251 : เมฆคิวมูลัสอยู่สูงจากพื้นแค่ไหน? สูตรคำนวณ และตัวอย่าง


 

 

คุณคิวมูลัส (cumulus) เมฆก้อนแสนน่ารักของเราอยู่สูงจากพื้นแค่ไหน?

 

 

ฟิสิกส์มีคำตอบ พร้อมสูตรคำนวณง่ายๆ ดังนี้ครับ

 

 


ตัวอย่าง

 

       ถ้า Tdb = 25 องศาเซลเซียส และ Tdew = 15 องศาเซลเซียส

 

       จะพบว่า Hb = (25-15)/0.008021 เมตร = 1246.7 เมตร = 1.25 กิโลเมตร โดยประมาณ

 


น่ารู้ 1 : เกิดอะไรขึ้นที่ฐานเมฆ (cloud base)?

            ดูแผนภาพง่ายๆ ต่อไปนี้


ที่มาของภาพ

ซ้าย (ลูกศรชี้ขึ้น) : อากาศที่กำลังลอยสูงขึ้นเย็นตัวลง ทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำที่บริเวณฐานเมฆ

ขวา (ลูกศรชี้ลง) : หยดน้ำในเมฆค่อยๆ ตกลงมาจากฐานเมฆ (เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก) หยดน้ำเหล่านี้จะระเหยไปกลายเป็นไอน้ำ

 

นั่นคือ ฐานเมฆที่เราเห็นนิ่งๆ เหมือนไม่เปลี่ยนแปลงนั้น "หลอกตา" เราสุดๆ

เพราะ ไอน้ำ -> หยดน้ำ (อากาศลอยตัวขึ้น) & หยดน้ำ -> ไอน้ำ (ตกลงมาแล้วระเหยไป)

อยู่ตลอดเวลา!


น่ารู้ 2 : ในปัจจุบัน มีอุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าระดับความสูงของฐานเมฆ เรียกว่า ซีโลมิเตอร์ (ceilometer) [Wiki-Ceilometer]

 

 


อ้างอิง

 

   1) WolframAlpha - Cloud Base Height

   2) Wikipedia - Cloud Base

 


 

รอค้นคว้าเพิ่มเติม :  

สูตรนี้มาจากไหน? ใช้ได้ภายใต้เงื่อนไขอะไร?

 

ลองดูที่เว็บนี้

 http://en.allexperts.com/q/Meteorology-Weather-668/2009/6/Cloud-base-heights.htm


หมายเลขบันทึก: 371657เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2010 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ชมเมฆ คิวมูลัส ได้อารมณ์ดี๊ ดี ค่ะ วันนี้ฟ้าเปิด ขึ้นนิดนึง พอได้เห็น น้องคิว มาอวดโฉม

พอเห็นสูตรฟิสิกส์ หลาว คนตกเลข ก็เริ่มมึนๆ ค่ะ ... จะสูงแค่ไหน ส่งใจไปถึงกันเสมอ ค่ะ ;)

  เอ ก้อนนี้มองว่าอยู่ต่ำๆ นะคะ รอดูเงื่อนไขสูตร .. ค่ะ ยากจัง ;)

พี่ชอบดูเมฆมาก วันหนึ่งเห็นลอยสวย เป็นภาพสัตว์ต่าง ๆ ดูกำลังขับรถ เกือบชนคันข้างหน้า

  • เคยสงสัยเหมือนกันว่า เมฆอยู่แค่ไหน
  • เวลาที่เราขึ้นไปบนภูเขาเหมือนกับกำลังลอดต่ำๆ
  • พออยู่บนเครื่องบิน อยู่ต่ำกว่าเครื่องบิน
  • ขอบคุณมากที่ให้ความรู้

สวัสดีครับ ปู

          พี่จบฟิสิกส์มาก็ยังงงๆ เลยครับ ;-)

          แต่ต้องการบอกแค่ว่า เมฆก้อนที่เราเห็นลอยไป-ลอยมาใกล้ๆ พื้นนี่ เขาอยู่สูงจากพื้นประมาณ 1-2 กิโลเมตรครับ (ช่วงตัวเลขเป๊ะๆ เดี๋ยวพี่ไปค้นมาอีกที)

สวัสดีครับ พี่ไก่

          เมฆก้อนและเมฆอื่นๆ ที่อยู่ต่ำๆ ใกล้พื้น เรียกว่า เมฆระดับต่ำ (low clouds) พวกนี้อยู่สูงจากพื้นประมาณ 1-3 กิโลเมตรครับ

          ส่วนเครื่องบินนี่ เพดานบินจะอยู่ประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งตรงกับเมฆระดับสูง (high clouds)

สวัสดีค่ะ

ช่วงนี้เฝ้าแม่ที่รพ.ธรรมศาสตร์ พ่อก็มาจากภูเก็ตด้วยเลยได้มีโอกาสพาพอนั่งรถไปมหาราช ได้ชมเมฆกัน พ่อเล่าเรื่องเมฆให้ฟัง จำไม่ค่อยด้ แต่ก็ได้มาอย่างหนึ่ง พ่อบอกว่า เมฆรูปทั่งมักจะมีลูกเห็บตามมาด้วย แต่ศิริวรรณเองก็ยังไม่เคยเห็นอยู่ดี ทั้งเมฆรูปทั่งแล้วก็ลูกเห็บ ขณะนี้พยายามทำความรู้จักกับเมฆตามที่อาจารย์ได้กรุณาถ่ายทอดความรู้ วันใดพอจะเข้าใจจะนำไปถ่ายทอดให้เด็กๆ ได้รับรู้ แต่ก็ไม่แน่นะ อาจให้เด็กเรียนเองจากข้อมูลของอาจารย์ เพราะครูศิริวรรณเรียนเท่าไหร่ก็ไม่get สักที (แต่ถ้าให้คิดเลขก็สนใจ)

จะติดตามต่อไปค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ศิริวรรณ

         คุณพ่อของอาจารย์มีความรู้ที่กว้างขวางมากครับ ถูกต้องแล้วครับที่ว่า เมฆรูปทั่งมักจะมีลูกเห็บตามมาด้วย

         ลองดูแผนภาพนี้ประกอบครับ มาจากบันทึกเรื่อง 'ลูกเห็บ' เกิดขึ้นได้อย่างไร?

            

     เมฆรูปทั่งที่ว่านี้คือ เมฆฝนฟ้าคะนอง (thundercloud) รูปแบบหนึ่ง มีชื่อเรียกทางวิชาการว่า คิวมูโลนิมบัส อินคัส (Cumulonimbus incus)

     คำว่า Cumulonimbus หมายถึง เมฆฝนฟ้าคะนอง 

     คำว่า incus มาจากภาษาละติน แปลว่า ทั่ง (anvil) หมายถึง ส่วนบนของเมฆฝนฟ้าคะนองที่ยื่นออกมา (ในแผนภาพนี้ คือ มุมขวาบน)

     เดี๋ยวจะนำภาพมาฝากต่อครับ 

อาจารย์ศิริวรรณ ครับ

         นี่คือ รูปร่างของ เมฆฝนฟ้าคะนองรูปทั่ง มาจากอีกบันทึกหนึ่งคือ 244 : ชวนรู้จัก 'เครื่องประดับ' ทั้ง 6 แบบของมวลเมฆ

 

อินคัส (incus) คือ ส่วนบนของเมฆฝนฟ้าคะนองที่แผ่ยื่นออกมา

สวัสดีอีกครั้งนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ เสียดายที่เพิ่งเข้าระบบตอนพ่อกลับไปพักผ่อนที่บ้าน พรุ่งนี้ถ้ามีโอกาสจะเปิดให้พ่อดู ความรู้ของอาจารย์ลึกซึ้งจริงๆ จะพยายามเรียนรู้ให้ได้ เพื่อเด็กๆ เพราะช่วงนี้ ฝนฟ้าคะนอง น่าเรียนรู้เรื่องเหล่านี้จะดูสมจริงสมจัง จำได้ว่าเมื่อปีที่แล้วมีฟ้าผ่าควายของชาวบ้าน(ผู้ปกครองเด็ก)ด้วย

อาจารย์คะ มีเด็กหลายคนแขวนตะกรุด มันเป็นอันตรายแค่ไหนคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ศิริวรรณ

         ขอตอบเรื่อง 'ตะกรุด' กับฟ้าผ่า ก่อนนะครับ เพราะเป็นประเด็นที่คนไทย (และคนจำนวนมากทั่วโลก) เข้าใจผิดกันมากที่สุด เข้าขั้น มายาคติ (myth) ที่แก้ยากมากๆ

         ตอบสั้นๆ ก่อนดังนี้ครับ

         1) ตะกรุด เครื่องประดับโลหะ (เช่น แหวน สร้อยคอ) และแม้แต่โทรศัพท์มือถือ ไม่ใช่ ตัวล่อฟ้าผ่า

         2) แต่ชิ้นส่วนโลหะ หรืออุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ เหล่านี้ อาจจะมีผลข้างเคียง (side effect) หากเกิดฟ้าผ่าลงมาใกล้ๆ บริเวณที่คนสวมสิ่งเหล่านี้อยู่

             ผลข้างเคียงก็คือ ชิ้นส่วนโลหะ หรืออุปกรณ์เหล่านี้จะร้อนขึ้น เนื่องจาก

             - ฟ้าผ่าทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) แผ่ออกไปโดยรอบ

             - คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้จะเหนี่ยวนำให้โลหะมีกระแสไฟฟ้าไหลวน (induced current)

             - เมื่อโลหะมีกระแสไฟฟ้าไหลวน ก็จะร้อนขึ้น

------------------------------------------------------------------------------------------

           สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ ฟ้าผ่า ผมได้รวบรวมไว้ที่นี่แล้วครับ

                       http://portal.in.th/cloud-lover/pages/lightning/

           โดยอาจารย์อาจจะเริ่มต้นจาก แผ่นพับ สรุปประเด็นสำคัญที่นี่ก่อน

                       http://portal.in.th/cloud-lover/pages/8769/

           ส่วนข้อมูลที่ละเอียดขึ้น สามารถดาวน์โหลดบทความได้จาก

                       http://portal.in.th/cloud-lover/pages/lightning-articles/ 

                       (บทความ "20 เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ 'ฟ้าผ่า' ")

อาจารย์วิไลลักษณ์

สวัสดีค่ะ ด.ร.บัญชา

เมฆรูปทั่ง สวยนะคะ แต่ก็น่ากลัวที่เป็นลูกเห็บ คุณพ่ออาจารย์ศิริวรรณก็เก่งจังค่ะ ตอนนี้ดิฉันแทบเป็นคนมองไม่ติดดินแล้วค่ะ เพราะมัวแต่มองเมฆบนฟ้า !!! พยายามหัดสังเกตเมฆชนิดต่างๆ ความรู้ด้านบน(คำนวณความสูงของเมฆ)จะพยายามนำไปแทรกในเนื้อหาบทเรียน และก็จะชวนเด็กๆดูเมฆกันต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะ

ตอนลูกสาวยังเล็กๆ

จะเรียกเมฆว่า ไข่ฟ้า

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำ วันนี้ได้พิมพ์บางส่วนให้นักเรียนไปจัดบอร์ดและให้พี่นักเรียนเตรียมเล่าให้น้องๆและเพื่อนๆฟังหน้าเสาธง เพราะช่วงนี้เริ่มมีฝนฟ้าคะนอง ได้บรรยากาศดีมาก ครูเองก็ได้อ่านแล้วรู้สึกดีมาก ดีที่ได้รู้ความจริง ไม่งั้นก็กลัวกันเกินเหตุ และที่สำคัญไม่รู้วิธีป้องกันที่ถูกต้อง

ศิริวรรณค่ะ

สวัสดีครับ

        อ.วิไลลักษณ์ : เมฆแต่ละชนิดสวยคนละแบบครับ เมฆรูปทั่งนี่ยิ่งใหญ่ อลังการมากๆ

        Krudala : แหม! ชอบจังครับ "ไข่ฟ้า" นี่ เห็นภาพเลย

        อ.ศิริวรรณ : นำเรื่องฟ้าผ่าไปให้เด็กๆ สิครับ มีประโยชน์โดยตรง

                 http://portal.in.th/cloud-lover/pages/lightning/

"สูตรนี้มาจากไหน? ใช้ได้ภายใต้เงื่อนไขอะไร?"

ขออนุญาตแวะดูตามลิงค์ข้างล่างครับ มีสมการ และลองแก้ดูนะครับ จะเป็นที่มาของสูตร

http://www.csgnetwork.com/cloudaltcalc.html

ลืมไปนิดครับ

บ้านเราอัตราการลดลงของอุณหภูมิอากาศตามความสูงจะใช้ค่า 6.5 องศา ซ.ต่อ 1 กม.

ส่วนอุณหภูมิจุดน้ำค้างน้อยกว่ากันประมาณ 1.2xxx

ดังนั้นตัวหารน่าจะประมาณ 0.0053xxx

ฐานเมฆเลยสูงกว่าแถบเมืองหนาว

พี่ชิวครับ ขอสื่อถึง weather man หน่อยนะครับ พี่ weather ไปที่บล็อก กดสร้างบล็อกใหม่ แล้วเขียนบันทึกก่อนนะครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท