การเกษตรยั่งยืน


การเกษตร การผลิต ชุมชน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม
จากการที่ได้อ่านการเกษตรยั่งยืนจากบทความต่างๆ ดังเช่น
 
วัฒนการเกษตร หรือ Sustainable agriculture หรือ การเกษตรยั่งยืน เป็นหลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับเกษตรกรรมที่ยึดหลักการผลิตที่เหมาะสมกับระบบเกษตรนิเวศน์ โดยใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดผลเสียทั้งระยะสั้น และระยะยาวต่อสภาพแวดล้อม และดำรงอยู่ได้ยาวนานจนถึงคนในรุ่นต่อๆไป ซึ่งหลักการนี้จะเกี่ยวข้องกับหลักการนี้จะเกี่ยวข้องกับระบบเกษตรนิเวศน์ การจัดการทรัพยากร การอนุรักษ์สภาวะแวดล้อม การผลิตที่ดำรงอยู่ยาวนานโดยไม่ได้เน้นที่ผลผลิตสูงสุด รวมทั้งปัจจัยอื่น เช่นการกระจายการผลิต และผลผลิต เพื่อขจัดความยากจน ตลอดจนความมั่นคงด้านอาหาร
ประโยชน์ของหลักการนี้ สามารถแยกได้หลายระดับ คือ ระดับเกษตรกร ก็ผลิตเพื่อเพียงพอ เพื่อการกินดีอยู่ดีของตนเอง โดยไม่จำเป็น หรือใช้ปัจจัยภายนอกน้อยมาก  ในระดับประเทศ ต้องคำนึงถึงความเพียงพอสำหรับประชากรในประเทศ และเพื่อเป็นสินค้าส่งออก ให้ได้เงินตราต่างประเทศ แต่ต้องคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการควบคุมมลภาวะ ส่วนในระดับโลกก็ควรคำนึงถึงในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งต้องดูแลสวัสดิภาพของมนุษยโลก ตลอดจนการพัฒนานานาชาติด้วย
เป็นบทความของท่าน อาจารย์ จรัญ จันทลักขณา  2536
บทความของคุณบัณฑิต ทิพย์เดช ก็นำเสนอพระราชดำรัชของพระเทพฯ ซึ่งแนวทางแบบเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระบบการเกษตรแบบยั่งยืน เป็นวิถีทางที่จะช่วยฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมดำรงรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหา อันมีสาเหตุจากนโยบายการค้าระหว่างประเทศ การส่งเสริมเกษตรแบบยั่งยืน จะช่วยเสริมสร้างให้เกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ยังผลให้ชาติมีความมั่นคงสถาพร ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม รูปแบบการทำการเกษตรแบบยั่งยืนมีหลายระบบด้วยกันที่เป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จทางเศรษฐกิจ สังคม ชีวภาพ กายภาพ และกฎหมายธรรมชาติ บูรณาการเข้าด้วยกันพลิกฟื้นกลับคืนความสมบูรณ์เหมือนดังเดิม (จรัญ จันทลักขณา, 2546) คือ มีการใช้การทำเกษตรในหลายแนวทาง เช่น การ การทำเกษตรแบบผสมผสานหรือระบบเกษตรสมรม(Integrated farming system) การทำการเกษตรระบบไร่นาป่าผสม (Agroforestry system)  การทำการเกษตรกรรมธรรมชาติ (Natural farming system) การทำการเกษตรแบบระบบไร่นาสวนผสม (Polycultury system) และการทำการแบบเกษตรอินทรีย์ (Organic farming system) การทำการเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นวิถีการเกษตรแห่งอนาคต โดย มีองค์ประกอบหลักๆ ดังนี้ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  สนับสนุนนโยบายที่ดิน ทำแผนแม่บทชุมชน  การเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตผู้บริโภคภายในและภายนอกชุมชน การรณรงค์สร้างจิตนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นเราต้องให้เกษตรกรเป็นตัวตั้งเพราะว่าท้องถิ่นที่เขาอยู่เขารู้ดี และแก้ปัญหาได้ดีกว่าคนอื่นๆ ขณะนี้มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นแต่เพิ่มในสัดส่วนน้อยอยู่ จึงมีความจำเป็นที่เกษตรกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องช่วยกันรณรงค์ ขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนตัวบ่งชี้ความสำเร็จทางเศรษฐกิจสังคม ชีวภาพ กายภาพและกฎหมายให้เป็นรูปธรรมยั่งยืนทั่วประเทศเร็วยิ่งขึ้น
 
 
บทความของ คุณลิขิต KM ทีมมหาราช มีใจความว่าการทำการเกษตรแบบยั่งยืนนั้น ผู้ผลิตหรือเกษตรกรจะต้องคำนึงถึงการผลิตไปพร้อมกับการให้ความสำคัญ ต่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงการปรับวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยคำนึงถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจของเกษตรกร ชุมชน และท้องถิ่นเป็นอันดับแรก เมื่อเศรษฐกิจของชุมชนหรือท้องถิ่นแข็งแกร่งขึ้นการพัฒนาทางด้านสังคมย่อมเป็นไปโดยง่าย
บทความของมูลนิธิเกษตรกรรายั่งยืน ได้เน้นว่าเป็นการเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเป็นระบบการเกษตรที่เน้นการจัดการแหล่งน้ำ และการจัดสรรแบ่งส่วนพื้นที่ทำการเกษตรอย่างเหมาะสมซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีข้าวปลาอาหารไว้บริโภคอย่างเพียงพอตามอัตตภาพอันจะเป็นแก้ปัญหาในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรแล้ว ยังก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยได้ใช้แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงดำรัสเมื่อปี 2540 โดยเกษตรทฤษฎีใหม่นี้จะเริ่มต้นจากเกษตรกรในที่ขาดเล็กที่มีการจัดสรรพื้นที่ที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ใช้จ่ายตลอดปี พร้อมทั้งให้รวมกันเป็นกลุ่ม หรือสหกรณ์ซึ่งจะต้องร่วมมือกันในด้านต่างๆ เพื่อติดต่อร่วมมือกับแหล่งเงินทุน และแหล่งพลังงาน เพื่อให้กลุ่มดำเนินการในด้านต่างๆได้มากขึ้นทำให้กลุ่มแข็งแรง และสามารถต่อรองราคาได้ ซึ่งได้มีเกษตรกรหลายคนที่ดำเนินการเกษตรดังกล่าวในหลายรูปแบได้แก่ การเกษตรผสมผสาน การเกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ และระบบไร่หมุนเวียน
 
 
จากบทความหลายๆบทความนี้ผู้อ่านพบว่าก็ได้ใช้แนวทางเดียวกันเกือบทั้งหมด แต่จะต่างไปในแต่ละพื้นที่ที่จะนำแนวทางไหนมาใช้เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองและชุมชน ผู้อ่านเห็นด้วยกับแนวทาง และหลักการที่จะนำมาปฏิบัติ เพราะจะทำให้ทุกคนมีจิตสำนึกอยู่เสมอในการที่จะอยู่อย่างเกื้อกูลกันในทุกๆอย่างในโลกนี้ไม่ว่าคน พืช หรือสัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ดังนั้นความเสมอภาคก็จะบังเกิดขึ้น ความสุขก็จะมีมากขึ้น และชีวิตทุกชีวิตบนโลกจะดีมากขึ้น
ถ้าคนทุกคนคิดว่านี่เป็นปัญหาที่ทุกคนจะต้องช่วยกันคิดแก้ไขให้โลกเรากลับมาเป็นแบบที่ควรจะเป็นในอดีต ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเกษตรแบบยั่งยืนก็จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะต้องมีการจัดสัดส่วนให้เหมาะสมในการปรับปรุงแก้ไขเพราะการทำการเกษตรแบบยั่งยืนจะต้องใช้เวลาพอประมาณที่จะทำให้ได้ผลผลิตในการที่จะดูแลคนจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่ทางด้านเกษตรให้พอเพียงด้วย ดังนั้นจุดเริ่มต้นของการดำเนินก็ควร ที่จะต้องให้ความรู้กับกลุ่มเกษตรกรในการที่จะเข้าใจให้ท่องแท้ถึงแนวทาง และหลักการในการในการดำเนินงาน และนำกลุ่มเริ่มต้นเป็นต้นต่อที่จะขยายต่อๆกันไปนั่นเอง
แต่ถ้าถามว่าเรามาไกลเกินกว่าที่เราจะกลับไปตรงนั้นหรือเปล่าในเมื่อที่ผ่านมาโลกเรามีแต่ความแก่งแย่งกันตลอดเวลา คนที่มีความสามารถ หรือฉลาดกว่าก็จะได้เปรียบอยู่เสมอ และหวังแต่เพียงเพื่อให้ตนเองอยู่รอดโดยไม่ได้เหลียวมองผู้คนรอบข้างเลยว่าผู้คนเหล่านั้นจะได้ผลกระทบแค่ไหนจนกว่าผลนั้นจะสะท้อนกลับมาถึงตนในเวลาหนึ่ง ถ้าเป็นเช่นนั้นการเกษตรแบบยั่งยืนก็อาจจะจะต้องใช้เวลายาวนานที่จะเกิดขึ้นมาแบบเต็มรูปแบบได้
หมายเลขบันทึก: 372907เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2010 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

I agree with your words "จากบทความหลายๆบทความนี้ผู้อ่านพบว่าก็ได้ใช้แนวทางเดียวกันเกือบทั้งหมด แต่จะต่างไปในแต่ละพื้นที่ที่จะนำแนวทางไหนมาใช้เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองและชุมชน "

So, sometimes , reading more did not get more information because they cut and paste from each others.

The same happen to most teachers in Thailand.

That is reason why TH was won.

555,

zxc555

เกษตรที่ยั่งยืนนั้นจะต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติให้ถูกวิธี รู้จักใช้ รู้จักบำรุงรักษา และเลือกทำตามที่ตัวเองศรัทธาว่าจะทำการเกษตรยั่งยืนแบบไหน เพราะทุกแบบวิธีของเกษตรยั่งยืนล้วนแล้วให้เราและธรรมชาติอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ถ้าทุกคนทำได้รับรองเลยว่าโลกเรายังคงมีสีเขียวอยู่แน่นอน

เป็นความจริงเสมอที่คนในยุคปัจจุบันมักอยู่กับการเอาเปรียบและเบียดเบียนกัน การเกษตรยั่งยืนจะเกิดได้ถ้าคนเปลี่ยนวิธีคิดมาอยู่กันแบบเกื้อกูลกัน มีจิตสำนึกที่ดี ซึ่งคงต้องเริ่มเปลี่ยนที่ตัวเราเองเป็นอันดับแรกก่อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท