'ko;b0yp


       เมื่อสัปดาห์ที่แล้วส่งข้อความมา แต่งานยุ่งไปหน่อยลืมตรวจสอบ เพิ่งมาทราบว่าข้อความไม่ได้ขึ้นblog ขออภัยนะคะ  วันนี้ครูปองขอนำเสนองานวิจัยที่ได้ไปอ่านมาเห็นว่าน่าสนใจดี คงเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆบ้างนะคะ

 

การพัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักสูตรการเรียนรู้แบบร่วมงาน เพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้การอ่าน  สำหรับนิสิตนักศึกษา  

THE DEVELOPMENT OF AN ENGLISH READING STRATEGY INSTRUCTION MODEL  BASED ON COLLABORATIVE LEARNING PRINCIPLES FOR ENHANCING READING  LEARNING OUTCOMES OF UNIVERSITY  STUDENTS

 

                                       โดย  นางอารีรักษ์  มีแจ้ง

                                                              ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา 

                                                            คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

                                                            ปีการศึกษา  2547

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                                ในสังคมยุคใหม่เป็นยุคของข้อมูลข่าวสารและยุคของความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี  ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  เพราะความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษจะช่วยเสริมให้บุคคลเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  ทำให้สามารถแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อในรูปแบบต่าง ๆ จึงมีอย่างหลากหลายในยุคปัจจุบัน

                                จากผลงานวิจัยของอัจฉรา  วงศ์โสธร  เละคณะ(2545)  ได้สำรวจความคิดเห็นของบุคคล  4  กลุ่ม  คือ  1.  กลุ่มผู้จ้างงานภาครัฐ  2.  กลุ่มผู้จ้างงานภาคเอกชน  3.  กลุ่มอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา  และ  4.  กลุ่มผู้สำรวจการศึกษาระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับทักษะภาษาอังกฤษที่บุคลากรที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในหน่วยงานมีความจำเป็นต้องใช้  พบว่าโดยรวมกลุ่มตัวอย่างที่สีกลุ่มมีความเห็นว่าทักษะที่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีต้องใช้มากที่สุด  คือ  ทักษะการอ่าน 

                                นอกจากนี้ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ  ยังมีความสำคัญและจำเป็นต้องใช้มากโดยเฉพาะในการศึกษาระดับอุดมศึกษา  เพราะผู้เรียนต้องใช้ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่มักจะตีพิมพ์หรือบันทึกไว้เป็นภาษาอังกฤษในปี พ.ศ. 2535  สุพัฒน์  สุกมลสันต์  ได้ศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของชั้นปีที่  1  ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และมหาวิทยาลัยศิลปกร  พบว่าโดยเฉลี่ยนิสิตมีความสามารถในการอ่าน  อยู่ในระดับปานกลาง  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของอัจฉรา  วงศ์โสธร  ในปีต่อมาพบว่านักศึกษาไทยระดับอุดมศึกษา                 มีความสามารถในทักษะการอ่าน – การเขียน  อยู่ในระดับปานกลาง  และผลการสอบวัดความรู้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  มีทบวงมหาวิทยาลัยจัดสอบ  ในรายวิชาภาษาอังกฤษปีละ 2  ครั้ง  ซึ่งประมาณกว่าครึ่งหนึ่งของข้อสอบจะเป็นการวัดความสามารถในทักษะการอ่าน  และผลจากการวิเคราะห์สถิติการสอบจากข้อมูลของสำนักทดสอบกลางพบว่า  ระหว่างปี 2543 – 2546   มีการจัดสอบทั้งสิ้น  8  ครั้ง  คะแนนเฉลี่ยของวิชานี้อยู่ระหว่าง  32.40 – 39.87  คะแนน  จากคะแนนเต็ม  100  คะแนน  และเมื่อศึกษาโดยละเอียดยังพบอีกว่าจากจำนวนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย  เกือบ  2  แสนคนที่เข้าสอบในแต่ละครั้ง  มีนักเรียนประมาณ  2  หมื่น – 4 หมื่นคนเท่านั้นที่ได้คะแนนสูงกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม 

                                จากข้อมูลที่กล่ามาแสดงให้เห็นว่านักเรียนที่กำลังจะเข้าสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษามีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษไม่ค่อยดีนัก 

                                สาเหตุหลักของผู้เรียนที่ไม่ประสบผลสำเร็จในการอ่านดังกล่าวอาจจะมีสาเหตุดังนี้

  1. ผู้เรียนมีความรู้  ความสามารถในตัวภาษาจำกัด
  2. ผู้สอนและการจัดกระบวนการเรียนการสอนในการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาที่  2  ขึ้น  ประเด็นที่นักการศึกษาให้ความสนใจตั้งแต่ปลายปี คศ.1970  เป็นต้นมา  คือ  การทำกลวิธีการอ่านของผู้ประสบความสำเร็จในการอ่านมาใช้สอนนักการศึกษาเชื่อว่า  ความสามารถในการอ่านภาษาที่สองไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถในตัวภาษาอย่างเดียว  แต่ยังขึ้นอยู่กับกลวิธีการอ่านมาช่วยในการทำความเข้าใจบทอ่านได้  และยังช่วยให้ผู้อ่านมีความเป็นอิสระ  สามารถควบคุมกระบวนการอ่านของตนได้
  3. นอกจากนี้การเรียนการสอนภาษาที่สองในช่วงไม่ดีปีที่ผ่านมาได้ให้ความสนใจกับแนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมงาน (Collaborative Learning)  ซึ่งพัฒนามาจากปรัชญาของการสร้างความรู้โดยกระบวนการทางสังคม  (Social Constructivist)  โดยมีแนวคิดว่าการเรียนรู้คือการสร้างความรู้ภายในบริบทของสังคม  ซึ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (Olford.1997) 

จากที่กล่าวมาพอสรุปปัญหาได้คือ

  1. ผู้เรียนยังมีความรู้เกี่ยวกับกลวิธีการอ่านเพื่อจำกัด  และไม่ตระหนักถึงความสำคัญของกลวิธีการอ่าน  และผู้อ่านไม่รู้จักกลวิธีอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพนอกเหนือจากวิธีทั่ว ๆ ไป
  2. ผู้เรียนขาดความเอาใจใส่ไม่คิดไตร่ตรองกระบวนการอ่านของตนเองให้รอบคอบ  ไม่ตระหนักในความสำคัญของกลวิธีการอ่าน
  3. การสอนอ่านยังคงเป็นลักษณะงานเดียว  ผู้เรียนมีทัศนคติในทางลบต่อการทำงานกลุ่ม  ขาดแรงจูงใจในการทำงานร่วมกัน  และไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการช่วยเหลือกันในการเรียนรู้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงานเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้การอ่านสำหรับนิสิตนักศึกษา
  2. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นโดย

          2.1    เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนกับหลังการทดลองของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์กับนิสิตคณะเภสัชศาสตร์

          2.2    เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์กับนิสิตคณะเภสัชศาสตร์

           2.3    เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่านก่อนกับหลังการทดลองของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์

           2.4    เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่านหลังการทดลองของนิสิต

คณะมนุษยศาสตร์และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์

          2.5    ศึกษาพฤติกรรมการทำงานร่วมกันของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และนิสิต

คณะเภสัชศาสตร์

มโนทัศน์วิจัย

       หลักการและแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่าน

กระบวนการอ่านตามแนวคิดแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Process)

           การสอนกลวิธีการอ่านและการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงานกับกลุ่มเพื่อนเพื่อจะได้สนทนา  แลกเปลี่ยนความรู้  ความคิด  และกลวิธีที่ใช้ในการอ่าน  จะทำให้ผู้เรียนเห็นถึงวิธีการและปฏิสัมพันธ์ของความรู้ในส่วนต่าง ๆ ที่บุคคลใช้ในการทำความเข้าใจบทอ่าน

การสอนกลวิธีการอ่าน  (Reading Strategy Instruction)

  1. การนำกลวิธีการอ่านหลักและถือว่าเป็นกลวิธีที่มีประสิทธิภาพที่ผู้มีความสามารถในการอ่านสูงใช้มาสอนให้กับผู้เรียนจะช่วยพัฒนาความสามารถในการอ่านได้
  2. องค์ประกอบที่สำคัญของการสอนกลวิธี  คือ 

           1)      มีรายละเอียดของกลวิธี

           2)      มีการแสดงการใช้กลวิธีให้ดูเป็นตัวอย่าง

           3)      มีการฝึกใช้กลวิธี

          4)      มีการประเมินผลการใช้กลวิธี 

การเรียนรู้แบบร่วมงาน  (Collaborative Leaning)

                เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบสำคัญ  คือ 

           1)      เป็นการเรียนรู้กลุ่มย่อย 

           2)      สมาชิกมีความแตกต่างกัน

           3)      ความมีอิสระของผู้เรียนในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้

          4)      ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกและคอยให้ความช่วยเหลือ

  สมมติฐานการวิจัย

  1. ความสามารถในการอ่านภาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงานสูงกว่าก่อนการทดลอง
  2. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์กับนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนกลวิธี   การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้รูแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงานไม่แตกต่างกัน
  3. พฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่านหลังการทดลองของนิสิตคระมนุษยศาสตร์และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ที่ได้รับการสอน  กลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงาน  สูงกว่าก่อนการทดลอง
  4. พฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่านหลังการทดลองของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์กับนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษ  โดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงานไม่แตกต่างกัน

ขอบเขตการวิจัย

  1. ประชากร  คือ  นิสิตระดับปริญญาตรี  ชั้นปีที่  1  สังกัดมหาวิทยาลัยปิดของรัฐในส่วนภูมิภาค
  2. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

         2.1     ตัวแปรจัดกระทำ  ได้แก่  การสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงาน

        2.2     ตัวแปรตาม  ได้แก่

           2.2.1           ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

           2.2.2           พฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่าน

           2.2.3           พฤติกรรมการทำงานร่วมกัน

ประชากร   ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สังกัดมหาวิทยาลัยปิดของรัฐในส่วนภูมิภาค  เพราะนิสิตกลุ่มนี้ต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน

กลุ่มตัวอย่าง

  1. 1.       เลือกสถาบัน

ใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  โดยสถาบันที่เลือกคือมหาวิทยาลัยนเรศวร  ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยปิดของรัฐในส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่ตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของประชาชนในท้องถิ่น  และเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่หลากหลาย 

  1. 2.       การสุ่มกลุ่มทดลอง

        1. 1  ขอผลคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยในวิชาภาษาอังกฤษ (03)  ของนิสิตชั้นปีที่  1  ทุกคณะ  จากฝ่ายทะเบียน  เพื่อคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างขั้นต้น  2  กลุ่ม  มีเกณฑ์ดังนี้ 

              1.1 .1   นิสิต  2  กลุ่มควรเป็นนิสิตต่างคณะกันเพื่อที่ผลจากการทดลองใช้รูปแบบจะสามารถชี้ให้เห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้กับนิสิตโดยทั่วไป  ไม่จำกัดว่าเป็นนิสิตสาขาใดสาขาหนึ่ง

             1.1.2    นิสิตคณะนั้น ๆ จะต้องมีคะแนนวิชาภาษาอังกฤษ (03)  กระจายตัวคือ  มีทั้งผู้มีคะแนนระดับสูง  ปานกลาง  และต่ำ  เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของการเรียนรู้แบบร่วมงานที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการได้ทำงานร่วมกับเพื่อนที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าจากเกณฑ์ดังกล่าวได้กลุ่มตัวอย่าง  2  กลุ่ม  เป็นนิสิตคณะมนุษยศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ, ภาษาศาสตร์)  มี  29  คน  คณะเภสัชศาสตร์  56 คน 

       1.  2       นำคะแนนของนิสิตแต่ละกลุ่มมาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยเพื่อแบ่งนิสิตเป็น  3  กลุ่ม 

                กลุ่มสูง  หมายถึง  กลุ่มนิสิตที่มีผลคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยในวิชาภาษาอังกฤษ (03)  สูงเป็น  5  อันดับแรกของกลุ่ม

                กลุ่มปานกลาง  หมายถึง  กลุ่มนิสิตที่มีผลคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยในวิชาภาษาอังกฤษ (03)  อยู่ระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ

                กลุ่มต่ำ  หมายถึง  กลุ่มนิสิตที่มีผลคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยในวิชาภาษาอังกฤษ (03)  สูงเป็น  5  ลำดับสุดท้ายของกลุ่มผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างนิสิตในอัตราส่วน  5 : 10 : 5  รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ  20  คน

3.   เลือกรายวิชาในการทดลอง 

     การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการสอนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน  1 (Foundations of English1)  เพราะรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจะช่วยในการพัฒนาให้ผู้เรียนมีพื้นฐานทักษะการอ่านที่ดี  ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรายวิชาอื่น ๆ ได้

การรวบรวมข้อมูล

                ก่อนทดลอง

  1. ทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของผู้เรียน  2  กลุ่ม โดยใช้แบบสอบถามวัดสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ (Toefl)  ของ  Educational Service  สหรัฐอเมริกา  เฉพาะการอ่านเพื่อจัดผู้เรียนเป็นกลุ่ม  ทำให้ได้กลุ่มนิสิตที่มีความสามารถในการอ่านสูง  5  คน  ปานกลาง  10  คน  ต่ำ  5  คน  รวมกลุ่มละ  20  คน 

    2.  สำรวจพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่าน  5  กลวิธี  ได้แก่  การเชื่อมโยงความรู้  การทำนายความ  การทำใจให้กระจ่าง การตั้งคำถาม  และการสรุปผิดของกลุ่มตัวอย่างทั้ง  2  กลุ่มด้วยแบบประเมินของผู้วิจัยสร้างขึ้น  นำผลมาประเมินทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ  T-test  เพื่อทดสอบเข้านิสิต  2  กลุ่มมีพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่านแตกต่างกันหรือไม่

ดำเนินการทดลอง 

              ผู้วิจัยสอนกลุ่มทดลอง  2  กลุ่มด้วยตนเอง  กลุ่มที่  1  (คณะมนุษยศาสตร์)  สอนวันอังคารเวลา  09.00 – 12.00 น.  กลุ่มที่  2  (คณะเภสัชศาสตร์)  สอนวันพฤหัสบดี  เวลา  13.00 – 16.00 เป็นเวลา  10  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  3  ชั่วโมง  ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กลางเดือนกันยายน 2547

ดำเนินการหลังการทดลอง

  1. ทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของทั้ง  2  กลุ่มด้วยแบบวัดสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ (TOEFL) เฉพาะส่วนที่เป็นการอ่าน  ซึ่งเป็นคนละฉบับกับฉบับก่อนทดสอบมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั่วไป 
  2. สำรวจพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่าน  5  กลวิธี  ทั้ง  2  กลุ่มด้วยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นฉบับเดียวกับที่ใช้ในขั้นก่อนทดลอง

การวิเคราะห์ข้อมูล

  1. หาค่าเฉลี่ย  ( ) และค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนจากแบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่าง  นำค่าเฉลี่ยเทียบร้อยละเทียบเกณฑ์การประเมินชื่อผู้วิจัยกำหนด
  2. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่ได้จากแบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนกับหลังการทดลองโดยใช้สถิติทีแบบไม่อิสระ (t – dependent)  ที่ระดับตามนัยสำคัญ .01
  3. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่ได้จากการทำแบบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองของกลุ่มทดลองของกลุ่มทดลอง  2  กลุ่ม  โดยใช้สถิติทีแบบอิสระ (t-independent)  ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 
  4. หาค่าเฉลี่ยของคะแนนจากแบบประเมินพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่าน ทำค่าเฉลี่ยมาแปลความหมายตามเกณฑ์ และตัดสินตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด
  5. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจากแบบประเมินพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่านก่อนกับหลังการทดลอง  โดยใช้สถิติที่แบบไม่อิสระที่ระดับ  ความมีนัยสำคัญ .01 
  6. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจากแบบประเมินพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่านหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลอง  2  กลุ่ม  โยใช้สถิติที่แบบอิสระที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01
  7. หาค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการประเมินการทำงานกลุ่ม
  8. วิเคราะห์เนื้อหาจากแบบบันทึกสภาพการจัดการเรียนการสอน
  9. วิเคราะห์เนื้อหาในส่วนที่  1  ของแบบสังเกตการณ์ทำงานร่วมกันที่เป็นการศึกษาสภาพการทำงานและหาความถี่เป็นร้อยละของพฤติกรรมทางวาจาในขณะทำงานร่วมกันในส่วนที่  2 
  10. หาค่าเฉลี่ยของคะแนนจากแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น  วิเคราะห์เนื้อหาส่วนที่เป็นปลายเปิด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้รูปแบบการเรียนการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจสำหรับนิสิตนักศึกษา
  2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นจะช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาความสามารถในการอ่าน  เพื่อความเข้าใจของนิสิตนักศึกษา  ซึ่งจะเป็นพื้นฐานและเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปใช้ในการศึกษาหรือแสวงหาความรู้อื่น ๆ ที่ต้องใช้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
  3. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นจะเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายที่จะช่วยกระตุ้นให้ผู้สอนนำทฤษฎี  แนวคิดที่สำคัญมาพัฒนารูปแบบอื่น ๆ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการเรียนการสอนต่อไป

เอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง

  1. การอ่านภาษาอังกฤษฐานะภาษาที่สอง / ภาษาต่างประเทศ
  2. การสอนกลวิธีการอ่าน
  3. การเรียนรู้แบบเรียนร่วม
  4. รูปแบบการสอน
  5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

           5.1    งานวิจัยในประเทศ

          5.2    งานวิจัยต่างประเทศ

วิธีดำเนินการวิจัย

                                แบ่งการดำเนินงานเป็น  3  ระยะ

                ระยะที่  1   พัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษ

1.1    ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์แนวคิดที่เกี่ยวข้อง

1.2    สร้างรูปแบบการเรียนการสอน

1.3    จัดทำเอกสารประกอบรูปแบบการเรียนการสอน

1.4    การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนและเอกสารประกอบรูปแบบ

1.5    ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้

1.6    การแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนและเอกสารประกอบรูปแบบ

 

         ระยะที่  2   การพัฒนาเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  

  1. เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ

1.1     แบบวัดความสามารถในการอ่าน

1.2     แบบประเมินพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่าน

1.3     แบบประสานการทำงานกลุ่ม

1.4     แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบที่พัฒนาขึ้น

   2.เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ

2.1     แบบบันทึกสภาพการจัดการเรียนการสอน

2.2     แบบสังเกตการณ์ทำงานร่วมกัน

            ระยะที่  3   การทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น             

3.1    การจัดกลุ่มทดลองและเลือกรายวิชาในการทดลอง

3.2    การดำเนินการทดลองใช้รูปแบบ

3.3    การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล

  1. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนกับหลังการทดลอง
  2. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่านก่อนกับหลังการทดลอง
  3. วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยการทำงานกลุ่ม
  4. วิเคราะห์เนื้อหาและหาค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการทำงานร่วมกัน
  5. วิเคราะห์เนื้อหาสภาพการจัดการเรียนการสอน
  6. วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบที่พัฒนาขึ้น

ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงานเป็นรูปแบบที่เน้นการสอนกลวิธีการอ่าน  5  กลวิธี  ได้แก่  การเชื่อมโยงความรู้  การทำนายความ  การทำความเข้าใจให้กระจ่าง  การตั้งคำถาม  และการสรุปย่อ  กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบมี  4  ขั้นตอนคือ 

          -  ขั้นกระตุ้น             เป็นการสร้างความสนใจเกี่ยวกับกลวิธี

         -   ขั้นความเข้าใจ   เป็นการให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับกลวิธี

         -  ขั้นประยุกต์ใช้      เป็นการให้ผู้เรียนฝึกใช้กลวิธีการอ่านด้วยตนเอง

         -  ขั้นสรุป    เป็นการสรุปความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านและเกี่ยวกับกลวิธีการอ่านตลอดการเรียนการสอนผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มย่อย  มีการแลกเปลี่ยนความรู้  ความคิดเกี่ยวกับบทอ่านและกลวิธีที่ใช้ในการอ่าน  ผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกและคอยให้ความช่วยเหลือ

      2.เมื่อทำรูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมงานที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง  2  กลุ่มพบว่า 

2.1    นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.2    นิสิตคณะเภสัชศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองสูงกว่านิสิตคณะมนุษยศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

2.3    นิสิตคณะมนุษย์ศาสตร์และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์  มีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่านหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

2.4    นิสิตคณะมนุษยศาสตร์มีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่านหลังการทดลองไม่แตกต่างจากนิสิตคณะเภสัชศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ .01

2.5    นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์มีพฤติกรรมการทำงานร่วมกันแตกต่างกันในประเด็นเกี่ยวกับการจัดการภายในกลุ่มและบรรยากาศในการทำงาน  แต่นิสิตทั้งสองกลุ่มใช้โครงสร้างของพฤติกรรมทางวาจาที่คล้ายคลึงกัน

อภิปรายผลการวิจัย

  1. 1.       ด้านพัฒนารูปแบบการสอน

-          วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพ / ปัญหาของการสอนอ่านภาษาอังกฤษในระดับอุดมศึกษา  ปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียน

-          ศึกษาแนวคิดในการสอนอ่านแบบต่าง ๆ

-          แนวทางหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาความสามารถในการอ่านของผู้เรียนคือ

การสอน  กลวิธีในการอ่าน

-          ศึกษาแนวคิดของการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนจากแนวคิด

ของนักการศึกษาหลายท่าน

-          แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบคือกระบวนการอ่านแบบ

ปฏิสัมพันธ์  การสอนกลวิธีการอ่านและแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมงาน

-          สร้างรูปแบบการสอนฉบับร่างพร้อมเอกสารประกอบรูปแบบ

-          นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพ

-          นำข้อเสนอแนะมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการสอนและ

เอกสารประกอบแล้วนำไปทดลองใช้เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้

  1. 2.       ด้านคุณภาพของรูปแบบการสอน

         2.1     ด้านความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

                 2.1.1  จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่านิสิตคณะมนุษยศาสตร์และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน  กลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการเรียนรู้  การเรียนรู้แบบร่วมงานมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

                    ประเด็นที่น่าจะทำให้เกิดผลดังกล่าวคือ

                        1)  การสอนกลวิธีการอ่านให้แก่ผู้เรียน  การที่ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกใช้กลวิธีทั้ง  5  กลวิธี  จ่ายให้ผู้เรียนมีความรอบคอบ  คิดไตร่ตรอง  ควบคุมกระบวนการอ่าน  แก้ปัญหาในการอ่าน  ทั้งก่อนอ่าน  ขณะอ่าน  และหลังการอ่าน  ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ให้สูงขึ้น  ช่วยให้ผู้เป็นอิสระและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

                        2)  เปิดโอกาสในผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มย่อย  โดยสมาชิกมีความสามารถในการอ่านแตกต่างกัน  มีการแบ่งหน้าที่ให้ความช่วยเหลือแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ความคิดเกี่ยวกับบทอ่านและกลวิธีที่ใช้ในการทำความเข้าใจ  ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  สร้างความรู้ด้วยตนเอง  เป็นอิสระกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น 

                    2.1.2  ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนกับหลังการทดลองของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์แยกตามระดับความสามารถในการอ่าน  พบว่านิสิตที่มีความสามารถในการอ่านสูงปานกลางต่ำ  มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านสูงขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  หากเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการทดลองแล้วจะเห็นว่านิสิตกลุ่มที่มีความสามารถในการอ่านปานกลางและต่ำมีระดับการเพิ่มขึ้นของคะแนนมากกว่านิสิตที่มีความสามารถในการอ่านสูง   ส่วนกลุ่มทดลองคณะเภสัชศาสตร์พบว่านิสิตกลุ่มที่มีความสามารถในการอ่านสูงมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านสูงขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  ส่วนนิสิตที่มีความสามารถในการอ่านระดับปานกลางและต่ำมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                        2.1.3  ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์  และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์  พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้  ทั้งที่ก่อนการทดลองนิสิตทั้ง  2  กลุ่ม  มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านต่างกัน  อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ                                             

 

องค์ประกอบที่ทำให้เกิดผลทดลองดังกล่าว

-          รูปแบบการเรียนของนิสิต

-          ความตั้งใจ

-          ความเอาใจใส่

-          ระดับความสามารถในการอ่าน

พบว่ากลวิธีการอ่านก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาความสามารถในการอ่านของนิสิตให้สูงขึ้นได้

2.2     ด้านพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่าน     

จากผลการวิจัยพบว่านิสิตคณะมนุษยศาสตร์  และนิสิตคณะเภสัชศาสตร์  มีค่าเฉลี่ยของการประเมินพฤติกรรมการใช้กลวิธีการอ่านหลังการทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิ

หมายเลขบันทึก: 377300เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2010 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็น งาน R & D ที่ดีนะ เรื่องที่ทำมีคุณค่าควรแก่การทำ เพราะได้นวัตกรรมคือรูปแบบการสอนกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษ คุณค่าของงานวิจัยนี้ น่าจะอนุมานออกนอกขอบเขตการวิจัยได้ เช่น อาจใช้กลวิธีนี้ได้กับภาษาอื่นด้วย หรืออาจใช้กับนักศึกษาปริญญาตรีที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยของรัฐด้วย แต่เพื่อความแน่ใจ ควรนำไปทำวิจัยว่าใช้ได้จริงไหม

*งานวิจัยนี้ผู้วิจัยต้องทุ่มเทศักยภาพมากและยาวนานใช่หรือไม่

* ครูปองลองดูซิว่าสมมุติฐานการวิจัยขอ้ใดเป็น สมมุติฐานมีทิศทางหรือไม่มีทิศทาง

*ลองแปลงเป็นสมมุติฐานทางสถิติดู

จะได้ช่วยเพื่อนด้วย

อรุณี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท