ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

สถาบันภาษา มจร เปิดหลักสูตรการเขียนบทความทางวิชาการรุ่น ๒


            

ทำไม? จึงต้องจัดอบรมหลักสูตรนี้

          ในการจัดการประชุมและสัมมนาทั้งในระดับชาติ และนานาชาติของมหาวิทยาลัยในหลายครั้งที่ผ่านมา เช่น การประชุมผู้นำชาวพุทธโลก การประชุมสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU) และการประชุมวันวิสาขบูชาโลก (UNDV) ได้มีการประกาศเชิญชวนให้ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วไปรวมทั้งคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำเสนอบทความทางวิชาการในการประชุม แต่ปรากฏว่ายังมีคณาจารย์และนักวิชาการทั่วไปนำเสนอบทความและได้รับการตี พิมพ์ไม่มากนัก ซึ่งสาเหตุของปัญหาดังกล่าวเกิดจาก "นักวิชาการไทยหลายท่านขาดความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ ให้ได้มาตรฐาน" และในขณะเดียวกัน เป็นที่ประจักษ์ว่า เราไม่ได้ไม่ได้เตรียมหลักสูตรเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้สนใจใฝ่รู้ ในประเด็นเหล่านี้อย่างเพียงพอ

          ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองตอบต่อปรัชญาของมหาวิทยาลัย ในการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม และเพื่อให้เป็นไปตามตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพการศึกษา จึงสมควรจัดให้มีกระบวนการในการพัฒนาคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย และบุคคลที่สนใจทั่วไปให้สามารถเขียนบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพ และนำเสนอบทความทางวิชาการในการประชุมทางวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับ นานาชาติ จึงสมควรให้มีการจัดการพัฒนาและฝึกอบรมเทคนิค การเขียนบทความทางให้ได้ มาตรฐานมากยิ่งขึ้น


ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาและฝึกอบรมอะไร ใครเป็นวิทยากร

สัปดาห์ที่
หัวข้อบรรยาย
สาระสังเขป
วิทยากร
ปฐมนิเทศ
ชี้แจงแนวทางฝึกอบรมการเขียนบทความทางวิชาการ
ผู้อำนวยการหลักสูตร
กิจกรรมมิตรสัมพันธ์
กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อสร้างบรรยายกาศกัลยาณมิตรในการเรียน
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนบทความทางวิชาการ
  • ศึกษาแนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับการเขียนบทความในแง่มุมต่างๆ เช่น ความหมาย คุณค่า ความสำคัญ เป้าหมาย เหตุผล แรงจูงใจ ประเภท องค์ประกอบ และลักษณะของบทความที่ดี
  • อภิปรายแลกเปลี่ยนเทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการที่ได้มาตรฐาน
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
รศ. ดร.ชุติมา สัจจานนท์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ความสำคัญของโยนิ-โสมนสิการในการเขียนบทความทางวิชาการ
แนวทางสร้างปัญญาและวิธีการใช้ปัญญาในการเขียนบทความทางวิชาการ
พระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร.
อธิการบดี มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เกณฑ์การประเมินคุณภาพบทความทางวิชาการ
นำบทความที่ดี ได้มาตรฐานมาเป็นตัวอย่างประกอบการจับประเด็น การวิจารณ์ในประเด็นต่างๆ เช่น การใช้ภาษา การให้เหตุผล การอ้างหลักฐาน ครอบคลุมถึงสารัตถภาพ เอกภาพ สัมพันธภาพ และความคงเส้นคงวา และและประเมินคุณภาพบทความทางวิชาการ
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
อยู่ในช่วงของการเชิญ
หลักการใช้ภาษาในการเขียนบทความ (ภาษาพูด/ภาษาเขียน/ภาษาทางวิชาการ)
 
ศึกษาหลักการและเทคนิควิธีการใช้ภาษาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในการเขียนบทความ การวรรคตอน ย่อหน้า การใช้คำเชื่อมประโยคต่างๆ
เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน
การอ้าง และการใช้เหตุผลในการเขียนบทความ
 
ศึกษาแนวคิด และวิธีการในการอ้าง และการใช้เหตุผลในการอ่านและการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อยืนยันความสมเหตุสมผลของข้ออ้าง
ศ.ดร.สมภาร พรมทา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเขียนบทความทางวิชาการ ๑ : โครงสร้าง เนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน
  • ศึกษารูปแบบ โครงสร้าง และแนวทางการกำหนดหัวข้อ เกริ่นนำ เนื้อหาหลัก และบทสรุปเกี่ยวกับการเขียนบทความทางวิชาการในเชิงทฤษฏี
  • ศึกษารูปแบบและแนวทางการอ้างอิงที่ได้มาตรฐาน
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร.
รศ.ดร.ภัทรพร สิริกาญจน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การเขียนบทความทางวิชาการ ๒ : เทคนิคและเครื่องมือในการเขียนบทความ
  • ศึกษาเทคนิคในการเลือกหัวข้อ การเขียนบทนำ การจัดดับความสำคัญของเนื้อหารอง และเนื้อหาหลัก เพื่อนำเนื้อหาไปสู่การแสวงหาแนวทางในการหาบทสรุปที่สอดคล้องและประสมกลมกลืน
พระมหาสมบูรณ์ วุฒิกโร,ดร.
รศ.ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
 
ความคิดสร้างสรรค์กับการเขียนบทความทางวิชาการ
  • การสร้างความคิดสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจในการเขียนบทความทางวิชาการ
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
๑๐
การวิเคราะห์บทความทางวิชาการ
  • บทความทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา
  • บทความทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์
  • บทความทางวิชาการด้านการศึกษา
พระศรีคัมภีรญาณ, รศ.ดร.
รศ. ดร. สุริชัย หวันแก้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
๑๑
การนำเสนองานของนักศึกษา
  • บทความของนักศึกษาที่มีผลงานได้รับยอมรับจากคณะกรรมการและให้นำเสนอต่อที่ประชุม
พระสุธีธรรมานุวัตร,ผศ.ดร.
ศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๑๒
การนำเสนองานของนักศึกษา
  • บทความของนักศึกษาที่มีผลงานได้รับยอมรับจากคณะกรรมการและให้นำเสนอต่อที่ประชุม
พระสุธีธรรมานุวัตร
รศ. ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
๑๓
เขียนบทความทางวิชาการอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
  • สรุปภาพรวมการของการเขียนบทความทางวิชาการ เพื่อให้แนวทางหลังจากจบหลักสูตร ซึ่งทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจและแรงบันดาลใจในการที่จะเป็นนักเขียนที่ทรงคุณค่าในอนาคต
ภิญโญ ไตรสุริยะธรรมา
ดร.ปกป้อง จันวิทย์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 
ปัจฉิมนิเทศ
  • พิธีมอบวุฒิบัตรแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมและปิดการอบรม
พระศรีคัมภีรญาณ,รศ.ดร.
รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

 

 วัน เวลา และสถานที่เรียน

             กลุ่มที่ ๑  วันพุธ  เวลา ๑๗.๐๐ – ๒๐.๐๐ น.  เริ่ม ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓  เรียน ห้อง ๒๐๕ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ

             กลุ่มที่ ๒ วันเสาร์ เวลา ๑๕.๓๐ – ๑๘.๓๐ น.  เริ่ม ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เรียน ห้อง ๒๐๙ วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ


แหล่งรองรับบทความทางวิชาการ

       บทความของผู้เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรมจะได้รับการปรับปรุง วิเคราะห์ และวิจารณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเสนอเข้าตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติในวันวิสาขบูชาโลกปี ๒๕๕๔ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔

 ประโยชน์ที่จะได้รับ

     ๑. สามารถเขียนบทความทางวิชาการ และวิทยานิพนธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
     ๒. ทุกบทความทีผ่านการวิพากษ์วิจารณ์ในขณะเขียนจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารของมหาวิทยาลัยในระดับประเทศและระดับนานาชาติ เช่น พุทธจักร บัณฑิตปริทรรศน์  และวารสารวิสาขบูชาโลกปี ๕๔
     ๓. ได้รับวุฒิบัตรจากการพัฒนาและฝึกอบรม
     ๔. นิสิตปริญญาโทและเอกที่มีความจำเป็นจะต้องนำเสนองานและตีพิมพ์ในวารสารที่ได้รับมาตรฐานตามเกณฑ์การจบ จะได้รับการสนับสนุนจากโครงการนี้ให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติภายในการดำเนินการของ IABU

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพื่อเติมได้ที่ 

    สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้อง D 400  อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ถนนพหลโยธินกิโลเมตรที่ ๕๕ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์๐๓๕-๒๓๘-๐๙๘-๙, ๐๒-๒๒๖-๖๐๒๗ ต่อ ๘๐๙๘ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๙.๐๐ น. ทุกวัน  ดูรายละเอียดต่างๆ ได้ที่  http://www.li.mcu.ac.th

ผู้ประสานงานโครงการ

      นายอุทัย  วุฒิศาสตริน  นิสิตปริญญาเอกมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาและและฝึกอบรมการเขียนบทความทางวิชาการ สถาบันภาษา มจร  โทร.  ๐๘๑ ๔๘๐ ๓๓๗๔, [email protected]

ภาพการรับมอบรางวัลและวุฒิบัตร พร้อมทั้งการนำเสนอผลงานของรุ่นที่ ๑       

พระเดชพระคุณ พระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร.อธิการบดี
มอบวุฒิบัตรและรางวัลให้แก่ผู้เขียนการเขียนบทความดีเด่นในวันวิสาขบูชาโลก ๕๓

ผู้เขียนบทความที่ได้คุณภาพจะได้รับการพิจารณาพิจารณาให้นำเสนอและตีพิมพ์ในวันวิสาขโลก ปี ๕๔

บรรยายกาศการสัมมนานำของนักวิชาการ และนำเสนอบทความของนักเขียนบทความรุ่นใหม่

นักเขียนรุ่นใหม่นำเสนอบทความทางวิชาการที่ได้มาตรฐานโดยการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ

ผู้บริหารของมหาจุฬาฯ เช่น พระธรรมโมลี,ดร. รองอธิการบดีวิทยาเขตสุรินทร์ พระศรีสิทธิมุนี,ดร. คณบดีบัณฑิต และผู้บริหารของมหาวิทยาลัยนั่งฟังนั่งวิชาการรุ่นใหม่เสนอบทความ

บรรยากาศการนำเสนอ และการถามตอบในการสัมมนา

 ท่าน ว.วชิรเมธี นักเขียนชื่อดังถ่ายรูปร่วมกับผู้เข้าอบรมการเขียนบทความในรุ่นที่ ๑ ภายหลังที่ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์

อ่านบทความทางวิชาการที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับการตีพิมพ์ในงานวิสาขบูชาโลก ๕๓ ได้ที่

http://www.icundv.com/vesak2010/node/839#top

 

คำสำคัญ (Tags): #limcu#academic writing
หมายเลขบันทึก: 370862เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2010 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

นมัสการครับท่าน..มีความประสงค์สมัครจองที่เรียนในบล็อกนี้ได้หรือไม่ครับ

ถ้าได้..ขอจองเลยนะครับ ขอเรียนวันเสาร์ครับ

ระยะเวลา การอบรมกี่วันครับท่าน

เจ้านายน้อยครับ

ขอบคุณมากครับที่กรุณาสนใจหลักสูตรนี้ รบกวนติดต่อเบอร์นี้ได้เลยครับ คุณอุทัย  ๐๘๑ – ๔๘๐ – ๓๓๗๔

  • ไวนะครับ
  • รุ่นที่สองแล้ว
  • หลวงพี่สบายดีไหมครับ

ท่านดร. ขจิต

ด้วยความยินดียิ่งที่ท่านอาจารย์แวะมา หลังจากไปเยี่ยมชมถ้ำออโรร่า อินเดีย อาตมาเพิ่งเดินทางกลับจากฮังการีหลังจากเดินทางไปเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการรับมหาวิทยาล้ย Dhamma Gate Buddhist เข้าเป็นสถาบันสมทบ รายละเอียดจะนำเสนอให้พวกเราได้ทราบต่อไป 

สุขภาพอาตมาไม่ค่อยดีเท่าไร  ก็โรคและอาการเดิมๆ ที่เคยเป็นมาหลายปีนั่นหล่ะ หวังอาจารย์ดร. ขจิตจะมีความสุขกับการทำหน้าที่เพื่อเยาวชนทุกคน

รักษาสุขภาพด้วยครับหลวงพี่ มีอะไรพอช่วยเหลือได้บอกนะครับ

อาจารย์ดร. ขจิต

อนุโมทนาอีกครั้งสำหรับความห่วงใจที่มีให้กัยาณมิตรเช่นอาตมา ว่าแต่ว่าอาจารย์เองก็ควรจะดูแลสุขภาพตัวเองบ้าง เห็นเดินทางยังกะสายัณ สัญญา หรือป๋าเบิร์ด

หลักสูตรน่าสนใจ หากแต่ช่วงเวลาเรียนไม่ค่อยเป็นใจ ระยะทางเดินทางไกลพอควรเจ้าคะ

เจริญพร โยมทัศนา

ทราบว่าหลักสูตรนี้มีการเรียนทางไปรษณีย์ด้วย มีการจัดส่งเอกสารและติดต่อพร้อมทั้งเรียนกับอาจารย์ทางอีเมล์  หากรูปการณ์เป็นแบบนี้ ไม่ทราบว่าโยมสนใจจะศึกษาอยู่ไหม เพราะในความคิดของอาตมา หลักสูตรไม่ควรติดอยู่ที่ห้องเรียน เราสามารถแนะนำอาจารย์ที่ปรึกษาและเรียนกับท่านตัวต่อตัวได้เลย การส่งบทความ การเขียน การฝึกหัด น่าจะทำได้รวดเร็วและไม่เสียเวลามากนัก

นมัสการพระคุณเจ้า

เป็นการดีมากเจ้าคะ คงจะขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ไหมเจ้าคะ

นมัสการมาด้วยความเคารพ

ทัศนา

โยมทัศนา

ขอบใจโยมมากที่สนใจหลักสูตรนี้ รบกวนโยมช่วยกรุณาส่งอีเมล์โยม และเบอร์โทรผ่านอีเมล์อาตมาเพื่อจะได้ให้เจ้าหน้าที่ได้ติดต่อกลับไป และจะง่ายต่อการคุยในรายละเอียดต่างๆ

นมัสการพระคุณเจ้า

โยมได้ส่งอีเมล์ และเบอร์โทรเพื่อเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ ในรายละเอียดต่างๆหลักสูตร เรียบร้อยเจ้าคะ

นมัสการมาด้วยความเคารพ

ทัศนา

โยมทัศนา

อนุโมทนาขอบใจอีกครั้ง ในความตั้งใจดี เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจะติดต่อกลับโยมโดยไว เพื่อจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดีๆ เกี่ยวกับหลักสูตรการเขียนบทความทางวิชาการระหว่างกันอีกครั้ง

นมัสการพระอาจารย์ครับ

ผมสนใจหลักสูตรทางไปรษณีย์และเรียนทางอีเมล และต้องการเรียนหลักสูตรนี้ครับ

ขอให้อีเมล ไว้ดังนี้ครับ [email protected] เบอร์โทร 081-6117943

กราบนมัสการ

เรืองศิลป์

โยมเรืองศิลป์

ขอบคุณที่สนใจหลักสูตรซึ่งมหาจุฬาฯ ดำเนินการจัดให้  ทีมงานของเราจะดำเนินการติดต่อประสานโดยด่วนเพื่อเข้าร่วมโครงการดังกล่าว

กราบนมัสการอาจารย์ครับ

ผมได้ลงสมัครเข้ารับการฝึกอบรมแล้ว และ จะได้นำไปปฏิบัติ และ นำความรู้จากที่อาจารย์ได้มอบให้

เพื่อนำมาใช้ในการเขียนบทความต่อไปครับ

กราบนมัสการครับ

โยมอาภาพร

ขออนุโมทนา และหวังว่า โยมจะได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีประโยชน์เช่นนี้

เจริญพร

กราบนมัสการพระอาจารย์

กระผมมีความประสงค์อยากได้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องจิตที่สุขสงบ ในเรื่องดังกล่าวกระผมพบเจอประโยคความหนึ่ง ประโยคความนี้ได้บอกไว้ว่า "ไม่กำหนัดในอารมณ์อันชวนให้กำหนัด"

กระผมขอถามว่า "ไม่กำหนัดในอารมณ์อันชวนให้กำหนัด"แล้วสิ่งใดที่เรียกว่ากำหนัด และสิ่งใดที่เรียกว่า ไม่กำหนัด

หากไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป ขอความกรุณาให้พระอาจารย์ตอบกระทู้ของกระผมด้วยน่ะครับ

กระผมขอตัวลาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท