ความดีที่เยียวยา


ความดีที่เยียวยาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต
       บ่ายแก่ๆ ของวันศุกร์สุดสัปดาห์  หลังเสร็จสิ้นภารกิจงานการช่วยเหลือคนไข้ระยะสุดท้ายที่หอผู้ป่วยเด็กมะเร็ง 3ง  ฉันเดินกลับไปที่หน่วยเพื่อจัดการงานที่ยังคั่งค้าง  ทันที่ที่ประตูห้องเปิด เสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้น กริ๊ง! กริ๊ง!  ต้นสายคือหัวหน้าหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต “สวัสดีค่ะกุ้งพี่ป๋อมนะคะ พอดีมี case จะ consult  ทางหน่วยค่ะ เป็นคนไข้เด็กอายุ 3 วันคลอดโดยการผ่าตัด แม่อายุ 27 ปี  ก่อนหน้าที่จะตั้งครรภ์แม่เข้ารับการักษาโรคหัวใจโดยใส่ลิ้นหัวใจเทียมจึงต้องทานยา คูมาดิน  หลังคลอดเด็กไม่ค่อยดีมีปัญหาเลือดออกในสมอง Plan Palliative Care  อาจารย์ว่าจะขอปรึกษาทางหน่วยให้ช่วย มาดูพ่อกับแม่หน่อยค่ะ” สิ้นเสียงพี่ป๋อม ฉันตอบกลับไปทันทีว่า “ได้ค่ะเดี่ยวกุ้งไปเดี๋ยวนี้เลย ใบ Consult กุ้งไปรับที่ Ward ก็ได้นะคะ”  
ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่
       
        ฉันใช้เวลาประมาณ 10 นาทีก็เดินมาถึงหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิฤตหรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่าหอผู้ป่วย  NICU เมื่อมาถึงภาพที่เห็นคือเด็กน้อย นอนอยู่บนเตียงทารกแรกเกิด หายใจโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ รอบตัวเต็มไปสายระโยง ระยาง ศีรษะโตผิดปกติ กระหม่อมโป่งตึง  ทีมซึ่งประกอบไปด้วยพยาบาลหอผู้ป่วย NICU หมอเจ้าของไข้ ได้เชิญแม่น้องซึ่งอยู่ในสภาพนั่งรถเข็ญ เนื่องจากผ่าตัดคลอดยังไม่สามารถเดินได้ เข้าไปคุยในห้องให้คำปรึกษา พร้อมทั้งพ่อด้วย  เพื่อบอกให้ทราบถึงอาการของน้องและการวางแผนการดูแลรักษาร่วมกัน  ทีมแนะนำฉันให้พ่อแม่ได้รู้จัก ก่อนที่การสนทนาจะเริ่มต้นขึ้น “ลูกผมเป็นไงบ้างครับ” เป็นคำถามแรกที่พ่อเอ่ยขึ้นท่ามกลางความเงียบ “จากการตรวจเอกซเรย์สมองทำให้ทราบว่าน้องมีเลือดออกในสมองค่อนข้างมาก เป็นผลทำให้มีภาวะสมองบวม” หมอเจ้าของไข้ตอบคำถามพ่อ  “ผมอยากตรวจซ้ำอีกจะได้มั๊ยครับ” พ่อบอกถึงความต้องการ “หมอคิดว่ายังไม่มีข้อบ่งชี้ในการตรวจซ้ำนะคะ และตอนนี้เราติดตามดูภาวะเลือดออกง่ายจากการเจาะเลือดน้องดูทุกวันอยู่แล้ว ยังไม่ปรากฏว่ามีอะไรเปลี่ยนไปค่ะ” “คุณพ่อกำลังกังวลว่าจะมีเลือดออกเพิ่มเหรอคะ”    ฉันสะท้อนความรู้สึกของพ่อ  “ครับ อีกอย่างผมก็ลุ้นว่ามันจะดีขึ้น เผื่อว่าจะมีความหวังขึ้นมาบ้าง แต่ถ้าหมอยืนยันตามนี้แล้วผมก็ o.k. ครับ เวลาเหลือน้อยแล้ว ผมขอไปดูลูกก่อนนะครับ ขอบคุณทุกคนที่มาเป็นกำลังใจให้ผมและแฟนผม”   
 
   ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่
ภาพจาก INTERNET
 
        พูดจบพลาง เข็ญรถพาแม่เข้าไปหาน้อง ซึ่งอยู่ในห้องแยก โดยทีมหอผู้ป่วย NICU นั้นได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยา (Healing Environment ) โดยเฉพาะในผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะต้องการความเป็นส่วนตัวค่อนข้างมาก  ฉันเดินตามครอบครัวเข้าไปดูน้องพร้อมกับแนะนำตัวเองกับครอบครัวอีกครั้ง “พี่ชื่อพี่กุ้งนะ มาจากหน่วยการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง พี่จะมาช่วยทีมดูแลน้องและครอบครัวมีอะไรให้ช่วยขอให้บอกได้” ผมชื่อพีครับแฟนผมชื่อนิด(นามสมมุติ) พ่อแนะนำตัวตอบฉันบ้าง  ในขณะที่ฉันคุยอยู่กับพีนั้น  นิดผู้เป็นแม่ดูจะไม่ได้สนใจสิ่งอื่นนอกจากลูกน้อย นิดเอามือไปแตะที่แขนลูกพร้อมกับลูบไปมาเบาๆ  ประหนึ่งจะบอกว่า “แม่อยู่นี่ แม่รักลูกนะ” ส่วนพียืนนั้นมองทั้งแม่และลูกด้วยแววตาที่ฉายแววแห่งความกังวล  สักพักฉันเห็นพีกดชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพน้องจากกล้องในมือถือ เห็นดังนั้นฉันเริ่มรู้แล้วว่า  พีกำลังพยายามที่จะเก็บเกี่ยวความทรงจำดีดี ที่มีต่อลูกน้อย และนี่คงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่พีเลือกทำ  ฉันไม่รอช้ารีบหยิบกล้องที่พกติดกระเป๋าขึ้นมาและบอกกับทั้งสองคนว่า “ อยากได้ภาพครอบครัว สามคน พ่อ แม่ ลูก มั๊ย? มา พี่ถ่ายให้” พีไม่ลังเลที่จะบอกฉันว่า “อยากได้ครับ” หลังเก็บภาพประทับใจเสร็จเรียบร้อยแล้ว ฉันรับปากกับพีและนิดว่า “ พี่จะรีบทำภาพมาให้นะ”

 

  ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่

      
   การเก็บความทรงจำที่มีต่อลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย หรือการที่ การกระตุ้นให้ครอบครัวได้เล่าถึงความทรงจำที่ดีในระหว่างตั้งครรภ์   ฉันคิดว่านี่เป็นการเตรียมหัวใจของคนเป็นพ่อแม่ที่รู้ว่ากำลังจะสูญเสียลูกน้อยให้ แข็งแรง ที่เราเรียกว่า  Bereavement care  ความทรงจำเหล่านี้จะมีค่าที่สุดในวันที่ลูกน้อยได้จากไปแล้ว ฉันเริ่มเห็นรอยยิ้มของนิดผู้เป็นแม่ และพีก็ค่อยๆถ่ายทอดเรื่องราว ความเป็นไปของครอบครัวให้ฉันฟังและ นี่เป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่าสัมพันธภาพใหม่ระหว่างฉันกับพีและนิดได้เกิดขึ้นแล้ว  ในระหว่างการสนทนาฉันพยายามค้นหา ปัญหา ความต้องการของครอบครัวทั้งด้านจิตสังคม การปรับตัวของครอบครัวกับสภาวะที่เกิดขึ้น สถานะทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญไม่แพ้กันคือความต้องการด้านจิตวิญญาณ
        การทำงานของฉันในวันนี้ ถึงแม้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต แต่ก็พอจะเริ่มมองเห็นช่องทางที่จะเดินไปแล้ว และสิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้นั่นคือการเยียวยาได้เกิดขึ้นแล้วในขณะที่ฉันประเมินครอบครัวเพราะในขณะพูดคุยฉันเองพยายามที่จะเป็นผู้ฟังที่ดี  พยายามที่จะเข้าใจความรู้สึกของเขาทั้งสอง  ถ้าพูดตามหลักกระบวนการพยาบาล  Assessment กับ Nursing Intervention ไปด้วยได้อย่างไม่น่าเชื่อ และเมื่อคุยไปได้สักพัก ฉันก็เริ่มรู้สึกว่าทั้งสองคนให้ความไว้วางใจผู้มาใหม่อย่างฉัน วันนี้พีกับนิดก็ได้บอกถึงความต้องการด้านจิตวิญญาณของเขาทั้งสองว่า  “ผมชอบยิงหัวนก และชอบตกปลาสงสัยกรรมที่ผมเคยฆ่าสัตว์ ทำให้ลูกผมเป็นแบบนี้ ดูหัวลูกผมสิบวมซะอย่างนั้น”  “พรุ่งนี้เป็นวันเกิดหนู หนูอยากทำสังฆทาน อยากไถ่ชีวิตสัตว์ เพื่อเป็นกุศลกับตัวเองและลูก หนูอยากปล่อยปลาจะเป็นไปได้มั๊ยพี่กุ้ง”  นิดเอ่ยขึ้นบ้าง “เอาสิ พรุ่งนี้เลยดีมั๊ยไปทำบุญที่ตึกสงฆ์ก็ได้ อยู่ใกล้ๆนี่เอง ส่วนเรื่องปล่อยปลาเดี๋ยวจะไปหาซื้อปลาให้  เสร็จแล้วถ้านิดไปไม่ได้ก็ใช้วิธี อธิษฐานแผ่เมตตา แล้วพี่เอาไปปล่อยให้” 

   ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่ดูภาพขนาดใหญ่

 

          ฉันไม่ลังเลที่จะช่วยทั้งสองคนในการที่จะทำในสิ่งที่เขาปรารถนา เพราะนี่เป็นเส้นทางแห่งบุญที่ฉันเองก็จะขออาศัยไปด้วย และทุกครั้งที่ได้ทำแบบนี้ก็มักจะบอกตัวเองเสมอว่า วันนี้ธนาคารความดีได้เปิดทำการแล้ว และฉันเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่ได้กล่าวถึงอานุภาพแห่งความดี ว่า “การทำความดี หมั่นสร้างกุศล ไม่เพียงแต่ช่วยให้มีชีวิตที่ผาสุกเท่านั้น หากยังอำนวยให้มีความสุขในเวลาละโลกนี้ไป ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า บุญย่อมทำให้เกิดสุขในเวลาสิ้นชีวิต ความดีหรือบุญกุศลนั้นนอกจากจะนำความแช่มชื่นเบิกบานมาสู่จิตในขณะกระทำแล้ว ยังอำนวยให้เกิดความอิ่มเอิบ ปลาบปลื้มใจในเมื่อระลึกนึกถึง”    ก่อนจะลาจากมา ฉันให้ความมั่นใจนิดกับพีอีกครั้งว่าพรุ่งนี้ได้เขาจะได้ทำในสิ่งที่เขาต้องการแน่นอนพร้อมกับประโยคส่งท้ายที่มักจะพูดกับคนไข้เสมอคือ “ เป็นกำลังใจให้นะมีอะไรก็โทรหาพี่จะแวะมาเยี่ยมบ่อยๆ ”   
        ขณะเดินกลับไปที่หน่วย ในใจก็คิดว่านี่เป็นอีกหนึ่งความดีที่เกิดขึ้นในงานการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย และเป็นความดีที่คอยเยียวยา และหล่อเลี้ยงให้ชีวิตที่กำลังทดท้อ ได้มีแรงกำลังที่จะเดินต่อไปข้างหน้าด้วยความหวัง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
คำสำคัญ (Tags): #palliative care in neonatal
หมายเลขบันทึก: 376431เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2010 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

  • อ่านเรื่องจบแล้ว
  • ชื่นชมในความใส่ใจของพี่กุ้ง
  • กับครอบครัวผู้ป่วยที่กำลังเศร้าเสียใจ
  • กับอาการเจ็บป่วยของลูกน้อย
  • ขอเอาใจช่วยพ่อแม่และตัวเด็ก
  • และเป็นกำลังใจให้พี่กุ้งคนทำดีนะคะ.

ตามภาพนี้มาค่ะ

เลยถือโอกาสเชียร์คนฝากความดี กับธนาคารค่ะ

คิดฮอดหลายเน้อเอื้อย

แวะมาให้กำลังใจ keep your tract. All the best จ้ะ

Dsc09961

ขอบคุณน้องเเป๋มค่ะ ที่ตามมาให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง case นี้พี่กุ้งดูต่อจนถึงวันมาสิงคโปร์ หลังจากนัดหมายเเล้วก็ได้พาไปทำบุญ

ปลาที่ซื้อมาให้พระท่านได้สวดมนต์เเผ่เมตตา ให้กับปลาเเล้วพีกุ้งนำไปปล่อยให้ เด็กไม่ค่อยดีเลยค่ะ เเม่ก็น่าห่วงทั้งจิตใจ เเละโรคหัวใจของเขา ล่าสุดที่เจอ คนไข้ OFF เครื่องช่วยหายใจได้ พ่อเเม่ก็มีกำลังใจ ถึงเเม้ความหวังจะเหลือเพียงริบหรี่ก็ยังหวัง

งานกำลังสนุกเเต่ต้องปลีกตัวมาดูงานที่สิงคโปร์กลับไปคงได้ไปลุยต่อค่ะน้องเเป๋ม

พี่เขี้ยวขา คิดฮอดคือกันนะเจ้า กุ้งก้ไม่ได้ไปเยี่ยมพี่เขี้ยวซะนาน ขอบคุณนะคะที่มาเชียร์ พี่เขี้ยวสบายดีนะคะ

ขอบคุณนะคะ พี่เกดมาพร้อมสาวน้อยเเก้มใส น่ารักค่ะ

พี่กุ้งเยี่ยมยอดมาก ๆ ค่ะ

นอกจากจะให้การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวได้ดี

พี่ก้งยังถ่ายทอดเรื่องราวเป็นอักษรได้ดีมาก ๆ ค่ะ

เยี่ยมเลยน้องกุ้ง มีอะไรจะรบกวน consulte นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท