Mr.CHOBTRONG
ผศ. สมศักดิ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ชอบตรง

km กระบี่ 002


การจัดการรความรู้ เครือข่ายราชภัฏภาคใต้
1 การพัฒนาโจทย์                  ระดับ 1 มีการนำปัญหาจากการทำงาน ความต้องการของชุมชน  นโยบาย  ยุทธศาสตร์ชาติมาวิเคราะห์และตั้งโจทย์วิจัย                ระดับ 2  มีการศึกษาสถานการณ์สภาพปัญหาบริบทชุมชนเพื่อความกระจ่างชัด ปัญหาวิจัย                ระดับ 3  ศึกษาบริบทของชุมชน โดยมีการศึกษาสภาพจริงในพื้นที่เป้าหมาย มีการพูดคุย สนทนา จัดทำเวที เพื่อค้นพบศักยภาพที่แท้จริงของชุมชน                ระดับ 4  มีการศึกษาชุมชนอย่างต่อเนื่องจนมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของชุมชน มีภาคี         ร่วม เกลาและพัฒนาโจทย์ปัญหาวิจัย                ระดับ 5  มีการให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความชัดเจนของโจทย์วิจัย2 กระบวนการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย                   ระดับ 1  พัฒนาข้อเสนอให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัย                ระดับ 2  มีกระบวนการทบทวนสถานการณ์และพัฒนาโครงการร่วมกับภาคี                ระดับ 3  มีกระบวนการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ                ระดับ 4  มีกระบวนการพัฒนานักวิจัย พร้อมกับกระบวนการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย                ระดับ 5  มีการตรวจสอบข้อเสนอโครงการโดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ข้อเสนอแนะ3 คุณลักษณะนักวิจัย                  ระดับ 1  มีความมุ่งมั่น  ขยัน  อดทนในการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง                ระดับ 2  สามารถทำงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้                ระดับ 3  เสียสละทั้งเวลาและทุนทรัพย์ (ใช้ทุนส่วนตัวในการทำวิจัย  เก็บข้อมูลในเวลานอกราชการ)                ระดับ 4  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น                ระดับ 5  มีจรรยาบรรณในการทำวิจัย 4 ทีมงานเครือข่าย                ระดับ 1  มีการสร้างทีมงานนักวิจัย                ระดับ 2  มีการบูรณาการ  ทำงานร่วมกันในหลาย ๆ ศาสตร์ หลายหน่วยงาน  หลายองค์กร  กลุ่มชุมชน                ระดับ 3  ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเป็นกัลยาณมิตร                ระดับ 4  มีภาคีเครือข่ายภายใน / ภายนอก ให้ความช่วยเหลือสนับสนุน                ระดับ 5  ทุกภาคีมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าภาพ5 การจัดการคุณภาพงานวิจัย                  ระดับ 1  ที่ปรึกษางานวิจัย มีประสบการณ์ ทุ่มเท เอาจริงเอาจัง  ติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ เป็นพี่เลี้ยงคอยให้กำลังใจที่หนุนเสริม                ระดับ 2  การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  (Stakeholders)  โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโจทย์วิจัย และร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล                ระดับ 3  การพัฒนางานวิจัย โดยทำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลักษณะงานวิจัยควรเป็นลักษณะ  R&D มีการทบทวนคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ                ระดับ 4  มีการนำผลการวิจัยไปใช้ และให้ข้อมูลย้อนกลับ                ระดับ 5  มีการประกันคุณภาพงานวิจัย  โดยมีการตรวจสอบ ประเมินผลเป็นระยะ ๆ (ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ)

 

หมายเลขบันทึก: 37208เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2006 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท