โครงการอ่านวิทย์ คิด(ส์) ทดลอง ตอน พลังงานลม : สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง 1


เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2553 ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอท่าเรือ จัดกิจกรรมตามโครงการอ่านวิทย์ คิด(ส์) ทดลอง ตอน พลังงานลม : สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง ณ โรงเรียนแสนโกศิกนุสรณ์ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นสมาชิกของชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนดังกล่าว จำนวน 110 คน กิจกรรมที่จัดในวันนั้นเป็นกิจกรรม Walk-Rally ส่งเสริมการอ่าน ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และสิ่งรอบๆตัวเรานั่นก็คือ "พลังงานลม"

เราทุกคนคงอยากให้มีลมพัดสบายๆมากกว่าไม่มีลมในอากาศเลย เพราะลมช่วยระเหยความร้อนออกไปจากร่างกายได้ จึงทำให้เรารู้สึกสบายทุกครั้งที่ลมพัดผ่าน...เคยสงสัยบ้างไหมค่ะว่าลมที่พัดอยู่รอบๆตัวเรามาจากไหนกันแน่

ฐานการเรียนรู้ที่ 1 ลมมาจากไหน และ Walk-Rally ฐานที่ 1 อ่านแล้วบันทึก เรื่อง พลังงานลม

ชุดการทดลองการเกิดลมค่ะ

โมบายความรู้ เรื่อง ฤดูกาลและลมประจำฤดู  

เรามองไม่เห็นลม  แต่เรารู้สึกได้  และมองเห็นด้วยว่ามันพัดใบไม้ไหว  และทำให้ธงโบกสะบัด  เราสามารถได้ยินเสียงลม  เมื่อมันพัดผ่านร่องประตู กิ่งไม้ หรือปล่องไฟ  เราสามารถทดสอบได้ว่า "ลมพัดเป็นเส้นตรงหรือไม่"

ฐานการเรียนรู้ที่ 2 ลมพัดเป็นเส้นตรงหรือไม่ และ Walk-Rally ฐานที่ 2 อ่านแล้วตอบคำถาม เรื่อง เทคโนโลยีกังหันลม

       

ลม มีพลังและแรงผลักดันมหาศาลอย่างไม่น่าเชื่อ มันสามารถทำให้ต้นไม้หักโค่น ทำให้รถยนต์พลิกคว่ำ หรือ ทำให้บ้านเรือนพังทลายได้ไม่ยาก ดังนั้น ถ้าเราสมารถวัดแรงลมได้จะมีประโยชน์มากมาย

เด็ก ๆ สามารถประดิษฐ์การทำเครื่องวัดแรงลมโดยใช้วัสดุ- อุปกรณ์ ดังนี้

  1. ไม้บัลซาหนา ๆ ยาวประมาณ 30 cm. 2 อัน
  2. เลื่อยขนาดเล็ก
  3. แท่งไม้กลมสำหรับทำเป็นแกน
  4. ขวดพลาสติก
  5. แก้วพลาสติก 4 ใบ
  6. ตะปูตัวเล็ก ๆ
  7. กาวติดไม้ เช่น กาวลาเท็กซ์

ฐานการเรียนรู้ที่ 3 การวัดแรงลมให้เที่ยงตรงยิ่งขึ้น และ Walk-Rally ฐานที่ 3 อ่านแล้วเติมคำในช่องว่าง เรื่อง ส่วนประกอบของระบบกังหันลมขนาดใหญ่สำหรับผลิตไฟฟ้า

     

จากฐานการเรียนรู้ที่ 3 ทำให้เราทราบว่า ลม มีพลังและแรงผลักดันมหาศาลอย่างไม่น่าเชื่อ มันสามารถทำให้ต้นไม้หักโค่น ทำให้รถยนต์พลิกคว่ำ หรือ ทำให้บ้านเรือนพังทลายได้ไม่ยาก ดังนั้น ถ้าเราสมารถวัดแรงลมได้จะมีประโยชน์มากมาย  เด็ก ๆ เรามาประดิษฐ์และทดลอง "ล้อแรงลม" กันเถอะค่ะ

ฐานการเรียนรู้ที่ 4 ล้อแรงลม และ Walk-Rally ฐานที่ 4 อ่านแล้วจับใจความสำคัญเรื่อง กังหันลมกับการผลิตไฟฟ้า

     

หลายคนเคยถามด้วยความสงสัยว่าเหตุใดเวลาอ่านข่าวหรือดูข่าวเกี่ยวกับพายุทอร์นาโดมักจะปรากฎว่า บ้าน รถยนต์ ฯลฯ ถูกหอบไปด้วย การทดลองนี้จะช่วยให้เด็กๆเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น

วัสดุ-อุปกรณ์ 

  1. ลูกปิงปอง 2 ลูก
  2. เชือกขนาดเล็ก 2 เส้น
  3. ไม้บรรทัด
  4. หนังสือหลายๆเล่ม
  5. เทปใส

วิธีทดลอง 

  1. ใช้เทปใสติดปลายเชือกกับลูกปิงปองเส้นละลูก แล้วผูกอีกปลายหนึ่งเข้ากับไม้บรรทัด ให้ลูกปิงปองห่างกันประมาณ 2 cm.
  2. วางไม้บรรทัดในข้อ 1 ไว้บนขอบโต๊ะโดยให้ส่วนที่มีลูกปิงปองห้อยนั้นอยู่ห่างจากขอบโต๊ะประมาณ 10 cm. ใช้หนังสือหลายๆเล่มทับไม้บรรทัดด้านที่อยู่บนโต๊ะ
  3. เป่าลมผ่านช่องที่อยู่ระหว่างลูกปิงปอง ทั้งสองลูก ก่อนเป่าให้คาดเดาไว้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สังเกตผล
  4. ทำเช่นเดียวกับข้อ 3 โดยเป่าด้วยแรงมากน้อยต่างกัน สังเกตผล

ฐานการเรียนรู้ที่ 5 พายุทอร์นาโด และ Walk-Rally ฐานที่ 5 อ่านแล้วได้อะไร...เมื่อเด็ก ๆ อ่านใบความรู้เรื่อง "กฟผ. กับการพัฒนาพลังงานลมเพื่อผลิตไฟฟ้า "แล้ว เด็ก ๆ ช่วยสรุปทีซิว่าเด็ก ๆ ได้รับความรู้อะไรบ้างจากเรื่องที่อ่าน

     

โมบายความรู้ เรื่อง ลมและพายุ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #พลังงานลม#ลม
หมายเลขบันทึก: 375289เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2010 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ครูอุมาภรณ์ครับ เสน่ห์ของการเรียนการสอนส่วนสำคัญอยู่ที่ได้ลงมือทดลองและปฏิบัติจริง ดีใจแทนเด็กๆ ครับที่มีโอกาสเช่นนั้น

ขอบคุณครูหยุยที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ เด็กๆถ้าได้ลงมือทำ ทดลองหรือปฏิบัติด้วยตนเองจะทำให้เขาเกิดการเรียนรู้ และลองผิดลองถูกด้วยตนเอง การเรียนในห้องเรียนทำให้เกิดการเรียนรู้ก็จริงแต่ถ้าเด็กๆได้ทดลอง ปฏิบัติ หรือเรียนนอกสถานที่บ้างก็จะเป็นการกระตุ้นให้เด้กๆเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอีกทางหนึ่งค่ะ ดีใจมากๆค่ะที่ครูหยุยเข้ามาเยี่ยม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท