สมุนไพรไทยรักษาโรค


คนไทยเราเมื่อสมัยก่อนมีการเรียนรู้การใช้สมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆ ในหมู่บ้านกันสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน เพราะในอดีต ประเทศไทยมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากและและสมุนไพรก็มีมากในอดีต จึงถือว่าเป้นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษสั่งสมเอาไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาความรู้และนำไปใช้ประโยชน์

กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าใช้ทำยาได้ทั้งดิบ และสุก มีประโยชน์มากมายมหาศาล อย่างเช่น กล้วยดิบมีสารฝาดสมาน (Astringent) จึงช่วยในการสมานรักษาอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ เป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันผนังกระเพาะลำไส้ไม่ให้เชื้อโรคและอาหารที่มีรสเผ็ดจัด เช่น พริก เข้าไปทำลายผนังกระเพาะ ลำไส้ โดยกินครั้งละครึ่งผลหรือ 1 ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง และยังช่วยรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย

กระชาย ตามตำราถือว่ากระชายเป็นยาอายุวัฒนะชั้นหนึ่ง เป็นยาเจริญอาหารและบำรุงธาตุทำให้โลหิตหมุนเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่อง สดใส ชะลอความแก่ แก้ใจสั่น แก้วิงเวียน แน่นหน้าอก แก้แผลในปาก แก้ฝีอักเสบ แก้กลากเกลื้อน

กระเทียม กระเทียมเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณ คือ ช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด แก้อาการท้องอืด และแน่นจุกเสียด โดยให้รับประทานกระเทียมดิบๆ ครั้งละประมาณ 5-7 กลีบหลังอาหาร

ขมิ้นชัน ขมิ้นชันนอกจากจะเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องเทศกันมานานแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาได้อีกด้วย เช่น เป็นยาลดกรด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลม อาหารไม่ย่อย แก้โรคกระเพาะ แก้ปวดท้อง แก้อาการเกร็งกล้ามเนื้อ ทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลง

ขิง ขิงเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ ประโยชน์ของขิงคือช่วยย่อยอาหาร ลดความดัน ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล โดยการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหารในลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระ ช่วยลดอาการอยากเสพยาของคนติดยาเสพติดได้ บรรเทาปวด ลดไข้ ลดอาการเวียนศีระษะ

ตำลึง ตำลึงเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางอาหารสูง ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน เจ็บตา ตาแดงและตาแฉะ แก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด

ตะไคร้ ตะไคร้เป็นสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน เฝื่อน และขมเล็กน้อย นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงในการประกอบอาหารทุกส่วนของตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ และแก้อหิวาตกโรค

กระดุมทอง เป็นไม้ล้มลุกที่พบเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนน หรือตามบ้านเรือนที่ปลูกอาศัยอยู่ เป็นพืชที่ขึ้นได้ง่าย ใบจะสากมีสีเขียวเข้ม ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีสีเหลือง ตามแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่ได้ให้การยอมรับต้นกระดุมทองนี้มากนัก แต่ทางแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนจีนนั้น ถือได้ว่าต้นกระดุมทองนี้มีสรรพคุณทางยาที่สามารถช่วยรักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจและความดันได้เป็นอย่างดี

มะระขี้นก มะระขี้นกเป็นสมุนไพรพื้นบ้านของไทยอีกชนิดหนึ่งที่มีรสขม มีสรรพคุณในการรักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ

บัวบก บัวบกเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลากหลายทั้งแก้อาการช้ำใน ลดความดันโลหิต

ฟ้าทะลายโจร เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งมีรสขม เป็นยาเย็น มีฤทธิ์แก้อักเสบ ฆ่าเชื้อโรค

โหระพา ใบสด มีน้ำมันหอมระเหย เช่น methyl chavicol และ linalool ฯลฯ ขับลมแก้ท้องอืดเฟ้อ ใช้เป็นอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นสำอางบางชนิด เมล็ดเมื่อแช่น้ำจะพองเป็นเมือก เป็นยาระบาย เนื่องจากไปเพิ่มจำนวนกากอาหาร (bulk laxative)

กะเพรา ใบ บำรุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้อง แก้ลมตานซาง แก้จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน และขับลม
 
สะตอ สะตอ (Parkia speciosa) เป็นไม้ยืนต้น มีกิ่งก้านที่มีขนละเอียดใบประกอบแบบขนนกสองชั้น จะออกช่อที่ปลายของกิ่งตามตำราไทย จะใช้เมล็ด ขับลมในลำไส้ แก้ปัสสาวะพิการ ไตพิการ

เกล็ดปลาหมอ Phyllodium elegans(Lour.) Desv มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตรง ลักษณะใบเป็นแบบขนนกเรียงสลับจะมีใบย่อย 3 ใบ ดอกของมันจะเป็นกระจุกที่ซอกใบ มีใบประดับลักษณะคล้ายเกล็ดปลา ประกบหุ้มไว้ 2 ใบ กลีบดอกสีขาว รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝักแบนยาวมีสรรพคุณทางสมุนไพร ใช้ราก ต้มน้ำดื่ม เพื่อแก้โรคตับพิการ

มะยม เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่เบี้ยว หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ตำราไทยใช้ รากแก้ไข รักษาโรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน ใบ ต้มน้ำอาบแก้คัน แก้ไข้ เหือด หิด อีสุกอีใส

ไพล ไพลเป็นพืชลงหัว มีเหง้าใหญ่ เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นหอมใบเรียวยาวปลายแหลมดอกออกรวมกันเป็นช่ออยู่บนก้านช่อดอก ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเหง้าแก่จัด หลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว

 

          เห็นมั๊ยค่ะว่าสมุนไพรที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันมีประโยชน์มากแค่ไหน

คำสำคัญ (Tags): #มหาสารคาม22
หมายเลขบันทึก: 375046เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2010 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร

ซึ่งมันใกล้ตัวมากเลยถ้าไม่ได้อ่านคงไม่รู้เลย

เดี๋ยวต้องไปนำไปเล่าให้นักเรียนฟัง

ขอบคุณจ้า

ละถ้าป่วยใจ...จะใช้สมุนไพรอาไรรักษาดีครับ

ป่วยใจ!!!! ก็ใช้ธรรมมะจากหลวงพี่รักษาซิเจ้าคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท