโสด ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงามชุดอินฟราเรดของผู้บริโภค  พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมระดับมาก พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงามชุดอินฟราเรดของผู้บริโภค พบว่า ช่องทางที่ทำให้รู้จักผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่รู้จักผลิตภัณฑ์จากเพื่อน ๆ แนะนำ  โดยความถี่ในการซื้อผลิตภัณฑ์ พบว่า ส่วนใหญ่ไม่แน่นอนแล้วแต่โอกาส/เมื่อชุดที่ใส่เสื่อมสภาพ สถานที่ซื้อผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่ซื้อที่ร้านค้าในตลาดนัดติดแอร์ตามห้างสรรพสินค้า ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ คือ ต้องการลดความอ้วน สำหรับบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์  ส่วนใหญ่ คือ เพื่อน ๆ และราคาในการซื้อผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 1,000–15,000 บาท ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ระดับรายได้ต่อเดือน และสถานภาพการสมรสของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงามชุดอินฟราเรดในด้านต่าง ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดต่างกัน มีพฤติกรรมในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงามชุดอินฟราเรดต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

หมายเลขบันทึก: 377293เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2010 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท