แนวทางพัฒนาชีวิต...Recovery Model...จิตสังคมคนไทยมีสุข


ขอบคุณคุณหมอปัทมา คุณหมอวัชรา คุณหมอกัมปนาท อ.สุชาดา ทีมงานผู้จัด และผู้ร่วมฟัง Recovery Model สำหรับผู้ป่วยจิตเวช ในการประชุมมหกรรมคุณภาพครั้งที่ 8 รร.อมารี ดอนเมือง กทม. วันที่ 13 ก.ค. 53

ผมขอบคุณ พญ. ปัทมา ศิริเวช สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และ พญ. วัชรา ริ้วไพบูลย์ สสพ. ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงแนวทางประยุกต์ Recovery Model ในการช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชไทย ... ทำให้ผมรู้สึกชื่นชมในความมุ่งมั่นของคุณหมอทั้งสองท่านที่พร้อมและเปิดใจเรียนรู้เรื่อง Recovery Model ที่ผมได้มีโอกาสศึกษาที่ออสเตรเลียและอยากค้นหาคำตอบว่า "จะนำ Recovery Model มาใช้กับบริบทไทยได้จริงหรือ และจะใช้ได้จริงอย่างไร"

ผมรับฟังความคิดเชิงนโยบาย กระบวนการ และแนวทางการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชในปัจจุบัน ทำให้ผมเกิดการเรียนรู้มากขึ้นว่า "บริบทไทยนั้นไม่ได้ง่ายต่อการนำ Recovery Model นี้มาใช้" โดยผมวิเคราะห์ถอดบนเรียนได้ถึง 14 ประเด็น ดังนี้

1. Recovery Model คงแปลเป็นไทยว่า "การฟื้นคืนสภาพ" ไม่ได้แล้ว เพราะความหมายน่าจะสื่อสารกับคนไทยให้เข้าใจมากขึ้น เช่น "การพัฒนาความสามารถในการดำเนินชีวิตหรือทักษะชีวิต"

2. วันนี้ผู้ฟังกำลังทำความเข้าใจว่า Dr. Anthony ได้เสนอ Recovery Model เมื่อปี ค.ศ. 1990 โดยยกกรอบความคิดทางการแพทย์ออกไป เหลือเพียงการสร้างความมุ่งมั่น (Empowerment) และมีการติดต่อคนอื่นๆ (Connection) ที่จะเรียนรู้กระบวนการคิดและการเรียนรู้ของผู้ป่วยจิตเวชในสถานการณ์ชีวิตจริง ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ที่มีความเป็นธรรมชาติของการมีชีวิตอยู่ที่ดีขึ้น (Healing) ด้วยการค้นหา พลังในแต่ละบุคคล (Individual empowerment) ได้แก่ "ความหวัง (Hope) จากการค้นหาคุณค่า เป้าหมาย ความคิด ความรู้สึก และคุณความดีของคนหนึ่งคนที่ต้องการพัฒนาบทบาทชีวิต (Life roles) หลังจากเกิดความบกพร่อง/ความสามารถลดลงของทักษะทางจิตสังคม (Psychosocial impairment/disability, ICIDH-WHO, 1980)"

3. บุคลากรทางสาธารณสุขและบุคคลที่ช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชพึงตระหนักรู้ถึงการวัดผลคุณภาพชีวิต (Quality of life) และความอยู่ดีเป็นสุข (Well-being) ของคนๆนั้น โดยบันทึกพฤติกรรมของการมีส่วนร่วมกระทำกิจกรรม (Activity & participation, ICF-WHO, 2002) เป็นพลเมืองดีของสังคม (Social participation & Citizenship) 

4. โปรแกรมการช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชมีมากมายในมิติสรีรวิทยา จิตวิทยา และการทำหน้าที่ของร่างกาย แต่ประสิทธิผลของโปรแกรมเหล่านั้นควรมีการวิจัยอย่างเหมาะสมและลดโปรแกรมที่อาจไม่ตรงตามความต้องการของผู้ป่วยจิตเวชและไม่มีตัวเลือกให้ผู้ป่วยจิตเวชคิดตัดสินใจอย่างอิสระ

5. Recovery Model จะใช้ได้ถูกต้อง คือการลดบทบาทการให้บริการด้วยโปรแกรมจากบุคลากรทางสาธารณสุขให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ควรพิจารณากระบวนการที่ไม่ต่อเนื่องของระบบทางการแพทย์ในการบำบัดฟื้นฟูและการส่งเสริมป้องกัน ทำให้เกิดความยากลำบากในการนำผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนอย่างถาวร

6. Recevery Model ที่ทำได้จริงและมีประสิทธิผล คือ การเปรียบเทียบโปรแกรมการพัฒนาทักษะชีวิตในสถานการณ์ที่แท้จริงกับกลุ่มควบคุม/กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมบำบัดฟื้นฟูแบบสหวิชาชีพ แต่ต้องใช้วิธีการสุ่มทดลองและปรับโปรแกรมตามบริบทไทยจริงๆ

7. เมื่อสร้างสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกตัวคนๆนั้นอย่างเหมาะสม คนหนึ่งคนต้องการพัฒนาทักษะชีวิตในสถานการณ์ชีวิตจริงมากกว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน (หลังจากผ่านกระบวนการบำบัดในสถานพยาบาล)

8. เราอาจต้องมองและคิดนอกกรอบว่า ทำไมเราไม่ลองพาคนหนึ่งคนที่บกพร่องทางจิตสังคมกลับไปพัฒนาจัดการตนเอง (self-management) และมีการทบทวบความคิดของตนเองอย่างมุ่งมั่น (self-determination) โดยมีกลุ่มที่สนับสนุนช่วยเหลือ (self-help group) ปรับบทบาทผู้รักษามาเป็นผู้ที่ช่วยเหลือคนหนึ่งคนเท่าที่จำเป็นและเปิดพื้นที่/โอกาสให้เขาแสดง/ฝึกฝนความสามารถในกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupational performance through self-practice opportunity) ตามที่ต้องการและมีความสุข

9. แนวคิดทางการแพทย์กำลังจัดระบบของการช่วยเหลือและการฝึกฝนทักษะชีวิตของผู้ป่วยจิตเวช เช่น กิจกรรมบำบัด อาชีวบำบัด เกษตรบำบัด ดนตรีบำบัด ธรรมะบำบัด ชุมชนบำบัด แต่อย่าลืมย้อนถามตัวผู้ป่วยทางจิตเวชว่า คิดอย่างไร มองการพัฒนาทักษะชีวิตของตนเองที่เปลี่ยนแปลงอย่างไร พอใจในโปรแกรมต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการและความจำเป็นที่จะนำทักษะนั้นไปใช้ในชีวิตจริงหรือไม่ อย่างไร

10. บุคลากรทางการแพทย์อยากฝึก Ability ของผู้ป่วยจิตเวช แต่เรามององค์ประกอบของปัญหาในผู้ป่วยจิตเวชมากเกินไป และมุ่งสนใจ Disability & Personal tragedy มากจนบางครั้งอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยได้ทั้งหมดหรือได้เพียงชั่วครู่ เราควรตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมระบบเปิดของมนุษย์ที่ไม่อยากให้มีกรอบความคิดของคนอื่นๆ มากจนเกินไป

11. ทัศนคติของคนที่ไม่ป่วยทางจิตเวช แต่อาจมีจิตใจที่ดีงามไม่เทียมเท่าคนป่วยทางจิตเวช และที่สำคัญเราไม่เคยได้ย้อนถามผู้ป่วยจิตเวชถึงความสนใจ ความสามารถ และความสุขที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งประสบการณ์การเรียนรู้ที่อาจไม่จำเป็นต้องฝึกฝนใหม่ หากแต่เราไม่เคยให้โอกาสคนหนึ่งคนแสดงความสนใจ ความสามารถ และความสุขที่หลากหลายนั่นเอง

12. โครงสร้างเชิงนโยบายของเครือข่ายช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชในไทยนั่นดูน่าสนใจ แต่ควรมีการสำรวจและสะท้อนความคิดเห็นร่วมกันกับผู้ปฏิบัติงานจริงว่า คนหนึ่งคนที่บกร่องทางจิตสังคมนั้นได้คิดและมีส่วนร่วมในการได้รับ/ขอรับความช่วยเหลือจากเครือข่ายทางสังคมเหล่านั้นด้วยตนเองหรือผู้อื่นอย่างไร

13. การอบรมเชิงปฏิบัติการในการนำ Recovery Model มาใช้ในไทยนั้น ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาทักษะการสร้างแรงบันดาลในและการเข้าถึงความคิดของคนหนึ่งคนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในต่างประเทศมีการอบรมและนำเสนอกรณีตัวอย่างรวมไม่น้อยกว่า 60 ชม. ทำการ

14. ไทยเรามีระบบ "วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน" แต่ต้องมีระบบการจัดการที่ดีจากทีมผู้สร้างนโยบายแห่งชาติและทีมผู้ปฏิบัติการจริง ซึ่งการนำหลักคำสอนทางศาสนาพุทธมาประสมประสานกับ Recovery Model น่าจะเข้าถึงความเชื่อและความคิดดีของผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้น หากต้องมีการสอนและการเรียนรู้ระหว่างพระ บุคลากรทางสาธารณสุข คนในชุมชน และอื่นๆ มากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม  

ผมหวังว่าเนื้อหาที่สรุปข้างต้น อาจทำให้เราทุกคนริเริ่มและสร้างสรรค์แนวทางการพัฒนาทักษะจิตสังคมของคนหนึ่งคนมากขึ้น รวมทั้งตัวของเราเอง!

หมายเลขบันทึก: 374725เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2010 17:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

จากบางตอนที่ผมได้วิพากษ์รูปแบบการใช้ Recovery Model ในบริบทไทย จากตัวอย่างโปรแกรมที่ปฏิบัติจริงและทำได้อย่างน่าชื่นชม ได้แก่

1. ทีมท่านพระครูประโชติสังฆกิจ (วัดห้วยพรหม จ. นครราชสีมา) กับคุณกิตติมาพร พืชเพี้ยน (รพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ) ที่นำเสนอโครงการพัฒนาชีวิตผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 84 คนจาก 200 คน ใน 17 หมู่บ้าน มานาน 10 ปี ด้วยแนวคิด "วัดเป็นศูนย์กลางและพระสงฆ์ทำหน้าที่เป็นผู้ปลุกจิตสำนึกและความเชื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชอยู่กับครอบครัวและทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมชุมชนได้ดี โดยไม่กลับไปสถานบำบัดอีก 62% (ในช่วง 10 ปี) และ 100% (ในช่วง 2 ปี) ที่กลับไปรักษาอีกเพราะมีอาการทางจิตเรื้อรังและไม่สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ นอกจากนี้ผมยังเข้าใจมากขึ้นว่า พระสงฆ์ในปัจจุบันไม่แสดงบทบาทที่แท้จริงทางสังคม 6 ประการ ได้แก่ ปกครอง ศึกษา เผยแผ่ สาธารณูปกรณ์ ศึกษาสงเคราะห์ และสาธารณสงเคราะห์

2. ทีมฟื้นฟูสมรรถภาพงานอาชีวบำบัดและกิจกรรมบำบัด รพ. จิตเวชขอนแก่นฯ คุณพิมพ์กุล กำจาย คุณอมรรัตน์ พูลทอง และคุณอำพร โปสจา ที่นำเสนอกระบวนการที่มีประสิทธิผลของการฝึกองค์ประกอบของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่น่าสนใจในสถานพยาบาลจนออกสู่การใช้ชีวิตจริงในบ้านและชุมชน

แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือนจะเป็น Recovery Model กลับหัวกับทาง Dr. Anthony เพราะผลักดันชีวิตคนๆหนึ่งด้วยพลังของคนหลายคน ไม่แน่ใจว่าจะวัดความคิดและการตัดสินใจในตัวเลือกของกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่หลากหลายด้วยความสามารถในการจัดการตนเองของคนๆ นั้นได้หรือไม่ อย่างไร และที่สำคัญอยากให้เป็นรูปแบบตัวอย่างที่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่สนับสนุนเชิงนโยบายนำไปคิดวางแผนและให้นำไปเป็นต้นแบบแก่ส่วนอื่นๆ ของประเทศ อย่าให้เรื่องสำคัญของพลเมืองดีของไทยต้องลดการมีส่วนร่วมทางสังคมกลายเป็นการแตกแยกทางสังคม หรือ social sepaparation (ต่างคนต่างคิดโปรแกรมโดยไม่มีกรอบแนวคิด Recovery Model จากสากลสู่ไทย)

ผมขออนุญาตนำอีเมล์ที่น่าประทับใจของคุณหมอปัทมามาบันทึกครับ

นมัสการ พระครูประโชติสังฆกิจ พระปลัดมานับ

เรียน อาจารย์วัชรา อาจารย์ศุภลักษณ์

ขอขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ในการทำงานเพื่อผู้ป่วยจิตเวช/คนพิการทางจิต ซึ่งการเดินทางของผู้ป่วยจิตเวชที่จะไปสู่ "ความมีคุณค่า คุณภาพชีวิตดี มีศักดิ์ศรีในสังคม" แน่นอนว่าพวกเขาไม่สามารถเดินได้เองโดยลำพัง แต่เป็นการเดินไปด้วยกันที่บางคนอาจต้องการการพยุง บางคนอาจเดินเดี่ยวไปเอง บางคนอาจขอจับมือเล็กน้อย บางคนขอนั่งบนรถให้เราเข็น ฯลฯ ดังนั้นความเข้าใจ ความสมดุลย์การบริการผู้ป่วยจิตเวช ทุกคนต้องร่วมกันคิด ร่วมกันสร้าง ร่วมกันทำ ร่วมกันรับผล ต้องใช้เวลาทีเราเองก็กำหนดไม่ได้ว่าจะถึงเป้าหมายเมื่อไร รู้ในใจเพียงว่าการเดินทางครั้งนี้ เรามีกัลยาณมิตรร่วมเดินในเส้นทางเพื่อคนพิการจิต/ผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้น

กราบขอบพระคุณ..จากจิตที่เบิกบาน

ปัทมา ศิริเวช

ผมขออนุญาตนำอีเมล์ตอบกลับของนักวิจัยไทยที่กำลังศึกษา Recovery Model และมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อสังคมไทยอีกท่านครับ คลิกอ่านที่ http://gotoknow.org/blog/rcm

เรียน ดร. ป้อบ

ผมขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้กรุณาแจ้งข่าวคราวเกียวกับการขับเคลือนแนวคิด recovery

ในระบบสุขภาพจิตไทย ก็คงจริงอย่างที่อาจารย์ว่า ต้องใช้เวลานานในการพัฒนาคนไข้

ให้เขาสามารถจัดการกับตัวเองได้ ซึ่งก็คงเป็นงานหนักพอสมควรสำหรับพวกเราเจ้าหน้าที่

งานวิจัยของผมตอนนี้กำลังเร่งมือ ก็มีประเด็นน่าสนใจหลายๆ ประเด็นเกียวกับแนวคิดนี้

คงมีโอกาสได้เผยแพร่ เร็วๆ นี้แหละ

ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันบทความที่ดีนี้ค่ะ ^^

จากการอ่านบทความนี้แล้ว ดิฉันได้เรียนรู้....

- การนำ Recovery Model มาใช้เพื่อการพัฒนาความสามารถในการดำเนินชีวิตหรือทักษะชีวิต ซึ่งสามารถนำ Model นี้มาใช้ในการทำการบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการ โดย Model นี้เริ่มจากการมองศักยภาพของคนเป็นอย่างแรกว่าคนนั้นสามารถพัฒนาได้มากกว่าการมองที่ความเจ็บป่วยทางจิตว่าจะจำกัดการดำเนินชีวิตของคนอย่างไร ซึ่งการใช้ Model นี้จะส่งผลให้ผู้รับบริการมองถึงจัวเขาเองว่าอิสระในการเลือกและตัดสินใจ ซึ่งถ้าหากในปัจจุบันคนในสังคมไทยมองผู้ที่ป่วยทางจิตว่าเป็นบุคคลที่สามารถเปลี่ยนแปลง และพัฒนาได้ ดังเช่น Model นี้ ดิฉันเชื่อว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยนั้นจะดีขึ้นอย่างแน่นอน ^____^

เรียน DR.Pop

หน่วยงานกำลังเริ่มทำเรื่องนี้ให้เป็นรูปเป็นร่าง อาจได้ปรึกษาถึงการเริ่มพัฒนา โดยใช้คำว่าวิถีอีสานมา

เป็นตัวช่วย   หวังว่า DR.Pop จะเป็นที่ปรึกษาให้กับเรานะค่ะ

ยินดีเป็นที่ปรึกษาให้ครับผม น่าสนใจมากที่จะประยุกต์วิถีอีสานด้วย ขอบพระคุณมากครับคุณอรพิน

ขอบพระคุณมากครับคุณหมอปัทมา และน้องสริตา

ขอบพระคุณมากครับคุณหมอป. คุณยายธี และน้อง Watsay

ขอบคุณสำหรับความรู้ด้านrecovery มากค่ะตอนนี้สนใจเรื่องrecovery อยู่ค่า จะทำวิจัยเกี่ยวกับนำโมเดลนี้ไปใช้กับผู้ป่วยจิตเภท แต่ยังขาดความรู้ด้านนี้ค่า งานส่วนใหญ่จะเป็นของต่างประเทศ ในไทยตอนนี้รพ.ศรีธัญญาทำอยุ่ ที่อื่นทำน้อยมากหากอาจารย์มีอะไรเเนะนำ ยินดีมากเลยค่า
..กำลังศึกษาป.โท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท