บทความรูปแบบผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม(Social Change Model of Leadership หรือ SCML)


รูปแบบภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social  Change Model of Leadership หรือ SCML) สรุปได้ดังนี้

  1. เริ่มด้วยแนวคิดในการสร้างผู้นำสมัยใหม่ ที่มีความสามารถในการสร้างหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงบวก ที่มีผลกระทบด้านดีงามต่อชุมชนและสังคมโดยรวม
  2. โครงการ SCML ได้เริ่มพัฒนาขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1994 ณ University of California at Los Angeles สหรัฐ ด้วยทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาผู้นำ Dwight D. Einsenhower และกระทรวงศึกษาของสหรัฐโดยประกอบด้วยทีมงานวิจัยที่เป็นนักวิชาการด้านภาวะผู้นำชื่อดังจากหลายมหาวิทยาลัย เพื่อเสาะแสวงหาแนวทางและรูปแบบในการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ดังกล่าว
  3. รูปแบบ SCML นี้มีจุดเน้นที่สำคัญคือ การมองภาวะผู้นำในลักษณะของกระบวนการ (Process) ที่มีการกระทำแบบร่วมมือของกลุ่มและใช้อำนาจร่วมของกลุ่มเป็นหลักในการทำงาน แทนที่แนวคิดเก่าที่ยึดภาวะผู้นำอยู่ที่ตัวบุคคลโดยตำแหน่ง (Position) และใช้อำนาจ (Authority) ในการควบคุมสั่งการ (Command and Control)  แต่รูปแบบ SCML จะใช้ภาวะผู้นำร่วม(Shared leadership)ของกลุ่มไปเสริมสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
  4. มีการสร้างสภาวะทางอารมณ์เพื่อให้เกิดความยึดมั่นผูกพันขึ้นแก่ผู้เรียนด้วยค่านิยมต่าง ๆ เช่น ความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice) การกระทำสิ่งดีงามเพื่อผู้อื่นและสังคม โดยเฉพาะค่านิยมทางสังคมตามแนวคิด The 7 C’s Model     เน้นการปฏิบัติในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับตนเอง (Self-awareness) อย่างชัดเจน เน้นเทคนิคการสร้างความไว้วางใจ (Trust)    พัฒนาปรีชาสามารถของผู้เรียนในการเป็นผู้ฟังที่มีประสิทธิผล    สร้างจิตสำนึกของการเป็นผู้รับใช้ผู้อื่น (Serve others) อย่างชัดเจน เน้นเทคนิคการสร้างความไว้วางใจ (Trust) พัฒนาปรีชาสามารถของผู้เรียนในการเป็นผู้ฟังที่มีประสิทธิผล   พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มโดยยึดหลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีงามขึ้นในสังคมนั้น   เป็นต้น
  5. รูปแบบภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือ SCML ได้ถูกนำไปใช้เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนด้านภาวะผู้นำ   และการฝึกภาวะผู้นำของฝ่ายกิจการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งของสหรัฐ ตลอดจนในหน่วยงานองค์การทั้งภาคเอกชนและภาครัฐอย่างกว้างขวางมากรูปแบบหนึ่งในปัจจุบัน
  6. ผู้อ่านสามารถประเมินภาวะผู้นำตนเองตามรูปแบบภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้จากจากเครื่องมือบน website:   http://suthep.ricr.ac.th   ที่   Leadership # 25

 

อ้างอิง

                www.reslife.cmich.edu/leadership

                http://involement.frostburg.edu/leadership

หมายเลขบันทึก: 372707เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2010 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ภาวะผู้นำและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

สวัสดีครับ..ขอบคุณสำหรับเรื่องภาวะผู้นำ นะครับ

"นำดี...ตามดี"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท