มาลีพันธุ์ ภูมา โรงเรียนวัดท่างาม อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
Mrs. Maleephan มาลีพันธุ์ ภูมา โรงเรียนวัดท่างาม อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช Pooma

World class


โรงเรียนสู่มาตรฐานสากล

โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและสนับสนุนการดำเนินงาน

โครงการยกระดับโรงเรียนมาตรฐานสากลและโครงการพัฒนาประเทศไทย

เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค(Education Hub)  26 -27 มิถุนายน 2553

ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้เข้าร่วมการประชุมอบรม

  1. นายไพรัช วงศ์นาถกุล                        ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
  2. นางบังอร แป้นคง                             ตำแหน่ง ครูชำนาญการ
  3. นางชฎารัตน์ สังวาระ                        ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
  4. นางสาวธัญญลักษณ์ ธรรมเจริญ           ตำแหน่ง ครูชำนาญการ
  5. นางมาลีพันธุ์  เกิดทองมี                    ตำแหน่ง ครูชำนาญการ

 

นายเสน่ห์  ขาวโต ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กล่าวเปิดการประชุม

         การจัดการศึกษาในระดับโรงเรียนประถมศึกษาให้ได้มาตรฐานคุณภาพ  การเปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสทางการศึกษา ทางสพฐ.ต้องการให้ ร.ร. มัธยมศึกษาได้ช่วยให้ร.ร.ระดับประถมศึกษาได้ก้าวไปสู่โรงเรียนยกระดับมาตรฐานคุณภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อการขับเคลื่อนไปในแนวทางเดียวกัน

          การยกระดับคุณภาพไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่ทำอยู่แล้ว โดยการศึกษาหรือดูแบบอย่างจากโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ เป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน การขับเคลื่อนต้องไปพร้อมๆกัน

          กลไกที่สำคัญ คือ เครือข่ายโรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนขนาดใหญ่อาจศึกษาหรือดูงานจากโรงเรียนเล็กที่ประสบความสำเร็จก็ได้ องค์ความรู้สามารถดูแบบอย่างกันได้ นำเอามาประยุกต์ใช้กับโรงเรียนของตนเองได้ ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น

         การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ควรให้คนที่มีความพร้อมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบสากล  เครือข่ายครูทุกกลุ่มสาระวิชาสู่ระดับมาตรฐานสากลในระดับชั้นมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลาย ครูที่พัฒนามาแล้วสามารถพัฒนาร่วมกับกลุ่มเครือข่ายได้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการพัฒนาสื่อร่วมกัน

        คำว่า สากล คือ ต้องยกระดับคุณภาพนักเรียนให้เป็นสากล คิดหลายๆวิธี ไม่ใช่คิดแบบไทยๆ

 

ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)

วิสัยทัศน์   คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ

เป้าหมาย ภายในพ.ศ. 2561 มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยเน้น 3 เสาหลัก คือ

  1.   คุณภาพและมาตรฐาน  สิ่งที่ประสบความสำเร็จการเปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสเรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าเด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ เด็กขาดโอกาสทางสังคม ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ ต้องปรับปรุงในเรื่องของคุณภาพสากล(ไทย+สากล) มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องเร่งรีบแต่ให้ทำอะไรเร็วๆ (ภาษาเกาหลี ใช้คำว่า ปันลีๆๆๆ)
  2.   โอกาสทางการศึกษา เด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เด็กชายขอบ เด็กที่ออกจากโรงเรียนกลางคัน ทำอย่างไรให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสศึกษา เพื่อเป็นใบเบิกทางทางสังคม
  3. การมีส่วนร่วม  ในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม คือ กรรมการสถานศึกษา มีความคิดความเห็นในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในสถานศึกษา การมีองค์คณะบุคคล การศึกษายังต้องการความช่วยเหลือจากสังคมทั้งตัวบุคลากร ทรัพยากร งบประมาณ การบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจ

กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา สี่ใหม่ (วิธีการ)

  1. การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ให้ก้าวสู่มาตรฐานสากล
  2. การพัฒนาครูยุคใหม่ มีการสอบวัดความรู้ พัฒนา อบรม
  3. การพัฒนาสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่
  4. การพัฒนาบริหารจัดการใหม่ การกระจายอำนาจ การบริหารแบบมีส่วนร่วม มีอำนาจในการตัดสินใจ เป็นโรงเรียนนิติบุคคล การใช้ภาษาสู่มาตรฐานสากล การใช้สื่อ ICT

 

เป้าหมาย ยุทธศาสตร์คุณภาพคนไทย

  • คนไทย คุณภาพการศึกษาไทย มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล
  • คนไทยใฝ่รู้ เรียนรู้ด้วยตนเอง รักการอ่าน แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
  • คนไทยใฝ่ดี มีคุณธรรม มีจิตสำนึกและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย มีวินัยและความรับผิดชอบ
  • คนไทย คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ มีทักษะในการคิดและปฏิบัติ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสื่อสาร

 

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ฯพณฯท่านชิณวรณ์ บุณยเกียรติ)

  1. การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
  2. โครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ
  3. จัดตั้ง “โรงเรียนดีประจำตำบล”
  4. พัฒนาการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
  5. สร้างแหล่งเรียนรู้ราคาถูก คือ กศน.ตำบล
  6. จัดทำโครงการ Teacher channel
  7. สร้างขวัญและกำลังใจครู จะดำเนินการผลักดัน
  8. พ.ร.บ.เงินวิทยฐานะ ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ ขวัญกำลังใจให้เพื่อนครู
  9. สนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เพื่อให้สนองตอบต่อการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์

 การทำข้อตกลงระหว่างสำนักงานมัธยมศึกษาตอนปลายกับสพฐ.

  1. ขับเคลื่อนนักเรียนให้เป็นพลโลก
  2. พัฒนาการจัดการสอนของครูให้ทัดเทียมนานาประเทศ
  3. จัดการสอนแบบเวิรด์คลาส World Class
  4. สร้างเครือข่ายให้เกิดขึ้น

 

นายภาสกร พงษสิทธากร

 โรงเรียนสู่มาตรฐานสากล World Class School

การรวมตัวกันเป็นประชาคมโลก

  • จีนเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ในเรื่องเศรษฐกิจ
  • อินเดีย ออสเตรเลีย ประเทศยักษ์ใหญ่ในเรื่องอิเล็คทรอนิคส์
  • การรวมกลุ่มประชาคมยุโรป (EU)

การรู้ภาษายุคดิจิตัล พื้นฐานวิทย์ เศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ภาษาข้อมูล

การคิดประดิษฐ์สร้าง การสร้างคนให้จัดการกับความซับซ้อน ใฝ่รู้

การจัดการขั้นสูง ทักษะทีม การ่วมมือ และสัมพันธ์

การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล ใช้เครื่องมืออย่างมีประสิทธิผล

คุณลักษณะที่พึงประสงค์

  1. ทักษะพื้นฐาน
  2. ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน
  3. ทักษะพลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม
  4. ทักษะการทำงานร่วมกัน

การจัดการศึกษา

  1. Learn to  know รู้ทุกอย่าง อันนำความรู้มาพัฒนา
  2. Learn to do ลงมือกระทำ
  3. Learn to be การรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้ เป็นตัวของตัวเองและพัฒนาศักยภาพ พัฒนาตนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
  4. Learn to live together การดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่น

ญี่ปุ่น   มุ่งให้เยาวชน  คนเก่ง คนดี คนที่มีสุขภาพแข็งแรง

ลาว มุ่งสร้างและรักษาวัฒนธรรม

  • 3 ดี ร่ำเรียนดี สามัคคีดี
  • 6 รัก รักชาติ รักผู้นำ
  • 3 ชัง ชังความเกียจคร้าน ชังความแปดเปื้อน ชังศัตรู

จีน สร้างคนเพื่อการประกอบอาชีพ    แผนที่ดีที่สุดของชีวิต คือ ขยัน

เวียดนาม  การบ้าน 5 ข้อทุกวัน

  1. วันนี้ช่วยพ่อแม่ทำอะไร
  2. ทำความดีอะไรให้สังคม
  3. ทำรายงานข่าวท้องถิ่น 1 ข่าว
  4. รายงานข่าวในประเทศ 1 ข่าว
  5. รายงานข่าวต่างประเทศ 1 ข่าว

ไทย จากการทดลองจาก 55 ประเทศ มีดัชนีด้านสมรรถนะการศึกษาอันดับที่ 43และอันดับของดัชนีย่อยด้านการศึกษาอยู่ในอันดับต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยทั้งหมด 

การใช้จ่ายด้านการศึกษา 49  อัตราครู ประถม อันดับ 44 มัธยม 53

อัตราการเข้าเรียนมัธยมศึกษา 49

ทักษะด้านภาษา 47

การอ่านออกเขียนได้ 46

สิ่งที่เป็นปัญหาการศึกษาไทย ปฏิรูปรอบ 2

  1. คุณภาพครู
  2. คุณภาพแหล่งเรียนรู้
  3. คุณภาพสถานศึกษา
  4. คุณภาพการบริหารการจัดการ

Asean+ 3 = ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน

Asean+ 6 = ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

ความมุ่งมั่น สร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก ด้วยการพัฒนาหลักสูตรและการสอน การบริหารคุณภาพ ระดับมาตรฐานสากล

มาตรฐานสากล

พัฒนาหลักสูตรและการสอน

 การบริหารคุณภาพ

ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก World Citizn  เป็นเลิศทางวิชาการ Smart สื่อสารสองภาษา Communicator ล้ำหน้าทางความคิด Thinker ผลิตผลงานอย่างสร้างสรรค์ Imvator ร่วมกันรับผิดชอบสังคมโลก Globle Education

การจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล World class

 

บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ

IBDP International Baccalaureate Diploma Programme

เรียนภาษาแม่ เรียนภาษาที่ 2 วิทยาศาสตร์ทดลอง เรียนศิลปะ เรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ บุคคลและสังคม

ให้ศึกษาหลักสูตร 51  สื่อสารเป็น คิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ใช้ทักษะชีวิต ใช้เทคโนโลยี(ศึกษาจาก 8 กลุ่มสาระ)เกิดทฤษฎีความรู้ ความเรียงขั้นสูง โลกศึกษา

TOK-EE-GE(CAS)

Theory of Knowledge ว่าด้วย การค้นคว้าหาความรู้

Extended essay ว่าด้วยการเขียนเรียงความชั้นสูง บูรณาการ วิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

CAS Creativity,action,services ว่าด้วย การคิดสร้างสรรค์ ปฏิบัติ และบริการสังคม

Global Education ว่าด้วยสถานการณ์และความเป็นไปของเหตุการณ์ต่างๆของโลก

 

www.worldclasschoolthai.net

www.secondary.obec.go.th

 

CAS   กิจกรรมสร้างสรรค์ประโยชน์ เน้นที่นักเรียนเป็นสำคัญ

Creativity  การคิดสร้างสรรค์

Action    ปฏิบัติ

Services   บริการสังคม

      การเรียนรู้จากประสบการณ์ การปฏิบัติภาระงานจริง นอกเหนือจากการเรียนวิชาต่างๆในห้องเรียน ให้รู้จักคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ วางแผน ลงมือปฏิบัติ บริการด้วยจิตอาสา

 

Creativity  การคิดริเริ่มสร้างสรรค์  คิดใหม่

Action ปฏิบัติกิจกรรมจากประสบการณ์ตรง

Services   บริการสังคม อาสาช่วยเหลือผู้อื่น

 

CAS: WHAT FOR? วัตถุประสงค์

  1. พัฒนาผู้เรียนให้ได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพอย่างรอบด้าน
  2. ผู้เรียนมีโอกาสได้ทำในสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง
  3. ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกเอื้ออาทรผู้อื่นและการทำประโยชน์เพื่อสังคม
  4. พัฒนาความตระหนักสำนึกและยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม
  5. สามารถจัดการตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

 

 

 

 

 

CAS & Core Curriculum

           ศึกษาเอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551พัฒนาผู้เรียน หน้า 20-21

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน “มุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้าน เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคมฯ”

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

  1. กิจกรรมแนะแนว
  2. กิจกรรมนักเรียน

2.1  กิจกรรม ล.ส. น.น. ยุวการชาด บ.พ. นศท.

2.2  กิจกรรมชุมนุม ชมรม

  1. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
    กิจกรรมนักเรียน “...ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอนฯ”

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ “ส่งเสริม

 

อะไรไม่ใช่ CAS

  1. กิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนตามสาระวิชา
  2. กิจกรรมที่มีค่าตอบแทนเป็นรายได้ ค่าจ้าง
  3. งานที่ผู้เรียนทำเป็นงานประจำ/การทำงานบ้าน
  4. การเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เช่น ชมพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน ดูหนัง ดูละคร ดูกีฬา
  5. กิจกรรม ล.ส. น.น. ยุวกาชาด บ.พ. นศท. เข้าค่ายฯ
  6. กิจกรรมระดมทุนที่ไม่มีวัตถุประสงค์หรือไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน

CAS =  การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ Experiential Learning

PLAN         ริเริ่ม/กำหนดเป้าหมาย

ACT           ปฏิบัติจริง/ประสบการณ์รูปธรรม

OBSERW   คิด-วิเคราะห์ ปฏิสัมพันธ์/การรับรู้/ความรู้สึก

REFLECT   ระบุความสำเร็จ/จุดแข็ง/สิ่งท้าทาย/ประเมินผลการปฏิบัติ/สังเคราะห์ความเข้าใจใหม่ๆ

APPLY              ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่

 

นักเรียนจะได้อะไร  Learning Outcomes

  • ค้นพบศักยภาพ-จุดแข็งของตัวเอง
  • มีโอกาสทำงานในสิ่งที่ท้าทาย
  • รู้จักริเริ่ม-วางแผน ดำเนินกิจกรรม
  • ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
  • รู้สึกรับผิดชอบเหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้นกับโลก จากการเข้าร่วมโครงการ /โครงงาน/กิจกรรมระดับชุมชน ท้องถิ่น ระดับชาติ-นานาชาติ
  • มานะ หมั่นเพียร รับผิดชอบ

โรงเรียนทำอะไร?

  • กำหนดให้มีการจัดกิจกรรม CAS ไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา
  • ชี้แจง ทำความเข้าใจผู้เกี่ยวข้อง
  • แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้เรียน
  • พัฒนาบุคลากรเพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและปฏิบัติงานส่งเสริมนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
  • กำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม-หัวข้อโครงงานจำนวนหนึ่งและจัดทำเป็นรายการโครงงานอย่างเป็นระบบ
  • ให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมตามที่ระบุไว้ในกิจกรรม/โครงงาน
  • ให้ครูที่ปรึกษาดูแล สนับสนุน กำกับติดตามการดำเนินงานกิจกรรมของน.ร.ให้บรรลุเป้าหมาย
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือ สนับสนุนการดำเนินงาน
  • สนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ผลสำเร็จ

ครูทำอะไร?

  1. ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรม ศึกษาเชิงลึก
  2. พูดคุยชี้แจงกับผู้เรียนเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติกิจกรรม
  3. แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการทำกิจกรรม&ให้ข้อคิดเห็น
  4. สนับสนุนการคิดและการทำกิจกรรมของผู้เรียนและเป็นกำลังใจให้แก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
  5. มีการประเมินผลการดำเนินกิจกรรมและผลที่เกิดกับผู้เรียน(ก่อน-ระหว่างปฏิบัติ-หลังปฏิบัติ)

วัดผลประเมินผลอย่างไร?

ประเมินเพื่ออนุญาต ให้ผู้เรียนทำโครงการ/โครงงาน/กิจกรรมCASที่ผู้เรียนนำเสนอ เกณฑ์การพิจารณา

  1. เป็นกิจกรรมที่ทำได้จริง มีวัตถุประสงค์ชัดเจน เห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
  2. เป็นกิจกรรมท้าทายความสามารถ
  3. กิจกรรมมีการวางแผน
  4. มีการประเมินผล

การวัดผลประเมินผลการทำกิจกรรม

ดูจากการสะท้อนผลการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน/ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น

ทำกิจกรรมอะไร

ทำกับใคร

ทำที่ใด

ผลเป็นอย่างไร

ผู้เรียนเสนอผลงาน โดยใช้สื่อ ได้แก่ บันทึกการทำกิจกรรม บล็อก แผ่นซีดี ภาพถ่าย วีดีทัศน์ ดีวีดี การเล่าเรื่องด้วยภาพถ่าย(Photo Essay) หรือ Portfio

All that we do is but a drop of water in the ocean

But if we did not contribte that drop there would be no ocean

 

อ.รังสรรค์

โลกศึกษา GLOBAL EDUCATION

 

WHY GLOBAL EDUCATION?

ประเทศฟินแลนด์ เป็นประเทศที่มีผลการเรียนของเด็กอยู่ในระดับมาตรฐานระดับโลกเป็นเวลา 15 ปีติดต่อกัน

การสอนโลกศึกษาทำให้ คนรู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะ ร้อยครั้ง

Globlization   การติดต่อกันทั่วโลก

Knowledge-Based Economy เศรษฐกิจที่ต้องการใช้ความรู้

Network Society  เครื่องมือในการสื่อสาร สังคมเครือข่าย

Post-Modernization การเมือง ปชต.

โลกศึกษา เป็นสหวิทยาการ ไม่มุ่งเน้นการสอนเนื้อหาใหม่ๆ แต่เน้นการเพิ่มพูนความรู้ ความคิดรวบยอดและเนื้อหาของาระวิชาที่เรียนทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในมิติที่กว้างขวางระดับโลก

ความเป็นพลเมืองโลก การเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมโลก  Global Citizenship

ความยุติธรรมในสังคม Social Justice

สิทธิมนุษยชน Human Rights

การแก้ปัญหาความขัดแย้ง Conflict Resolution

การพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainale Development

ค่านิยมและการรับรู้  Values&Perceptions

ความหลากหลาย Diversity

การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน Interdependence เชื่อมโยงจากสำนวนคำพังเพย เช่น น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า

ความเป็นพลเมืองโลก

  • ทักษะการวิเคราะห์ ประเมินข้อมูลข่าวสารและทัศนคติความเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผ่านสื่อและแหล่งข้อมูลต่างๆ
  • เรียนรู้บทบาทของสถาบัน องค์กร สนธิสัญญา บทบาทของกลุ่มต่างๆ องค์กรพัฒนาเอชนและรัฐบาลของประเทศต่างๆ
  • ตระหนักถึงความสำคัญของทัศนะของบทบาทของเยาวชน
  • เข้าใจบทบาทของภาษา ขนบธรรมเนียม ถิ่นฐาน ศิลปะ ศาสนาที่เป็นอัตลักษณ์ของตนเอง

ความยุติธรรมในสังคม

  • ตระหนักถึงความถูกต้องเป็นธรรมทางสังคมและเข้าใจความสำคัญของความเสมอภาค
  • ตระหนักถึงผลกระทบของสังคม
  • ผลพวงความไม่ยุติธรรมในอดีตที่ส่งผลต่อการเมืองการปกครองระดับท้องถิ่นและระดับโลก
  • เห็นคุณค่าของการมีโอกาสที่เสมอภาคเท่าเทียมกันโดยปราศจากจากแบ่งแยก

สิทธิมนุษยชน

  • เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทิมนุษยชนทั้งที่เป็นสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิมนุษยชนสากล

การสอนโลกศึกษาต้องสอนให้หลายมุมมอง ควรเอาเหตุการณ์ปัจจุบันมาเชื่อมโยง เช่น ฟุตบอลโลก

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

เข้าใจความจำเป็นในการจรรโลงและพัฒนาคุณภาพชีวิตในปัจจุบัน โดยปราศจากการทำลายโลก เพื่อความอยู่รอดของชีวิตในยุคต่อไป  โดยเน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน

เข้าใจความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ระหว่างสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

ค่านิยมและการตระหนักรับรู้สภาพการณ์

พัฒนาความสามารถในการประเมิน สภาวะวิกฤตต่างๆที่ปรากฏในระดับโลกและตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่อความรู้สึกนึกคิด เจตคติและค่านิยมของประชาชน

สามารถใช้ประเด็นเรื่องราว

ความหลากหลาย

ตระหนักถึงความแตกต่าง

การพึ่งพาอาศัยกัน

จัดการเรียนรู้    

ท้องถิ่นเชื่อมโยงกับโลกกว้าง 

ส่วนบุคคลเชื่อมโยงกับส่วนรวม

จุลภาคเชื่อมโยงกับ มหภาค

อารมณ์เชื่อมโยงกับเหตุผล

การเรียนรู้เชื่อมโยงการปฏิบัติ

พยายามเชื่อมโยงกับเหตุการณ์อนาคตและปัจจุบัน เชื่อมโยงกับอดีต

Lssue/Problem-based learning เรียนรู้โดยใช้ประเด็น/ปัญหาเป็นฐาน

เช่น การแต่งงานกันของเพศเดียวกัน ส่งผลอะไรกับสังคม

หยิบยก เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง มาเป็นประเด็นในการจัดกิจกรรม

เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ตั้งคำถามและแสวงหาคำตอบ

ประเด็นปัญหาที่ไม่มีคำตอบแน่นอนตายตัว

เรียนรู้โดยใช้การสนทนาเป็นฐาน Dialogue –based learning

ผู้เรียนร่วมฟัง ร่วมอ่าน ร่วมทำความเข้าใจ ร่วมเรียนรู้ แม้ความคิดแตกต่างกันและหลากหลาย

การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ Experiential-Based learning

ทำ คิด(สังเกต วิเคราะห์) สรุป ใช้

การเรียนรู้โดยการซักค้าน Jurisprudential learning

จำลองกระบวนการซักค้าน

กระบวนการพิจารณาในศาล

ผู้เรียนรู้จักตัดสินใจ

โลกศึกษา การสอนให้นักเรียนคิดวิเคราะห์  เช่นให้นักเรียนศึกษาประเทศโดยไม่ซ้ำกัน ให้หาข่าวที่เกี่ยวข้องเช่นเรื่องสิทธิมนุษยชน

โลกศึกษาต้องให้นักเรียนรู้จักคิด ทำ นำไปใช้

เห่ย = ห่วย+เชย

 

ดร.เสาวนิตย์  ชัยมุสิก 081-919-7992 อ.ภาสกร 081-838-1635

OIF ที่ปรึกษาสำนักทูตฝรั่งเศส อดีตทำงานฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ กรมสามัญศึกษาเก่า

โครงสร้างหลักสูตรสากล

วิชาพื้นฐาน 8 กลุ่ม

สาระเพิ่มเติมตามจุดเน้น

สาระเพิ่มเติมสากล (TOK-EE-CAS-GE)

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก

เป็นเลิศวิชาการ  Smart

สื่อสารสองภาษา  Communicator

ล้ำหน้าทางความคิด  Thinker

ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ Innovator

ร่วมกันรับผิดชอบสังคมโลก  Global Citizenship

 

หลักสูตรความเป็นสากล

ว่าด้วยการค้นคว้าหาความรู้ 

ว่าด้วยการเขียนความเรียงชั้นสูง

ว่าด้วยการคิดสร้างสรรค์และรับผิดชอบสังคม

ว่าด้วยสถานการณ์และความเป็นไปของเหตุการณ์ต่างๆในโลก

ภาษาอังกฤษ

ภาษาต่างประเทศที่ 2

คุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของพลโลก

ใฝ่รู้ใฝ่เรียน Inquirers

รอบรู้

นักคิด

สื่อสาร

มีวินัย

ใจกว้าง

เอื้ออาทร

กล้าตัดสินใจ วุฒิภาวะ

มีวิจารณญาณ

ทฤษฎีความรู้

TOK เป็นสารการเรียนรู้ที่ว่าด้วยเรื่องการค้นคว้า แสวงหาความรู้เพิ่มเติม ในประเด็นความรู้ต่างๆ ให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้และทฤษฎีความรู้เพิ่มเติมจากการเรียน

ตัวอย่างหัวข้อ

เปรียบเทียบบทบาทของการให้เหตุผล (reason)และการจินตนาการ(imaging)ในสาระการเรียนรู้ 2 สาระเป็นอย่างน้อย

เนื้อหาการเรียนการสอน แบ่งเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 กระบวนวิธีการค้นคว้าหาความรู้ ได้แก่

เหตุผล reason   อารมณ์ emotion   ภาษา language   การรับรู้

ส่วนที่ 2 แขนงความรู้  การศึกษาค้นคว้าความรู้จากสาขาวิชาต่างๆ

ส่วนที่ 3 การเรียบเรียงข้อมูล ข้อค้นพบ ความคิด ความคิดเห็น การให้เหตุผลโต้แย้งและสนับสนุน อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

หัวข้อการเขียนชื่อเรื่อง

ความนำ

แนวคิดของเรื่อง

แนวคิดตนเอง

บรรณานุกรม

บัวใต้ดินในท้องเขียด”

อ.ภาสกร

วิธีการรับความรู้

1.การรับรู้ด้วยความรู้สึก

2.การับรู้ด้วยภาษา

3.การรับรู้ด้วยอารมณ์

4.การรับรู้ด้วยเหตุผล

อันความยิ่งหย่อนเป็นลุ่มๆดอนๆในส่วนศิลปะวิชาการทั้งปวงนี้ เมื่อครั้งการไปมาระหว่างนานาประเทศ ยัง Research การให้มา ซึ่งมาจากการค้นคว้า

ความเรียง =เป็นการเขียนที่เป็นวิชาการ ที่มีการเชื่อมโยงเนื้อหาอย่างเป็นขั้นตอน มีเหตุมีผล ไม่ต้องเขียน 5 บท

เรียงความ =เป็นการเขียนเรียบเรียงที่ไม่ต้องมีข้อมูลอ้างอิง

                             ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกนำเสนอ บำเรอสังคม

หมายเลขบันทึก: 372743เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2010 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะน้องจิ๋ม

.อ่านบันทึกนี้แล้ว ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลย

.ขอบคุณที่เขียนบันทึกดีๆให้อ่าน

.น้องคงสบายดีนะคะ การสอนภาษาเกาหลีเป็นอย่างไรบ้างคะ

อ่านอยากจังเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท