บ้านหลังที่ สอง ของพี่แตน


“อยู่ที่บ้านเรามีพ่อ มี แม่ อยู่ที่นี่ เราก็มี พ่อ มีแม่เหมือนกัน เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเรา แล้วทำไม เราไม่ทำให้ดีเหมือนเราอยู่ที่บ้านหลังแรก เราอยู่ที่นี่มากกว่าบ้านหลังแรกเสียอีก และที่นี่ก็ ดูแลเลี้ยงดู เราให้เราเป็นอยู่ได้อย่างทุกวันนี้ เราต้องมาช่วยกันสนร้างบ้านหลังที่สองของเราให้สวยงาม สะอาด ไม่แพ้บ้านไหนๆ”

 

“อยู่ที่บ้านเรามีพ่อ มี แม่ อยู่ที่นี่ เราก็มี พ่อ มีแม่เหมือนกัน เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเรา แล้วทำไม เราไม่ทำให้ดีเหมือนเราอยู่ที่บ้านหลังแรก เราอยู่ที่นี่มากกว่าบ้านหลังแรกเสียอีก และที่นี่ก็ ดูแลเลี้ยงดู เราให้เราเป็นอยู่ได้อย่างทุกวันนี้ เราต้องมาช่วยกันสนร้างบ้านหลังที่สองของเราให้สวยงาม สะอาด ไม่แพ้บ้านไหนๆ”

พี่แตน คนพะโต๊ะแต่กำเนิด ทำงานที่รพ.พะโต๊ะ มาไม่ต่ำกว่า 18 ปี เริ่มจากเป็นแม่บ้าน กวาด เช็ดถูทำงานทุกอย่างที่ได้รับมอบหมาย จนปีจจุบันนี้รับผืดชอบเรื่องการซักผ้า ตัดเย็บเสื้อผ้าของโรงพยาบาล พี่แตนมีความสามารถตัดเย็บทุกอย่างได้สวยงาม เรียบร้อย รวดเร็ว แม้แต่ที่ผูกมัดเด็ก ซึ่งท่านผอ.รพ.มาขอให้พี่แตนเย็บให้เพื่อให้เกิดนวัตกรรมของการผูกยึดด้วยหัวใจ พี่แตนก็สามารถทำได้ดีเยี่ยม

 

ย้อนกลับไปเรื่องของการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำงานของเจ้าหน้าที่รพ.พะโต๊ะ ท่านผอ.รพ.พะโต๊ะได้พูดถึง พี่แตนไว้ว่าสามารถเป็นตัวอย่างให้กับคนอื่น เป็นตัวอย่างที่แสดงถึงการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่ท่านรู้สึกภาคภูมิใจ กับชาวพะโต๊ะ ที่มีชุมชนเข้มแข็งและเป็นแกนนำในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ กับการเกษตร การทำมาหาเลี้ยงชีพ ซึ่งมีชุมชนเข้มแข็ง ศูนย์การเรียนรู้ เช่นรีสอร์ต “ชุมพรคาบาน่า” ที่นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับการบริหารจัดการองค์กร จนทำให้อยู่รอดกับภาวะเศรษฐกิจมาได้ โดยท่านผอ.ส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาดูงาน เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเป็นประจำ และคิดว่าน่าจะเอามาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล โดยเฉพาะการประหยัดทรัพยากร การลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากโรงพยาบาลประสบปัญหาทางด้านงบประมาณ  รวมทั้งการนำสู่ผู้ปฏิบัติงานให้นำแนวคิดนี้ไปใช้กับชีวิตประจำวัน

 

ท่านผอ.รพ.พะโต๊ะ กล่าวถึง พี่แตง ลูกจ้างชั่วคราวที่ประสบปัญหาหนี้สิน ที่เกิดจากการไปรับผิดชอบแทนเพื่อน จนทำให้ตนเองต้องถูกเจ้าหนี้ทวงถาม จนเกิดความเครียดมาก บางครั้งแทบอยากจะขับรถชนสิบล้อให้ตาย ไปเลย เงินเดือนหมื่นกว่าบาทของพี่แตน ต้องใช้หนี้ธนาคารออมสิน จนเหลือใช้ประมาณ 600 บาท แต่ด้วยความเป็นคนอดทนและต่อสู้แบบไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรค โดยมีแม่และลูกสาวเป็นหลักยึดทางด้านจิตใจ ร่วมกับแนวคิดของพระพุทธศาสนา ที่ทำให้พี่แตน หันกลับมาสู้อีกครั้งด้วยหัวใจที่เข้มแข็ง “อะไร จะเกิด ก็ต้องเกิด ขอให้สู้ไว้ก่อน เราเคยทำกรรมกับเขาไว้ เขามาตามทวงคืน เราต้องชดใช้ให้หมดอย่างรวดเร็วและไม่ประมาท”  คือมีสติรับรู้ในสิ่งที่จะเกิดกับเรา สิ่งที่หนักจะได้เป็นเบาเพราะเราทำใจรับได้ พร้อมที่จะรับทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น พี่แตนใช้หลักธรรมะ และการลดการเบียดเบียนโดยไม่รับประทานเนื้อสัตว์

 

เมื่อตั้งสติได้แล้ว พี่แตนมองไปรอบๆ บ้าน เห็นคนข้างบ้านชุมชน ที่บ้านตนเองมีสวนอยู่ประมาณ 5 ไร่กว่าๆ ปลูกกาแฟ ผัก ผลไม้ตามฤดูกาล และที่บ้านประกอบอาชีพค้าขาย พี่แตนจึงคิดหารายได้พิเศษจากการขายของทุกชนิด ขายส้มตำ น้ำหวาน ชา กาแฟ ผลไม้ตามฤดูกาล  โดยใช้ช่วงเวลาวันหยุดจากงานหรือช่วงเย็นหลังจากเลิกงาน บางครั้งก็ขอลาพักร้อนไปช่วงที่มีเทศกาลกีฬา งานประจำปีของอำเภอ ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากผู้บริหาร และเพื่อนร่วมงาน

 

ผักที่พี่แตนใช้ในการทำส้มตำ เป็นผักปลอดสารพิษ พี่แตนก็ปลูกเอง เช่นผักบุ้ง มะละกอ พริก เพื่อที่จะลดต้นทุนของส้มตำ ชาวบ้านถวน้ปลูกผักปลอดสารพิษกันทั้งนั้น  นอกจากนี้พี่แตนลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่นเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ซื้อเท่าที่จำเป็นเท่านั้น พี่แตน อดออมเก็บหอม รอมริบ เงินที่หามาได้ กำไรในแต่ละวัน แบ่งให้แม่แล้วเก็บใส่กระปุกออมสินไม้ไผ่จนเต็ม กว่าสามปีแล้วที่พี่แตนขยัน อดออมและใช้จ่ายอย่างมีเหตุ มีผล พอประมาณ ทำให้ทุกวันนี้ พี่แตนทำงานอย่างมีความสุขไม่เครียด

พี่แตนบอกว่าจากเหตุการณ์นี้สอนพี่แตนให้ได้เรียนรู้เรื่องคุณค่าของเงิน การออม การใช้จ่ายอย่างประหยัด ซึ่งพี่แตนนำไปสอนลูกและให้ลูกดูแม่เป็นตัวอย่าง รวมทั้งชาวบ้านละแวกใกล้เคียงพี่แตนก็ชื่นชมในความขยัน ประหยัดอดออมของพี่แตน  รู้ซึ้งถึงความรักของคนในองค์กร  ที่ให้โอกาสและช่วยเหลือพี่แตนเคยไปลาออก แต่ทุกคนเห็นศักยภาพและเสนอแนะช่วยกันหาทางออกให้พี่แตน ทำให้พี่แตนทุ่มเทที่จะทำให้องค์กรเป็นเหมือนบ้านหลังที่สอง พี่แตนตกแต่งสถานที่ สิ่งแวดล้อมของหน่วยงานจ่ายกลาง ซักฟอก ให้สวยงาม บริเวณท่อน้ำทิ้งก็นำดอกไม้มาปลูกเรียงรายไว้เพื่อปิดบังความไม่สวยงามของท่อน้ำทิ้ง จนหน่วยงานนี้ได้รับรางวัล 5 ส.ดีเด่นของโรงพยาบาล

นอกจากนี้ พี่แตนยังเล่าเรื่องโรงพยาบาลพะโต๊ะที่เปลี่ยนแปลงไปมาก สิ่งแวดล้อมอาคารสถานที่สวยงาม ห้องซักฟอกมีมาตรฐาน ลดความเสี่ยงจากการทำงาน ทุกคนทำงานอย่างมีความสุข ถึงแม้จะเป็นรพ.ที่มีปัญหาด้านการเงิน เจ้าหน้าที่เปลี่ยนบ่อย แต่ท่านผอ.ได้สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้โอกาสเจ้าหน้าที่แสดงความคิดเห็น จัดเวทีเรียนรู้เรื่องอุบัติการณ์ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนโดยสม่ำเสมอ มีกิจกรรมที่หล่อหลอมความดีของคน เช่นการออมวันละ 1 บาท เพื่อนำไปบริจาคให้ชุมชน หรือสร้างห้องน้ำให้ชาวบ้านที่ยังไม่มีห้องน้ำ เป็นต้น กิจกรรมปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่ให้เรียนรู้และรู้จักชุมชน รับรู้ความต้องการและปัญหาอุปสรรควิถีชีวิตของชาวบ้าน เพื่อมาปรับระบบบริการของรพ.อย่างต่อเนื่อง

แล้วบ้านหลังที่สองของคุณล่ะ คะ น่าอยู่ไหมคะ

คำสำคัญ (Tags): #sha#รพ.พะโต๊ะ
หมายเลขบันทึก: 371712เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2010 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

มา จองงง ไว้ก่อนนะครับ

พี่แตน และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เหนื่อยมั้ยค่ะ

แต่คงจะมีความสุข เพราะทำด้วยใจรัก

เหมือนที่รักบ้านของเรา

เป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกคนครับ....อย่าลืมนะครับ..."ใช้ชีวิตพอเพียง...จะได้เพียงพอ"

ขอบคุณ อ.พอลล่า

เป็นเรื่องเล่า เร้าพลังอยากทำบางอย่าง  อย่างพี่แตนและเริ่มตั้งแต่วันนี้เลยค่ะ

พี่แตนเป็นผลลัพธ์ของความผูกพันธ์กับองค์กรที่ชัดมากค่ะ

ขอบคุณพี่แตน  ขอบคุณอ.พอลล่าค่ะ

ผอ.บอกว่า ขอเปลี่ยนจาก รพ.ยากจน เป็น รพ. ที่มีข้อจำกัดด้านการเงิน แทน ได้มั้ยค่ะ

( มาอ่านแล้ว ทำเป็นรับไม่ได้ .... คริคริ........ล้อเล่น)

...........................................

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาอ่านเรื่องราวดี ๆ  "บ้านหลังที่สอง ของพี่แตน" ประทับใจ กับบ้านหลังใหญ่หลังนี้..... เพราะพี่นกก็อยู่ภายใต้ชายคาของบ้านหลังนี้เช่นกันค่ะ 
  • เป็นกำลังใจให้นะพี่แตนค่ะ "ไม่มีคำว่าจบสิ้นหากเราเพียงแค่คิด แล้วยังไม่ได้ลงมือทำอย่างจริงจัง และไม่มีจุดสิ้นสุดสำหรับผู้ไม่เคยยอมแพ้  “ยังมีจุดเริ่มต้นเสมอสำหรับคนที่เปิดโอกาสให้กับตัวเอง” อย่ายอมถอยเพียงเพราะมีอุปสรรคกางกั้น   จงคิดหาวิธีการก้าวข้ามไปให้ได้อย่างสง่าผ่าเผย"
  • ทุกคนในบ้านหลังนี้พร้อมจะเป็นกำลังใจให้พี่แตนก้าวผ่านวิกฤตไปให้ได้ค่ะ
  • ขอบคุณอาจารย์มาก ๆ ที่นำเรื่องราวดี ๆ มาแบ่งปันกันค่ะ

                     

ขอบคุณอาจารย์นะคะ ที่นำแนวคิดดีๆ มาฝาก พี่จิ๋มอ่านแล้วคิดว่าน่าจะนำไปถ่ายทอดให้เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลได้ฟัง เป็นตัวอย่างเนื่องจากเจ้าหน้าที่ ในบางส่วนก็มีปัญหาคล้ายพี่แตน อาจจะช่วยให้เขาเกิดพลังและกำใจในการทำงานมากขึ้น ส่งข่าวนะคะ เครือข่ายราชบุรี ได้จัดประชุมการทบทวนเวชระเบียน สำหรับ 5 โรงพยาบาล ไปเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม บอกว่าสร้างความรู้และความเข้าใจได้มากทีเดียว

แวะมาเยี่ยมครับ...
อ่านบันทึกนี้แล้ว...
ไม่วาย ให้ตั้งคำถามเช่นกันว่า..
 "บ้านหลังที่สอง"....เป็นยังไง บ้าง (แล้ว)

ขอบคุณครับ

อ่านเรื่องราวของพี่เเตนเเล้วประทับใจจังพอลล่า พี่กุ้งอยู่ที่สิงคโปร์นะ ตอนนี้ คิดถึง คิดถึง

เจอคำถาม แต่ละคำ ขอบอกว่า" โดน" ครับพี่น้อง อิอิ

ขอบคุณทุกท่านค่ะ

พอลล่าไม่ได้หายไปไหนนะคะ วนเวียนอยู่ แต่อารมณ์เขียนน้อยเพราะว่าสมาธิไม่ค่อยจะมีเลยค่ะ ตอนนี้.... คิดถึงทุกคนเลยค่ะ

มาเยี่ยมชื่นชมแนวปฏิบัติแห่งเศรษฐกิจพอเพียงที่นำความสุขมาสู่ทุกคนอย่างยั่งยืนนะคะ...น้องพอลล่าเล่าได้ประทับใจมากค่ะ..ขอให้กำลังใจนะคะ..

  • เรื่องของพี่แตน เป็น ตย. เป็นแนวในการดำเนินชีวิตในสถานการณ์ปัจจุบัน
  • เป็นประเด็นของ "หลักเศรษฐกิจพอเพียง" แม่นก่อเจ้า

แวะมาเยี่ยม พี่เกดสบายดีจ้ะ จะไปขอนแก่นวันไหน บอกด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท