เทคนิคการใช้งานด้วยโปรแกรม GSP 30 ข้อ


กรุณาคลิกสารบัญ ดู ทั้งหมด และ กด Ctrl + F ค้นหาที่ต้องการ

ใกล้เทศกาลแข่งขันการใช็ดปรแกรม GSP แล้วขอแนะนำเทคนิคการใช้งานด้วยโปรแกรม GSP สักนิดหน่อยนะครับ จะเขียนไปเรื่อยๆ จนได้ 50 ข้อเมื่อมีเวลาว่าง

1. การสร้างหน้าต่างใหม่ เข้าเมนูแฟ้ม/ตัวเลือกเอกสาร-เพิ่มหน้า ถ้าต้องการเอกสารเปล่าก็เลือกหน้าใหม่ ถ้าต้องการ copy หน้าเดิม ก็เลือกทำสำเนา

2. ต้องการให้ภาพเคลื่อนไหว เข้าเมนูแก้ไข/ปุ่มแสดงการทำงาน เคลื่อนไหว(หมายถึงไปเรื่อยๆ    เคลื่อนที่(หมายถึง ย้ายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งที่เรากำหนดไว้)

3. อยากให้การเคลื่อนไหวมีสีสันสวยงาม เราต้องใส่สีที่จุดด้วย

4. เมื่อเคลื่อนไหวแล้ว อยากให้เหมือนเดิม ก็เข้าเมนูแสดงผล/ลบรอยจุด

5. จากข้ิ 3 อยากให้การเคลื่อนไหวแล้วสีค่อยๆ จางลง เข้าเมนูแก้ไข/ ค่าพึงใจ/ทำให้จาง

6. จุดคือหัวใจของรูปทรงเรขาคณิต ถ้าเราต้งการให้รถวิ่งได้ เราต้องนำรถมาวางที่จุดนั้น แล้วให้จุดเคลื่อนที่ รถเราก็จะเคลื่อนที่ครับ

7. การนำรูปทาแทรก อาจนำมาวางใน word ก่อน ก็ค่อย copy เข้า GSP ก่อน copy ต้องคลิกจุดให้ตื่น (ปลุกให้ตื่น) ก่อนนะครับ

8.เครื่องมือทางซ้ายเรียกว่ากล่องเครื่องมือ เช่นกล่องเครื่องมือเส้น เมื่อคลิกค้างไว้ จะมีตัวเลือกว่าจะเลือกเล้นตรง ,รังสี หรือส่วนของเส้นตรง ส่วนกล่องเครื่องมือชั้นสูงเช่น สไลเดอร์ เวกเตอร์ จะอยู่ด้านล่าง ก็มีประโยชน์มาก เช่นใช้วาดแกนกราฟให้มีหัวลูกศร

9. ทุกครั้งที่เราต้องการทำงานต่อไป เราต้องนำเมาท์ไปคลิกที่กล่องเครื่องมือลูกศรนะครับ

10. กล่องเครื่องมือรูปตัว A ใช้พิมพ์ตัวอักษร เมื่อคลิกมาลากเป็นรูปสี่เหลี่ยมก็สามารถพิมพ์ได้เลย หากจะแก้ไขให้สวยงามตามต้องการ ต้องใช้กล่องเครื่องมือสำหรับการพิมพ์ที่ปรากฎด้านล่างนะครับ

11.หัวใจของการเคลื่อนไหวคือ จุด แต่ต้องเป็นจุดอิสระเท่านั้น อยากรู้ว่าจุดนั้นเคลื่อนไหวได้ไหม ก็ลองนำเมาท์ไปลากดู ถ้าเคลื่อนไวได้ จึงค่อยสั่งให้มีการเคลื่อนไหว

12. วิธีการสร้างจุดอิสระ  สมมุติว่าเราสร้างวงกมขึ้นมา 1 วง จะมีจุดเกิดขึ้นมา 1 จุด เราเรียนจุดนั้นว่า จุดหนึ่งหน่วย ให้ซ่อนจุดนั้น แล้วนำจุดที่กล่องเครื่องมือสร้างจุดทางซ้ายมือมาใส่ ที่เส้นรอบวง แล้วลองลากดูว่าเคลื่อนไหวได้หรือไม่

13. การซ่อน เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งของโปรแกรม GSP เราต้องซ่อนสิ่งที่เราไม่ต้องการ โดเลือกสิ่งที่ซ่อน แล้วเข้าเมนูแสดงผล/ซ่อน.....(ชื่ออาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราจะซ่อน)

14. บางครั้งเราอาจต้องการดูว่ารูปที่เราเห็น เขาสร้างมาอย่างไร เราก็ต้องสั่งให้โปรแกรมโชว์สิ่งที่ซ่อนไว้            เข้าเมนูแสดงผล/แสดงสิ่งที่ซ่อนทั้งหมด

15. การสร้างวงกลมสร้างได้ 2 วิธี
   วิธีที่ 1 คลิกจุด 2 จด สร้างวงกลมเข้าเมนูสร้าง/วงกลมที่มีสร้างจากจุดศุนย์กลางและจุดอื่น      จะได้วงกลม โดยจุดแรกจะเป็นจุดศูนย์กลาง จุดที่สองจะอยู่บนเส้นรอบวง
   วิธีที่ 2 คลิกจุดกับคลิกส่วนของเส้นครงสร้างวงกลมเข้าเมนูสร้าง/วงกลมที่มีสร้างจากจุดศุนย์กลางและรัศมี      จะได้วงกลม โดยจุดแรกจะเป็นจุดศูนย์กลาง แลัมีรัศมีเท่ากับส่วนของเส้นตรงนั้น

16. การสร้างส่วนของเส้นตรง ให้ยาวตามต้องการส่วนของเส้นตรง AB ยาว 5 ซม. ให้สร้างจุด A ก่อน แล้วดับเบิลคลิก จุด A เข้าเมนูการแปลง/เลื่อนขนานเป็นมุม 180 องศา ไปเป็นระยะทาง 5 ซม.

17. การแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรง AB คลิก ส่วนของเส้นตรง AB (ไม่ต้องคลิกจุด) เข้าเมนูสร้าง/จุดกึ่งกลาง

18. การสร้างเส้นตั้งฉากกับส่วนของเส้นตรง AB คลิก ส่วนของเส้นตรง AB (ไม่ต้องคลิกจุด) เข้าเมนูสร้าง/เส้นตั้งฉาก

19. การสร้างเส้นขนานกับส่วนของเส้นตรง AB คลิก ส่วนของเส้นตรง AB (ไม่ต้องคลิกจุด) เข้าเมนูสร้าง/เส้นขนาน

20. การสร้างส่วนของเส้นตรงหรือเส้นตรง คลิกจุด A และ จุด B  เข้าเมนูสร้าง/ส่วนของเส้นตรง หรือเส้นตรง (แล้วแต่เราจะต้องการสร้าง)

21. การสร้างส่วนโค้งบนส่วนของเส้นตรง AB ต้องแบ่งครึ่ง ส่วนของเส้นตรง AB ก่อน ได้จุกึ่งกลางชื่อ M จากนั้นคลิกจุด M ตามด้วย จุด A และ จุด B ตามลำดับ เข้าเมนูสร้าง/ส่วนโค้งบนวงกลม

22. การวัดมุม ABC คลิกจุดA และ จุด Bตามด้วยจุด C เข้าเมนูการวัด/มุม

23. การล็อกส่วนโค้งมีความสำคัญมาก เป็นการบังคับให้จุดเคลื่อนตามระทางที่กำหนดวิธีการต้องคลิกจุด 3 จุดบนเส้นรอบวงในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เข้าเมนูสร้าง/ส่วนโค้งที่ผ่านจุด 3 จุด เมื่อได้ส่วนโค้งแล้วนำจุดมาวาง จะเคลื่อนที่โดยไม่ออกนอกส่วนโค้งนั้น(ดูหัวข้อกระดานหก)

24. การลงคู่อันดับในกระดานกราฟต้องเลือดสแนปจุดด้วย(เข้าเมนูกราฟ/สแนปจุด)จะทำให้การลงจดเที่ยงตรง

25. การเขียนกราฟ เข้าเมนูกราฟ/วาดกราฟของฟังชันใหม่ ป้อนสมการตามต้องการ

26. การสร้างพารามิเตอร์ใหม่เป็นความสามาถในระดับที่สูงขึ้น มีประโยชน็หลายๆเรื่อง เช่น เข้า่มนูกราฟ/พารามิเตอร์ใหม่  แล้ลองตกลง จากนั้นเข้าเมนูแก้ไข/ปุ่มแสดงการทำงาน/เคลื่อนไหวพารามิเตอร์ แล้วลองกดปุ่มดูครับ

27. การสร้างพารามิเตอร์ใหม่ในข้อ 26 เราปรับเปลี่ยนชื่อได้โดยคลิกขวาเลือกสมบัติ จากนันเปลี่ยนหรือลบชื่อทิ้ง นอกจากนั้นเรายังกำหนดตัวเลือกอื่นได้เช่นตั้งค่าโดเมน

28. ใน GSP มีเครื่องคำนวณมาให้ด้วย เข้าเมนูกราฟ/ฟังชันใหม่

29. การเขียนกราฟหากต้องการแกนกราฟที่สวยงาม ให้นำเครื่องมือใต้กล่องข้อความ A มาช่วยเขียน

30. เราสามมารถสร้างเครื่องมือเองได้โดยการสร้างรูป 1 รูป แล้วเลือกทั้งหมด
คลิกเครื่องมือใต้กล่องข้อความ A สร้างเครื่องมือใหม่/พิมพ์ชื่อ แล้วลองหยิบมาทดสอบดูครับ และนำไปใช้ครั้งต่อไปได้ จะช่วยประหยัดเวลาได้มาก

คำสำคัญ (Tags): #gsp
หมายเลขบันทึก: 372845เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2010 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอบคุณสำหรับเทคนิคดีๆ ค่ะ แต่ข้อ 31 - 50 อยู่ไหนหรือคะ

king

ขอบคุณครูสุธีมากครับ

ขอโทษครับพิมพ์ชื่อผิด ขอบคุณอีกครั้งครับ ครู เสรี มากๆครับ จะนำเทคนิคนี้ไปให้นักเรียนครับ

ขอบคุณมากค่ะ จะลองใช้ดูนะคะ ได้ผลอย่างไรจะแจ้งนะคะ

ทำไมหลักการมันมากจัง แต่ก็สนุกดี ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ค่ะ จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไรค่ะ รอฟังคำตอบค่ะ

ป.4/1ค่ะร.ร.บ้านในเมือง

อยากได้การแบ่ง 5 ส่วน

อยากได้ไลนค่ะอยากถามเพราะว่ามีภาพให้ดูค่ะ เพราะอทิบายไม่ถูก มีการบ้านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท