หัวใจสำคัญขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO)


หัวใจสำคัญ หรือ "วินัย 5 ประการ" ของการเป็น "องค์กรแห่งการเรียนรู้" ได้แก่

        1. บุคคลที่รอบรู้ (Personal Mastery) หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น คนในองค์กรจะต้องให้ความสำ คัญกับการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ
        2. รูปแบบความคิด (Mental Model) หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ แสดงถึงวุฒิภาวะ (Emotional Quotient, EQ) ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิดที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสามารถในการทำ ความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
        3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
        4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มหรือทีมงานเป็นเป้าหมายสำ คัญที่จะต้องทำ ให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันอย่างสมํ่าเสมอ
        5. การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หมายถึง การที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็นระบบโดยรวม(Total System) ได้อย่างเข้าใจ แล้วสามารถมองเห็นระบบย่อย (Subsystem) ที่จะนำ ไปวางแผนและดำ เนินการทำ ส่วนย่อยๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน

รูปแบบการขยายผลของค์ความรู้ในองค์กร
        SECI-Knowledge Vonversion Process หรือ SECI Model ซึ่งมีการนำ ไปใช้กันอย่างแพร่หลายจนประสบความสำเร็จมาแล้วในองค์กรชั้นๆนำ ต่างๆ ดังนี้

Socialization แสดงการถ่ายโอนความรู้กันโดยตรงทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ระหว่างกลุ่ม หรือบุคคล ที่มีความรู้พื้นฐานความสนใจที่สอดคล้องกัน หรือมีคลื่นความถี่ สื่อสารเข้าใจกันได้โดยง่าย

Externalization แสดงให้เห็นการเรียนรู้เพื่อแสวงหาสิ่งใหม่ๆ จากภายนอกเพิ่มเข้ามา รวมทั้งประสบการณ์ตรงที่สัมผัสกับลูกค้า ผูใ้ช้บริการ ผู้ทำ ธุรกิจกับองค์กร

Combination แสดงการเชื่อมโยงความรู้ภายในกับความรู้ภายนอก แล้วหาแนวปฏิบัติที่ดีที่เหมาะสมกับเรา ส่วนนี้ผู้ที่มีความสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารที่ดี จะช่วยสรุปองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้

Internalization เป็นผลของการเชื่อมโยงแล้วนำ ความรู้มาปฏิบัติเกิดเป็นความรู้ประสบการณ์และปัญญาฝังอยู่ในตัวคน กลายเป็น Tacit Knowledge เพื่อนำ ไปถ่ายทอดหมุนเวียนต่อไป

        สรุป เส้นทางที่จะก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์กร ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ปัจจัยแวดล้อมวัฒนธรรมการทำ งาน บุคลากรขององค์กรที่พร้อมที่จะเปิดใจรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆและสิ่งสำ คัญที่สุด ผู้บริหารผู้นำ ขององค์กร พร้อมนำ ทีมผู้ปฏิบัติทั้งหมด ก้าวตามหาโอกาส ช่องทางของการเรียนรู้ นับว่าการบริหารแนวใหม่ ดัชนีที่สำ คัญคือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานทำ ให้องค์กรนั้นประสบความสำ เร็จได้ในการสร้างองค์กรอัจฉริยะ องค์กรแห่งการเรียนรู้

 

คำสำคัญ (Tags): #เกร็ดความรู้
หมายเลขบันทึก: 376755เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท