วันนี้คุณรู้จักความจริง.....กันหรือยัง... (ครั้งที่ 1)


ความจริง คือ สิ่งที่เชื่อว่าจริง

ความจริง คืออะไร

         " ความจริงคืออะไร น่าค้นหา
           ความจริงคือปัญหาน่าขุดคุ้ย
           ถ้าเช่นนั้นจงเตรียมตัวแล้วสั่งลุย
           ไปขุดคุ้ยหาความจริงกันเถิดเรา "

          ความจริงคืออะไรเป็นคำถามเชิงอภิปรัชญา (Metaphysics) การตอบคำถามว่าอะไรคือความจริง หรือ ความจริงคืออะไร...ต้องให้นักปรัชญาเป็นผู้ตอบ ซึ่งคำตอบของนักปรัชญาจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

          1. เอกนิยม (Monism) แสดงไว้ว่า ความจริงคือสิ่งเดียว แต่สิ่งเดียวนั้นกลุ่มนี้ยังแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

                  - พวกจิตนิยม (Idealism) เชื่อว่าความจริงหนึ่งเดียวคือจิต (Mind) หรือแบบ (Form)

                  - พวกสสารนิยม (Materialism) เชื่อว่าความจริงหนึ่งเดียวคือ กาย (Body) หรือสสาร (Material)

          2. ทวินิยม (Dualism) เชื่อว่า ความจริงประกอบด้วยสองสิ่ง คือทั้งกาย (Mind) และจิต (Body) ทั้งสองสิ่งนี้ต้องอยู่คู่กันเสมือนว่าในโลกนี้มีคนดีก็ต้องมีคนชั่ว

          3. พหุนิยม (Pluralism) เชื่อว่าความจริงของสรรพสิ่งมีมากกว่าสอง พวก Pluralism มองว่าความจริงมีได้หลากหลายไม่จำกัดอยู่เพียงสิ่งเดียวหรือสองสิ่งเท่านั้น เช่น อาจจะบอกว่าความจริงของมนุษย์ประกอบด้วยขันธ์ห้า กล่าวคือ ไม่ว่าเราจะมองอะไรก็แล้วแต่เราจะมองในหลายมิติ

          ในความจริงแล้วความจริงคืออะไรนั้นสามารถตอบได้หลายมุมขึ้นอยู่กับความเชื่อของคนแต่ละกลุ่มของนักปรัชญา ฉะนั้น “ความจริงคือสิ่งที่เชื่อว่าจริง”

จะค้นพบความจริงได้อย่างไร

                 เราจัดว่าคำถามเช่นนี้เป็นคำถามในเชิงปรัชญาที่เรียกว่า ญาณวิทยา (Epistemology) และเราสามารถแบ่งการตอบได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

                1. กลุ่มเหตุผลนิยม (Rationalism) กล่าวว่า การค้นพบความจริงนั้นสามารถทำได้โดยการคิดอย่างมีเหตุผล ซึ่งการคิดอย่างมีเหตุผลนั้นต้องอาศัยหลักการนิรนัย (Deductive) เป็นเครื่องมือ การค้นพบความจริงในกลุ่มนี้เชื่อว่าความจริงที่ได้ต้องมาจากภายในไม่ใช่มาจากภายนอกหรือมาจากประสบการณ์ กลุ่มนี้มองความจริงเป็นสิ่งนิรันดร์ ไม่เปลี่ยนแปลง การค้นพบความจริงในกลุ่มนี้เป็นหน้าที่ของจิ หากว่าจิตนั้นเป็นจิตที่สมบูรณ์แล้วย่อมค้นพบความจริงได้ในที่สุด

                2. กลุ่มประจักษนิยม (Empiricism) กล่าวว่า การค้นพบความจริงนั้นสามารถทำได้โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า (ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย) กับประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาโดยอาศัยหลักการอุปนัย (Inductive) เป็นเครื่องมือในการสรุปข้อค้นพบ กลุ่มนี้จะมองความจริงว่าเป็นสิ่งที่ได้หลังมนุษย์เกิด ความจริงเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ก่อนเป็นนิจนิรันดร์ การค้นพบความจริงในกลุ่มนี้ไม่ใช่หน้าที่ของจิตแต่อย่างใด แม้ว่าบางครั้งจะต้องครุ่นคิดซึ่งเป็นหน้าที่ของจิตก็ตาม แต่การครุ่นคิดนั้นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเข้ามาใหม่กับประสบการณ์เดิมที่สะสมไว้ว่ามีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

 

เอกสารอ้างอิง
รัตนะ บัวสนธ์. (2551) ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ในห้องเรียนระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง โดย รศ.ดร.อรุณี  อ่อนสวัสดิ์
ความคิดเห็นของเพื่อนในห้องเรียนที่ช่วยกันอภิปราย

หมายเลขบันทึก: 370988เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2010 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

แม้กระทั่งคำว่า ความจริงคืออะไร ค้นพบความจริงได้อย่างไร ยังมีได้หลากหลายแนวคิด

แล้วอย่างนี้เราจะเลือกเชื่อถือความจริงแบบไหนกันดี...

อ่านแล้วเข้าใจดีค่ะ รวมถึงรูปภาพประกอบก็ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ชอบตรงบทกลอนอ่านแล้วทำให้ชวนติดตามดีค่ะ ปล.ผู้เขียนคงจะเป็นคนเจ้าบทกลอนนะคะเนี่ย

I wish I could read your blog..=0)

Thanks for message you wrote.

See you on Friday!

เขียนได้ดีมากเลยค่ะ จะติดตามตอนต่อไปนะค่ะ

ไม่รู้จะแสดงความคิดเห็นอะไร เอาเป็นว่าความจริงขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยบางครั้งก็ไม่ได้ใช้เพียงแค่เหตุผลและบางครั้งก็ไม่ได้ใช้เพียงประสาทสัมผัสทั้ง 5เท่านั้น แค่นี้แหละ

แล้วหลักธรรมคำสอนทางศาสนาพุทธเราล่ะ ท่านคิดว่าเป็นความจริงที่นิรันดร์ไหม

หลักธรรมคำสอนทางศาสนาพุทธเราล่ะ ท่านคิดว่าเป็นความจริงที่นิรันดร์หรือป่าว

...ในความเห็นของผมนะครับ เป็นความจริงที่นิรันดร์ เพราะหลักของศาสนาเป็นการฝึกจิตซึ่งมาจากภายใน (เป็นหน้าที่ของจิตนั่นเอง (กลุ่มเหตุผลนิยม : Rationalism))

...แต่ในความคิดของผู้เขียนเป็นเพียงการมองในมุมหนึ่งเท่านั้น

--- ถ้ามีท่านใดมีความเห็นต่าง ก็ช่วยกันแสดงความเห็นนะครับ ---

ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่พี่ก็เชื่อนะว่ามันต้องประกอบด้วยทั้งกายและจิต

หลักการหาความจริงก็ต้องมีทั้งเหตุและผล

พยายามต่อไปน้องรัก ค้นหาความจริงกันต่อไป ...

Are you teacher at NU Right ?

You know ! my teacher name Aj. Katherine ^^

wOOOww !! amazing !!

ใช่ครับ ... Aj. Katherine เป็นเพื่อนที่เรียนด้วยกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท