เกษตรยั่งยืน (Sustainable Agriculture, SA)


ทฤษฎีผันกลับแบบหุ่นลักษณะแจงนับ เป็นสิ่งหนึ่ง ที่คิดจากนอกกล่อง แต่ที่น่าเสียดายคือยังขาดการประชาสัมพันธ์ ให้รู้โดยทั่วกัน

เกษตรยั่งยืน (Sustainable Agriculture, SA)

โดย

สุพัตร์ ฟ้ารุ่งสาง*

วันที่ 17 มิถุนายน 2553 เป็นโอกาสอันดี ภายหลังจากที่ ดร. ผ่องพรรณได้ให้การบรรยายอย่างดีเลิศด้านปรัชญาของฐานคิดวิทยาการร่วมสมัย ในภาคเช้า พอถึงภาคบ่ายของ ดร.ทิพวัลย์ ได้ให้การบ้าน เรื่อง “เกษตรยั่งยืน” โดยให้ค้นคว้าของจาก บทความ / รายงาน / ข้อค้นพบ และนักเรียนมีหน้าที่สะท้อนความคิดจากสิ่งดังกล่าว

เมื่อค้นคำว่า “เกษตรยั่งยืน” จาก google จะมีข้อความนับร้อยปรากกฎขึ้น จนเกินความสามารถที่จะบันทึกได้หมด กระผมได้เลือก เฉพาะบางบทความ แล้วใช้อ้างอิงเป็นเอกสารที่แนบมานี้

บทความทั้งหมดที่พบ มาจากบุคคลในสายงานเกษตรทั้งด้านพืช และสัตว์ แต่ไม่ปรากฎว่ามีบทความใดเลยที่เขียนจากนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมข้อเขียนที่พบไม่สามารถครอบคลุมความหมายของคำว่า เกษตรยั่งยืน อย่างแท้จริง

หากเปรียบการเกษตร คือกะลาครอบ ผู้เขียนทั้งหมด ที่เป็นนักเกษตร และ ยึดติดแต่การเกษตรก็คือ ผู้ที่อยู่ใต้กะลาแห่งการเกษตร ดังนั้น มุมมองจากภายนอกกะลาจึงมิได้เกิดขึ้น

มีบุคคลเพียงผู้เดียว ที่มิได้เขียนบทความดังกล่าว แต่ทุกคนยอมรับคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ นอกจากจะเป็นนักเกษตรที่เก่งที่สุดแล้ว ยังเป็นนักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ ที่เก่งที่สุดอีกด้วย พระองค์ได้พระราชทาน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Self Sufficient Economy, SSE) ซึ่งทุกคนได้ยึดไว้เป็นคำจำกัดความ ของเกษตรยั่งยืน แต่ไม่มีผู้ใดเลย ที่จะเล็งเห็น SSE ทั้งหมด อย่างที่ควรจะเป็นได้ เหตุผลคือทุกคนมีมุมมองมาจากใต้กะลาของวิชาเกษตรเช่นเดียวกัน

คนส่วนใหญ่ทั้งในเอกสารที่แนบมานี้ และนอกเอกสารที่ไม่สามารถนำเสนอได้หมด มักจะเชื่อมั่นในตัวเองว่า รู้จักคำว่า SSE และ SA เป็นอย่างดี แต่โดยความเป็น จริง เขาเหล่านั้นรู้จัก เพียงส่วนหนึ่งของมันเท่านั้น เปรียบได้กับคนตาบอด คลำ ช้างที่ไม่ได้มองเห็น หรือรู้จักช้างเป็นอย่างดี กระผมได้เห็นบทความหนึ่งกล่าวว่า วัวของเขา ยังรู้จักคำว่า SSE และ SA เลย แต่วัวเขาดูดนมตัวเอง คงมุ่งหมายว่าจะให้เป็นโจ๊ก แต่กระผมมั่นใจว่าเขาดูถูกเกษตรกรว่า โง่ดักดาน เหมือนวัวควาย และวิธีการเกษตรยั่งยืนของเขาหมายถึงวิธีโบราณ ที่ได้ทำกันมาอย่างดักดาน โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะเขากลัวการเปลี่ยนแปลงจนขี้ขึ้นหัวสมอง

ที่จริง SSE และ SA มิใช่การกลัวการเปลี่ยนแปลง ตรงกันข้าม หลัก immunity ของ SSE หมายถึง สติปัญญาที่มองก้าวไกลไปในอนาคต ที่สามารถทำให้การเกษตรดำรงอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพการผลิตสูงที่สุดโดยไม่เบียดเบียน หรือทำลายล้างโลกอย่างที่วิทยาการปัจจุบันกำลังทำร้ายอยู่

กระผมขอให้ข้อสะท้อนจากมุมมองของผมอย่างสังเขป กับบทความที่ได้ค้นหาโดยไม่เรียงลำดับ ดังนี้

เอกสารที่ 1  มีความยาว 6 หน้าได้จาก http://www.kasedtakon.com/ ตีพิมพ์เมื่อ 19 .. 2551 เรื่อง “ทฤษฎีเกษตรยั่งยืนและพัฒนาการของประเทศกำลังพัฒนาสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว” ไม่ปรากฎชื่อจริงผู้เขียน ได้กล่าวว่าทุนนิยมมีจุดอ่อนที่ทุกคนรู้ดี แต่ปิดบังไว้ เขาสันนิษฐานว่าประเทศไทยจะเป็นมหาอำนาจได้จาก SSE ตามคำทำนายของ “คาร์ล มาร์ก” มีเหตุผลหลายประการ ที่น่าเชื่อถือ กระผมคิดว่าสิ่งที่เขาคิดอาจเป็นไปได้ เพราะในความคิดของกระผม ขณะนี้มีเพียง 2 ลัทธิได้แก่ ทุนนิยมสามานย์ และ เศรษฐกิจพอเพียง ระบบแรกได้รับการพิสูจน์แล้วว่าล้มเหลว แต่คนส่วนมากยังยึดมั่นอยู่ เมื่อระบบแรกไม่ใช่ ดังนั้น ระบบ SSE จะนำประเทศไทยเป็นมหาอำนาจตามคำทำนายได้ เพียงแต่ว่าจะเป็นประเทศไทยหรือไม่ ยังไม่แน่ เพราะฝรั่งก็รู้ดีว่า SSE นั้นคือ ของจริงเช่นกัน เอกสารนี้กระผมให้คะแนน สูงสุดจากที่ได้ค้นพบในวันนี้

เอกสารที่ 2 มีจำนวน 1 หน้า ชื่อ “บทเรียนจากสารเคมีสู่เกษตรยั่งยืนครบวงจร” เขียนโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน โดยมีปณิธานว่าชุมชนของตนจะปราศจากสารเคมีและกลับสู่ความอุดมอีกครั้ง อย่างที่เคยมีในอดีต ข้อเขียนกล่าวพาดพิง หลายสิ่งอย่าง แต่ขาดหลักฐาน อย่างเหนียวแน่นที่จะรองรับแนวคิดนั้น นักวิทยาศาสตร์ที่ไม่เห็นด้วย ต้องมีข้อใต้แย้งกับบทความนี้มากมาย และจะกล่าวหาว่าชาวบ้านกลุ่มนี้โง่ดักดาน แต่ กระผมมีหลักฐานสนับสนุน แนวคิดของชาวบ้าน มากมายเช่นกัน ที่ ยังไม่ต้องจะกล่าวถึง ได้แต่ขออวยพรให้คนกลุ่มนี้จงมีพลังที่จะต่อสู้กับนักวิชาเกินบนหอคอยงาช้างต่อไป

เอกสารที่ 3 มีจำนวน 2 หน้า ชื่อว่า ระบบเกษตรยั่งยืนแก้ปัญญาไทย ไม่ปรากฎชื่อจริงของผู้เขียน มีใจความสรุปว่า เกษตรยั่งยืน มี 3 ระดับ คือ 1. แปลง 2. ครัวเรือน 3. ชุมชน ที่แปลกกว่าบทความอื่นคือได้รวมถึง 1. การใช้พันธุพืชปรับปรุง 2. การใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีอย่างถูกต้อง ก็นับเป็นองค์ประกอบของเกษตรยั่งยืนด้วย ซึ่ง 2 ข้อนี้ อาจถูกต่อต้านคนในจากเอกสารที่ 2 แต่จะถูกรับรองจากนักวิชาการเกษตรในระดับมหาวิทยาลัย ในทัศนะของกระผม เอกสารที่ 3 มีช่องโหว่ มากมาย ช่องโหว่ สำคัญคือ คิดถึงเกษตรกรรมว่า เป็นเรื่องพืชเท่านั้น ไม่ได้พูดถึงสัตว์พันธุ์ปรับปรุงเลย ที่สำคัญกว่าสัตว์ และพืช อันเป็นหัวใจสำคัญคือ ปรับปรุงความรู้ของคนในชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติ และระบบนิเวศน์วิทยาของประเทศไทย

เอกสารที่ 4 จัดทำโดย สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรื่อง เกษตรยั่งยืน มีการให้คำจำกัดความของ SA ได้ 4 ประการ จาก 4 แหล่ง ได้แก่ 1.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ 2. จรัญ จันทลักขณา (2536) 3. Comway, G. (1988) และ 4. ชนวน รัตนวราหะ และ คณะ (2536) หมายความว่า คำจำกัดความ ที่ตายตัวยังไม่มี ขึ้นอยู่กับปัจเจ็กชน ชี้ว่าอย่างไรก็เขียนนิยาม ไปอย่างนั้น เอกสารกล่าวถึงตัวชี้วัด 3 ตัว แต่พิมพ์ออกมาได้เพียง 2 ตัว คือ 1. ความยั่งยืนทางศก. 2. ความยั่นยืนด้านสิ่งแวดล้อม ในทัศนะของผู้เขียน หากมีตัวชี้วัดหลายตัวจริง ตัวชี้วัดที่ดีที่สุดในเชิงเส้นตรง จะเรียกว่าดัชนีการคัดเลือก (Best Linear Prediction, BLP ) โดยคำนวนได้ จากโปรแกรมที่กระผมได้รับรางวัลจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติปี 2527

เอกสารที่ 5 ไม่ปรากฎชื่อจริงผู้เขียนแต่อ้างว่าได้มาจาก กองเกษตรสารนิเทศ ชื่อว่า “เกษตรยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง“ สรุปใจความได้ว่า SSE ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนำมาปรับใช้ได้กับการเกษตรโดยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ความรอบรู้ และความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านวัตถุ สังคม และสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นเกณฑ์ สิ่งที่ขาดในเอกสาร คือพูดถึงแต่หลักการง่ายๆ ที่ทางเกษตรรู้จักกันดีอยู่แล้ว และขัดแย้งกับเอกสารหมายเลข 2 ที่รวมการใช้สารเคมี และพืชพันธุ์ใหม่ไว้ด้วย

เอกสารที่ 6 ชื่อเรื่อง : เกษตรยั่งยืน : จากเกษตรอินทรีย์สู่อุตสาหกรรมอาหารปลอดสารพิษ เขียนโดย สกุณี อาชวานันทกุล สรุปว่า มีการออกสิทธิบัตร์ GMO มีการย้ำว่า GMO ทำลาย biodiversity ที่เป็นฐานของ SE อย่างไรก็ตาม ยังขาดหลักฐานสำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่จะเอาผิดกับรัฐบาลสหรัฐได้ในกรณีนี้

เอกสารที่ 7 ชื่อเรื่อง เกษตรยั่งยืน เขียนโดยผู้ใช้นามแฝงว่า golb มีผู้ให้ comment 8 อัน ผู้เขียนได้ให้คำนิยามมาจากมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน ประทับตรา ด้วยพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ..2524 แต่ยังไม่รัดกุม และมุ่งแต่ในกะลาของวิชาเกษตรกรรมเท่านั้น จึงถูกโจมตีจาก comment ที่ต่อท้ายว่า สะเปะสะปะ ซึ่งผมเห็นด้วยกับ comment ดังกล่าว และเห็นด้วยว่าควรยุบกรมต่างๆ ให้หมด แล้วตั้งกรมใหม่ 3 กรม ตามนั้น

เอกสารที่ 8 ชื่อเรื่อง “คำนิยามของเกษตรยั่งยืน” ไม่ปรากฎชื่อจริงผู้เขียน มีใจความสำคัญดังนี้ : ได้ให้คำนิยามในแบบของคำว่า เกษตรยั่งยืน ได้ให้ตัวชี้วัด 3 ประการด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และด้านสังคม ได้พูดถึงการยอมรับการใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ ว่ามันเข้ากับเกษตรยั่งยืนได้ ซึ่งจะขัดแย้ง และสนับสนุนกับหลายเอกสารที่พบมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตามเนื้อเรื่องยังอยู่ในกะลาครอบของวิชาเกษตร เช่นเดียวกับเอกสารอื่นๆ

อกสารที่ 9 ชื่อเรื่อง เกษตรยั่งยืนและระบบเกษตรธรรมชาติได้จากเว็บ มก. (http://web.ku.ac.th/king72/2542-09/res05_03.html ) ไม่ปรากฎชื่อจริงผู้เขียน คาดว่ารวบรวมจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสต่างๆ เนื้อหาคล้ายคลึงกับเอกสารที่ 1 – 8 ข้างต้น ผู้รวบรวมยังคงอยู่ในกะลาครอบของวิชาเกษตรเหมือนเช่นเคย ในทัศนะของกระผม นับถึงเอกสารที่ 9 ที่ว่านี้ ยังไม่มีผู้ใดเข้าใจ SSE และ SA อย่างแท้จริงอย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าใจเลย แม้แต่เพียงผู้เดียว แต่มักจะอวดเก่งคิดว่าตนเองเข้าใจแล้ว และเป็นผู้รอบรู้จริง

เอกสารที่ 10 ชื่อหัวข้อ เกษตรยั่งยืน คาดว่าเป็นบทความในโครงการหลวงและงานเกษตรภาคเหนือครั้งที่ 3 มีข้อความดั่งกับเอกสารที่ 1 – 9 ข้างต้นพูดถึง 3 ระดับของเกาตรยั่งยืน คือ 1. แปลง 2. ครัวเรือน 3. ชุมชน การให้ความรู้ทั้งหมดอยู่ในกะลาครอบของวิชาเกษตรเหมือนเช่นเคย

เอกสารที่ 11 เป็นเอกสารภาษาอังกฤษล้วนชื่อ “SA: information access tool” เขียนโดย Mary V. Gold จากหน่วยงาน alternative farming system information cantus ของ USDA สรุปว่า มีการให้รากศัพท์ และนิยามของ SA อย่างดี และข้อมูลแหล่งความรู้ของ SA ให้แหล่งของคนในวงการ และให้ชื่อองค์การ ตลอดจนแหล่งทุน อย่างไรก็ตามทั้งหมด ยังคงอยู่ในกะลาครอบของวิชาเกษตรเช่นเดิม

เอกสารที่ 12 เป็นจดหมายข่าว เขาหินซ้อน จัดทำโดย ศูนย์ศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อน “เกษตรยั่งยืน” มีชื่อจริงของคณะผู้จัดทำหลายคน มี นาย รัฐ เกาวนันทน์ เป็นบรรณาธิการ สรุปใจความสำคัญ เกษตรแผนใหม่มีหลายทางเลือกคือ

ทางที่ 1 การเกษตรแบบผสมผสาน

ทางที่ 2 เกษตรยั่งยืน คือการเปลี่ยนรูปการเกษตรให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์

มีหัวข้ออภิปรายว่า “เกษตรยั่งยืนสำคัญก็วันเศรษฐกิจล่ม” หมายถึงรัฐบาลไม่เคยสนใจจนกว่าจะเกิดปัญหาร้ายแรงด้าน ศก. มีการเสนอรุนแรง 3 ข้อ

  1. ห้ามขายสารเคมีทางการเกษตร

  2. ถ้าจะขายต้องเก็บภาษี

  3. ห้ามโฆษณาสารเคมีการเกษตร

มีการให้ข้อคิดจาก นพ. ประเวศ 7 ข้อ ข้อสุดท้าย ต้องขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง

กระผมคิดว่าเป็นความเพ้อฝัน และเป็นไปไม่ได้ในระบอบสังคมไทยปัจจุบัน วิธีแก้ที่ยั่งยืนจริงๆ และง่ายดายมาก คือทฤษฎีผันกลับแบบหุ่นลักษณะแจงนับ แต่น่าเสียดาย ไม่มีผู้มีอำนาจคนใดเข้าใจทฤษฎีดังกล่าวและนำมันมาใช้อย่างแท้จริง

เอกสารที่ 13 ชื่อเรื่อง เทคนิคการปรับปรุงบำรุงดิน ความสำคัญของการปรับปรุงดินในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เขียนโดย นายเดชา ศิริภัทร สรุปว่า ดินเป็นหัวใจหลัก มี 3 องค์ประกอบ 1. อินทรีวัตถุ 2. ความชื้น 3. จุลินทรีย์การซื้อปุ๋ยมาใส่ดินไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง กระผมเห็นว่าข้อความทั้งหมดถูกต้องไม่มีข้อกังหาที่จะขัดแย้ง และขอเสริมว่าคุณสมบัติ 3 ข้อมีอยู่แล้วในการเลี้ยงไส้เดือนที่เป็นการกำจัดขยะ และลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม บทความดังกล่าวยังคงเขียนภายใต้กะลาครอบของวิชาเกษตรเหมือนเช่นเคย

เอกสารที่ 14 ชื่อบทความ นักส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ (greennet) เมื่อวันพุธ 3 .. 53 แนะนำหนังสือเรื่อง เส้นทางเกษตรกรรมยั่งยืน เขียนโดย เดชา ศิริภัทร พ.. 2551 307 หน้า กระผมก็ยังเห็นเหมือนเดิมว่าหนังสือดังกล่าวยังคงวนเวียน อยู่ในกะลาครอบเหมือนเช่น บทความส่วนใหญ่ที่ได้พบ

สรุป

เกษตรยั่งยืนเป็นเพียงความฝันที่มาไม่ถึง ความฝันดังกว่าอาจเป็นจริงได้เมื่อมีการคิดนอกกล่อง และนำมาใช้กับทุกสรรพสิ่ง ถึงวันนั้นไม่เพียง เกษตรกรรม แต่ทุกสรรพสิ่งในโลก รวมถึงมนุษย์จะอยู่ได้อย่างผาสุขและยั่งยืน ทฤษฎีผันกลับแบบหุ่นลักษณะแจงนับ เป็นสิ่งหนึ่ง ที่คิดจากนอกกล่อง แต่ที่น่าเสียดายคือยังขาดการประชาสัมพันธ์ ให้รู้โดยทั่วกัน

หมายเลขบันทึก: 371376เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2010 08:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน อาจารย์

นึกว่าอาจารย์จะเขียนภาษาอังกฤษอย่างเดียว ไม่กล้าเข้ามาเยี่ยม อ่านบทความอาจารย์แล้วผมต้องยอมแพ้จริงๆ เพราะอาจารย์อ่านมากกว่าผม ถูกใจมากๆกับคำว่า "ในกะลา" เพราะนักวิชาการหลายคนพยายามให้ขอบเขตกับคำว่า "เกษตรยั่งยืน" โดยไม่คำนึงถึงตัวเกษตรกร

ขวัญชัย

I cut and paste from printed copy sent to Dr. Thipawan. I hire s/o to type it.

BTW: Thank you to support my idea of "coconut shell"

Regards,

zxc555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท