การวางแผนการศึกษา


การวางแผนการศึกษา

        เอกสารประกอบการบรรยายวิชา  การวางแผนการศึกษา

ภาควิชาบริหารการศึกษาและอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยรามคำแหง

โดย รองศาสตราจารย์รัตนา  กาญจนพันธ์

ความหมายและความสำคัญของการวางแผน

 ความหมาย

1. การวางแผนคือ  กระบวนการของพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร  อย่างไร  วัตถุประสงค์ นโยบาย  โครงการ  และวิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้น (Kast  & Rosenweig)

2.  ความสำคัญของการวางแผน

     ประโยชน์ของแผน

1. แผนให้ทิศทาง

2. แผนให้ภาพรวม

3. แผนเป็นเครื่องมือของการสื่อสารและการประสานงาน

4. แผนเป็นเครื่องมือสำหรับควบคุมและติดตามผล

5. แผนเป็นมรรควิธีแห่งการทำงานรวมกัน

6. แผนก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงาน

      ความจำเป็น

      เหตุผลที่สำคัญได้แก่ความแตกต่างระหว่างสภาพที่พึ่งประสงค์และสภาพปัจจุบันระยะเวลาในการลงทุน  ความซับซ้อนขององค์การและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

การวางแผนกับกระบวนการบริหาร

1. การวางแผน (Planning)  การวางแผนจะต้องมาก่อนงานด้านอื่น

2. การจัดองค์การ ( Organization )

3. การจัดหาบุคคลเข้าปฏิบัติงาน (Staffing)

4. การอำนวยการ (Directing )

5. การประสานงาน (CO-Ordinating)

6. การรายงานผลการปฏิบัติงาน (Reporting)     

7. การจัดสรรเงินงบประมาณ (Budgeting)

การวางแผนเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการบริหารทั้ง 7 ขั้นตอนเรียกย่อยๆว่า Posdeorb

ทฤษฎีและหลักการวางแผนการศึกษา

ปรัชญาการวางแผนการศึกษาแบ่งออกเป็น  3  ขั้นตอน

1.การวางแผนโดยยึดปรัชญาความพึงพอใจ

 - ถือเอาความพอใจหรือความต้องการของผู้วางแผนเป็นสำคัญ

 - การกำหนดวัตถุประสงค์คำนึงถึงทรัพยากรมีจุดมุ่งหมายโครงสร้างวิธีดำเนินการคำนึงถึงความสำเร็จของงานมากกว่าคุณภาพของงาน

2.การวางแผนโดยยึดปรัชญาได้ประโยชน์สูงสุด

-  วัตถุประสงค์ : เน้น :ปริมาณมากกว่าคุณภาพ

-  ละเลยการจูงใจ ขาดระบบควบคุมในส่วนย่อย

3. การวางแผนโดยคำนึงถึงปรัชญา ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

-  การมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

-  มุ่งประสานวัตถุประสงค์ขององค์การและวัตถุประสงค์ของบุคคล การวางแผนที่ดีไม่ควรยึด ปรัชญาใดปรัชญาหนึ่งควรมีการผสมผสานแต่ละปรัชญาเข้าด้วยกัน

เทคนิคและกระบวนการวางแผนการศึกษา

- ขั้นตอนการวางแผน

- ขั้นวางแผน

- ขั้นจัดทำแผน

- ขั้นการจัดทำรายละเอียดของแผน

- ขั้นการนำไปใช้

การวางแผนในโรงเรียน

ความหมาย

       การวางแผนในโรงเรียน  หมายถึง การดำเนินการวางแผนในโรงเรียนที่มีการจัดลำดับขั้นตอนกิจกรรมรวมทั้งบทบาทและหน้าที่ความสำคัญของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งในรูปของหน่วยงานรับผิดชอบการวางแผนในโรงเรียนคณะกรรมการวางแผนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการวางแผนในแต่ละขั้นตอนอย่างเหมาะสม

  ประโยชน์

1.ทำให้การบริหารจัดการและการดำเนินงานในโรงเรียนเป็นไปอย่างมีระบบ

2.ทำให้ผู้บริหาร ครู อาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยงข้องมีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

3.จะทำให้โรงเรียนสามารถแก้ปัญหา และพัฒนางานได้ตรงกับสภาพวิกฤต เร่งด่วนของปัญหาและตรงกับสภาพแวดล้อมความต้องการอย่างแท้จริง

4. ทำให้โรงเรียนสามารถนิเทศกำกับการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสมชัดเจน

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของการวางแผนในโรงเรียน

1.ผู้บริหารโรงเรียนเห็นความสำคัญและการใช้การวางแผนเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงานในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม

2.ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านเทคนิคที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและมีทักษะเป็นผู้ประสานงานที่ดี

3.ครูอาจารย์เห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือ

4.มีแผนและกระบวนการวางแผนที่เหมาะสม

กระบวนการวางแผนในโรงเรียน

-  การเตรียมการวางแผน

-  จัดทำแผน

-  การปฏิบัติตามแผน

-  การติดตามและประเมินผล

-  การปรับแผนหรือจัดทำแผนใหม่

การเขียนโครงการ

ความหมายประสงค์

          โครงการหมายถึงแผนการปฏิบัติงานอย่างละเอียดผู้เขียนโครงการเขียนขึ้นเพื่อใช้ในการพัฒนาหรือหรือแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งในหน่วงงานของตนเองตามนโยบาย ประกอบด้วยหัวข้อต่างๆดังนี้

  1. ชื่อโครงการ
  2. หลักการและเหตุผล
  3. วัตถุประสงค์
  4. เป้าหมาย
  5. เนื้อหา
  6. วิธีการดำเนินงาน
  7. ระยะเวลาดำเนินงาน
  8. งบประมาณ
  9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  10. การประเมินผลของการ
  11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 371224เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2010 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท